Sunday, 19 January 2025

ฮือฮา นักวิทย์พบ ‘โมเลกุลน้ำ’ บนพื้นผิวดาวเคราะห์น้อย ครั้งแรก

นักวิทย์พบโมเลกุลน้ำบนพื้นผิวดาวเคราะห์น้อยเป็นครั้งแรก จากข้อมูลที่ได้จากกล้องโทรทรรศน์ SOFIA บนหอดูดาวบินได้ ที่เคยพบโมเลกุลน้ำบนดวงจันทร์มาแล้วทีมนักวิทยาศาสตร์ของสถาบันวิจัยตะวันตกเฉียงใต้ ในเมืองซานอันโตนิโอ รัฐเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา ตีพิมพ์รายงานผลการศึกษาวิจัย พบโมเลกุลน้ำบนพื้นผิวดาวเคราะห์น้อยเป็นครั้งแรก ลงในวารสารวิทยาศาสตร์ The Planetary Science  นักวิทยาศาสตร์ของสถาบันวิจัยตะวันตกเฉียงใต้ ระบุว่าจากข้อมูลที่รวบรวมจากหอดูดาวบินได้ ขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐฯ (นาซา) ร่วมกับศูนย์อวกาศเยอรมนี ได้ติดตั้งกล้องโทรทรรศน์อินฟราเรด ที่เรียกว่า กล้องโทรทรรศน์ SOFIA ขึ้นไปกับเครื่องบินโบอิ้ง ๗๔๗SP ซึ่งถูกดัดแปลงให้สามารถบินขึ้นไปถึงระดับเพดานบินชั้นบรรยากาศโลกชั้นที่สอง ‘สตราโทสเฟียร์’ ก่อนที่โครงการนี้ได้ยุติไปแล้ว ได้ตรวจพบโมเลกุลของน้ำบนดาวเคราะห์น้อยไอริส (Iris) และแมสซาเลีย (Masalia) ซึ่งเป็นดาวเคราะห์น้อยสองดวงในแถบดาวเคราะห์น้อยสำคัญระหว่างวงโคจรของดาวอังคารและดาวพฤหัสบดี ซึ่งดาวเคราะห์น้อยทั้งสองดวงนี้อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ ๒๒๓.๑ ล้านไมล์ด็อกเตอร์อนิเซีย อาร์เรดอนโด นักวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สถาบันวิจัยตะวันตกเฉียงใต้ และผู้เขียนรายงานการวิจัยในครั้งนี้ กล่าวว่า เหล่านักดาราศาสตร์ได้แรงบันดาลใจในการใช้กล้องโทรทรรศน์ SOFIA (โซเฟีย) ในการศึกษาดาวเคราะห์น้อย หลังจากกล้องโทรทรรศน์อินฟราเรดนี้พบหลักฐานว่ามีน้ำบนดวงจันทร์ด็อกเตอร์อาร์เรดอนโด กล่าวว่า มีหลักฐานความชุ่มชื้นบนดาวเคราะห์น้อยสองดวงนี้ก่อนหน้านี้แล้ว จากการศึกษานำโดย ด็อกเตอร์แมกกี แมคอดัม นักวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ที่ศูนย์วิจัย Ames ของนาซา ในเมือง Mountain View รัฐแคลิฟอร์เนีย ขณะที่ใช้กล้องโทรทรรศน์ที่แตกต่างกัน แต่นักวิจัยเหล่านี้ไม่มั่นใจว่าเป็นน้ำหรือไม่ หรือเป็นโมเลกุลอื่น อย่างเช่น ไฮดรอกซิล ซึ่งทำให้เกิดความชุ่มชื้นบนดาวเคราะห์น้อยที่แห้งแล้งทั้งสองดวงนี้ด็อกเตอร์อาร์เรดอนโด กล่าวว่า จากการสังเกตใหม่ของพวกเราด้วยกล้องโทรทรรศน์โซเฟีย พบว่านักวิจัยเหล่านั้นได้เห็นน้ำจริงๆ แต่โมเลกุลเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของดาวเคราะห์น้อย S-Class ซึ่งมีแร่ซิลิเกตเป็นองค์ประกอบเป็นส่วนใหญ่ สำหรับการพบโมเลกุลของน้ำบนพื้นผิวดาวเคราะห์น้อยไอริส และแมสซาเลียนี้ ด็อกเตอร์อาร์เรดอนโด กล่าวว่า นักวิจัยได้พบน้ำปริมาณเท่ากับขวดน้ำขนาด ๑๒ ออนซ์ หรือ ๓๕๔ มิลลิลิตร ติดอยู่ในดินขนาด ๑ ลูกบาศก์เมตร ซึ่งเทียบเท่ากับการพบโมเลกุลของน้ำบนดวงจันทร์ บริเวณหลุมอุกกาบาตขนาดใหญ่แห่งหนึ่งทางด้านใต้ของดวงจันทร์ในปี ๒๐๒๐‘เมื่อระบบสุริยะของเราก่อตัวขึ้น ความแตกต่างของแร่ธาตุขึ้นอยู่กับระยะห่างจากดวงอาทิตย์ เพราะว่าแร่ธาตุที่อยู่ไกลจากดวงอาทิตย์จะเย็นได้เร็วกว่าแร่ธาตุที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่า และนี่คือเหตุผลว่าทำไมดาวเคราะห์ชั้นใน อย่างเช่น โลก และดาวอังคาร จึงสร้างขึ้นด้วยหิน และดาวเคราะห์น้อยที่อยู่ชั้นนอก อย่าง ดาวเนปจูน และยูเรนัส หรือดาวมฤตยู จึงสร้างโดยน้ำแข็งและก๊าซ’ ด็อกเตอร์อาร์เรดอนโด กล่าวการพบโมเลกุลน้ำบนพื้นผิวดาวเคราะห์น้อยเป็นครั้งแรก ทั้งดาวเคราะห์น้อยไอริส และแมสซาเลีย สามารถช่วยให้นักดาราศาสตร์ติดตามศึกษาประวัติที่มาของดาวเคราะห์น้อยเหล่านี้ว่า ก่อตัวในระยะไกลพอที่จะหลีกหนีความร้อนของดวงอาทิตย์ที่จะไม่ทำให้น้ำเดือดCr ภาพ NASA/Carla Thomas/SwRIที่มา : CNN