Sunday, 22 December 2024

"พคบ.๑๕" ปลื้ม ดูงานศูนย์ฝึก ร.ร.จิตอาสา ๙๐๔ ได้เรียนรู้-ปฏิบัติจริง

20 Feb 2024
143

“เสธ.ต๊อด-รองต่อ” นำผู้เข้าอบรมหลักสูตร “พคบ.๑๕” ลงพื้นที่ทัศนศึกษาดูงาน ศูนย์ฝึกโรงเรียนจิตอาสา ๙๐๔ เพื่อให้ทราบหลักการปฐมพยาบาลเบื้องต้น การเอาตัวรอดในภาวะวิกฤติ และหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เมื่อวันที่ ๒๐ ก.พ. ๖๗ ที่ศูนย์ฝึกโรงเรียนจิตอาสา ๙๐๔ (บางเขน) กทม. พล.ต.วินธัย สุวารี รอง ผู้อำนวยการสำนักงานกิจการมวลชนและสารนิเทศ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (รอง ผู้อำนวยการสมท.กอ.รมน.) พร้อมด้วย พ.อ.ต่อสกุล สัณหจันทร์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานกิจการมวลชนและสารนิเทศ (ผช.ผู้อำนวยการสมท.กอ.รมน.) นำผู้อบรมหลักสูตรพัฒนาสัมพันธ์เครือข่ายความมั่นคงระดับผู้บริหาร (พคบ.) รุ่นที่ ๑๕ ประจำปี ๒๕๖๗ ศึกษาดูงานที่ศูนย์ฝึกโรงเรียนจิตอาสา ๙๐๔ เมื่อวันที่ ๑๖ ก.พ. ที่ผ่านมา โดยรับฟังบรรยายเรื่อง การปฐมพยาบาลเบื้องต้น พร้อมทั้งให้ผู้อบรมปฏิบัติจริงในการช่วยเหลือการปฐมพยาบาลเบื้องต้น หากเกิดสถานการณ์จริงกับหุ่นจำลอง การปฏิบัติฐาน การเอาตัวรอดในภาวะวิกฤติ ฟังบรรยายฐานการแก้ปัญหาตามภูมิสังคม  พร้อมทั้งให้ผู้เข้าอบรม พคบ.รุ่นที่ ๑๕ กล่าวความรู้สึกและความประทับใจ รวมทั้งรับหมวก และผ้าพันคอจิตอาสาพระราชทาน   สำหรับผู้เข้าอบรม พคบ.รุ่นที่ ๑๕ ที่ประกอบด้วย ระดับผู้บริหารของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคสื่อมวลชน อาทิ พล.ต.นพสิทธิ์ คงชินศาสตร์ธิติ รอง ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ความมั่นคง (รอง ผู้อำนวยการสนย.กอ.รมน.), พ.อ.จเด็จ จาดเลน ผช.ผู้อำนวยการสมท.กอ.รมน., น.อ.วิษณุ โสภานิช มช.สมท.กอ.รมน. สำนักกิจการมวลชนและสารนิเทศ กอ.รมน., น.อ.สุชาติพงศ์ อัมระรงค์ ร.น. รอง ผู้อำนวยการกอ.รมน.จ.จันทบุรี, น.อ.พิเศษ อรกูล รอง ผู้อำนวยการสำนักกิจการพลเรือนและประชาสัมพันธ์กรมกิจการพลเรือนทหารอากาศ, นายเกรียงศักดิ์ ภิระไร ผู้อำนวยการเฉพาะด้านธรณีวิทยา กรมทรัพยากรน้ำบาดาล, นายเจน รักสุข ผู้อำนวยการส่วนภาคีเครือข่ายป้องกันรักษาป่า กรมป่าไม้ นายจักรินทร์ กิจสุทธิพงศ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการโครงการปรับปรุงและขยายระบบส่งไฟฟ้า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย, นางพุทธรักษา แดงรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, นางอันธิกา อ่อนพร้อม ผู้อำนวยการกลุ่มงานสวัสดิการและสงเคราะห์ผู้ต้องขัง กรมราชทัณฑ์, นายนิติ วิทยาเต็ม รองอธิบดีกรมศุลกากร, นายรัฐการ ศรีศกุน ผู้อำนวยการส่วนกำกับติดตามการบังคับใช้กฎหมาย สำนักงานคณะป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.), นายนเรศร์ อนันตโท รอง ผู้อำนวยการฝ่ายรักษาความปลอดภัยท่าอากาศยาน บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน), นายสมชัย พลายด้วง ผู้อำนวยการกองคดี ๕ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน, นายนิมิต สุขประเสริฐ ผช.กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เป็นต้นนายนิติ วิทยาเต็ม รองอธิบดีกรมศุลกากร กล่าวว่า การเข้ามาเรียนรู้ที่ศูนย์ฝึกโรงเรียนจิตอาสา ๙๐๔ ทำให้เราได้เรียนรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙ ในการใช้ชีวิตอยู่แต่พอเพียง โดยวันนี้ผู้เข้าอบรม พคบ.รุ่นที่ ๑๕ ได้เยี่ยมฐานปฏิบัติการต่างๆ เช่น การโดยสารรถสาธารณะที่ปลอดภัย ปัญหาเรื่องดินถล่ม การใช้ชีวิตอยู่ในป่า สอนให้ไปคิดเป็นการต่อยอดในอนาคต ถึงแม้การดูงานวันนี้จะเป็นแค่ช่วงสั้นๆ แต่ประโยชน์ที่ได้เรียนรู้จากพี่ๆ ทหารที่ได้มาเป็นวิทยากร เราสามารถนำไปปรับปรุงดัดแปลง เพื่อให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เราอยู่ได้ ไม่ว่าจะอยู่ในเมืองหรือในชนบทก็ตาม “รวมถึงการเรียนรู้การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน หรือ CPR การเรียนรู้การใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ หรือ AED เป็นสิ่งที่สำคัญมาก หากเจอกับสถานการณ์จริงๆ อย่างน้อยเรารู้ว่าช่วยผู้ป่วยอย่างไร ช่วยให้ผู้ป่วยทันต่อการส่งตัวไปโรงพยาบาล ถือว่าเป็นประโยชน์ที่ผมได้เรียนรู้” รองอธิบดีกรมศุลกากร กล่าวขณะที่ นายสาธิต ชัยชนะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไบเดอร์ จำกัด กล่าวว่า สำหรับการเข้ามาเรียนรู้ที่ศูนย์ฝึกโรงเรียนจิตอาสา ๙๐๔ ทำให้ได้เรียนรู้ถึงการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ทำให้สามารถเอาตัวรอดจากภัยธรรมชาติได้ สามารถช่วยชีวิตผู้อื่นได้ และสามารถนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในการดำเนินชีวิต ปรับตัวให้เข้ากับสภาพสังคมในปัจจุบัน โดยเฉพาะสิ่งที่สำคัญที่สุด รู้สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑๐ ที่ทรงพระราชทานหลักปรัชญาในการใช้ชีวิตให้อยู่อย่างพอเพียง และอย่างยั่งยืน สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่พระองค์ทรงพระราชทานทรัพย์สินส่วนพระองค์ อันเป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่ทำให้การดำเนินงานโครงการจิตอาสาประสบความสำเร็จจนถึงทุกวันนี้  ด้าน นางเลิศธิดา มีเดชา วิลเลียมส์ กรรมการบริษัท ทรังค์ ทราเวล จำกัด กล่าวว่า การศึกษาดูงานในวันนี้ พบว่าสุดท้ายแล้วแนวคิดทำเศรษฐกิจพอเพียง หรือเกษตรพอเพียง ใช้ได้กับทุกคน ใช้ได้กับทุกรูปแบบ ไม่ว่าเราจะมีความสามารถขนาดไหน แม้แต่คนเมืองก็ตาม ดูได้จากช่วงเหตุการณ์โควิด-๑๙ มีผู้ได้รับความเดือดร้อนเยอะมาก และสุดท้ายก็ค้นพบว่าการเกษตรเป็นพื้นฐานของการมีชีวิตอยู่รอดได้ ถึงแม้เราจะเป็นคนเมืองที่ไม่มีพื้นที่ทำการเกษตรมากมาย แต่คอนเซปต์ความพอเพียงสามารถพึ่งพาตัวเองได้ สิ่งที่ได้เรียนรู้วันนี้ถือเป็นการตอกย้ำอีกครั้ง มองในสิ่งที่ใกล้ๆ ตัว แม้จะมีเพียงกระถาง อยู่คอนโดฯ เราก็สามารถทำอะไรเล็กๆ น้อยๆ ได้ในการเกษตร ช่วยให้เรารอดพ้นจากการสัมผัสสารเคมีในชีวิตประจำวัน ดีต่อสุขภาพ “การเรียนรู้แต่ละฐานในวันนี้ เช่น การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อการช่วยเหลือผู้อื่น เพราะเรายังขาดตกบกพร่อง เนื่องจากที่ผ่านมาเราอาจจะรู้ แต่ไม่รู้วิธีที่ถูกต้อง รู้ไม่กระจ่างแจ้ง หรือยังไม่เคยลงมือฝึกปฏิบัติให้ชำนาญ ดังนั้น หากได้ฝึกบ่อยๆ จะดีมากต่อการช่วยชีวิตผู้อื่น ส่วนการทำปุ๋ยหมักเป็นเรื่องที่ดีมาก นำของที่เป็นธรรมชาตินำกลับมาหมุนเวียนใช้บำรุงต้นไม้ ทำให้เรามั่นใจได้ในสิ่งที่นำผลผลิตทางการเกษตรมาทาน ว่าปลอดภัยจากสารเคมี” นางเลิศธิดา กล่าวสนใจ ขณะที่ น.อ.หญิง ศศิธร ลุมพิกานนท์ (ร.น.) ผู้อำนวยการส่วนงานเสริมสร้างความมั่นคงฯ ศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ ๔ กอ.รมน. กล่าวว่า การเข้ามาเรียนรู้ที่ศูนย์ฝึกโรงเรียนจิตอาสา ๙๐๔ เป็นประโยชน์อย่างมากมาย ได้มาเรียนรู้การปฐมพยาบาล กรณีมีผู้หมดสติต้องทำการกู้ชีพอย่างเร่งด่วน อาจใช้อุปกรณ์ฉุกเฉินที่มีอยู่ตามพื้นที่ต่างๆ ช่วยชีวิตก่อนที่จะส่งโรงพยาบาล การเรียนรู้การเอาตัวรอดในภาวะวิกฤติเรื่องอุบัติเหตุ ที่สำคัญคือเรื่องแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙ ที่ปัจจุบันจะเห็นเป็นเรื่องที่ใกล้ตัว สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างแท้จริงยิ่งวันนี้มาเห็นในเรื่องป่าไม้และเรื่องดิน ที่มีแนวพระราชดำริพูดถึงการปลูกป่า ๓ อย่างได้ประโยชน์ ๔ อย่าง ช่วยลดอุทกภัย หรือดินโคลนถล่ม ทำให้เกิดผลกระทบกับประชาชนได้น้อยลง เกิดความปลอดภัยมากขึ้น เรียนรู้การใช้ชีวิตแบบพอเพียง การทำน้ำยาอเนกประสงค์ใช้ในครัวเรือน การทำน้ำชาจากสมุนไพร การทำบ้านดินโดยใช้ดินร่วนผสมแกลบ ดังนั้น ถ้ามีประชาชนหรือเด็กมาเรียนรู้ จะทำให้เขาสามารถดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง อยู่แบบพอประมาณ ใช้เหตุผล จะสามารถเป็นภูมิคุ้มกันที่ดีในการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข