Sunday, 19 January 2025

จุดอ่อนประชาธิปไตยไทย

ประเทศไทยไม่ได้สอบตกแค่วิชาการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชัน แม้แต่ความเป็นประชาธิปไตยก็สอบตก ทั้งๆที่เพิ่งผ่านการเลือกตั้งยังไม่ถึงปี แม้จะได้คะแนนค่อนข้างสูง ในด้านการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน แต่สอบตกด้าน “วัฒนธรรมการเมือง” และกระบวนการยุติธรรมไม่อิสระหน่วยข่าวกรองของนิตยสาร “ดิ อีโคโนมิสต์” ชื่อดังของอังกฤษ จัดทำ “ดัชนีประชาธิปไตย” ใน ๑๖๗ ประเทศทั่วโลก ระบุว่า มีประชากรของโลกเพียง ๘% เท่านั้น ที่อยู่ในประเทศประชาธิปไตย พลโลกส่วนใหญ่ ๓๗% อยู่ในประเทศประชาธิปไตยที่บกพร่องหรือครึ่งใบ รวมทั้งคนไทย ได้คะแนน ๖.๓๕ เป็นอันดับที่ ๖๓เป็นผลการจัดทำดัชนีประชาธิปไตยใน ๑๖๗ ประเทศ ของปี ๒๕๖๕ อันดับไทยลดลงจากที่ ๕๕ ในปี ๒๕๖๕ โดยวัดความเป็นประชาธิปไตย ไทยได้คะแนนจากกระบวนการประชาธิปไตย ๗ คะแนน ได้จากการปกครองประเทศ ๖.๐๗ คะแนน จากการมีส่วนร่วมทางการเมือง ๗.๗๘ คะแนน วัฒนธรรมการเมือง ๕ คะแนนได้อีก ๕.๘๘ คะแนน จากเสรีภาพประชาชน คะแนนรวมของไทยไม่ได้เปลี่ยนแปลงมาตั้งแต่ปี ๒๕๖๒ จึงมีการเลือกตั้ง หลังจากอยู่ใต้การปกครองของทหารนาน ๕ ปี คะแนนจึงเพิ่มขึ้นจาก ๔.๖๓ เป็น ๖.๓๒ แต่ยังถือว่าสอบตก ประเทศที่ได้ ๘ คะแนนขึ้นไป จึงถือว่าเป็นประชาธิปไตยเต็มใบคะแนนความเป็นประชาธิปไตยของไทยดีขึ้น หลังจากเลือกตั้ง ๒๕๖๒ แต่ทรุดลงไปหลังการเลือกตั้ง ๒๕๖๖ แม้พรรคก้าวไกลชนะเลือกตั้ง แต่ไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาล เพราะไม่ได้รับการสนับสนุนจาก สว.ที่มาจากการแต่งตั้ง และหัวหน้าพรรคก้าวไกล นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ยังถูกสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่รายงานระบุว่าแสดงว่ากฎกติกา การเปลี่ยนถ่ายอำนาจของประเทศไทยยังไม่ชัดเจน และไม่เป็นที่ยอมรับ ไทยจึงอยู่ในกลุ่มประชาธิปไตยบกพร่อง แต่ได้คะแนนรองจากมาเลเซีย ติมอร์เลสเต ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ประเทศที่เป็นประชาธิปไตยมากที่สุด ได้แก่ นอร์เวย์ นิวซีแลนด์ ไอซ์แลนด์ สวีเดน ฟินแลนด์ เดนมาร์ก ไอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ ไต้หวัน เยอรมนีน่าแปลกใจ ไต้หวันที่เพิ่งเป็นประชาธิปไตย สส.เพิ่งเลิกวางมวยกันในสภา แต่อันดับพุ่งเป็นที่ ๑๐ ของโลก เพื่อนบ้านของไทยกลายเป็นประชาธิปไตยตํ่า ได้แก่ สิงคโปร์ กัมพูชา ลาว และพม่า จุดอ่อนของไทยคือกระบวนการยุติธรรม.คลิกอ่านคอลัมน์ “บทบรรณาธิการ” เพิ่มเติม