การเลือกตั้งเป็นการเริ่มต้นของระบอบประชาธิปไตย เนื่องจากเป็นการเริ่มต้นของการตัดสินใจจากประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ระบบการเมืองแบบรัฐสภา เลือก สส. และเลือก สว.มาเป็นสภาพี่เลี้ยง มีอำนาจการตัดสินใจ กลั่นกรองการพิจารณากฎหมายของ สส.อีกครั้งหนึ่งรัฐธรรมนูญปี ๒๕๖๐ ตามบทเฉพาะกาลให้ อำนาจ สว. ๒๕๐ คน มีอำนาจในการโหวตเลือกนายกฯในสภา มีอำนาจในการลงมติแก้ไขรัฐธรรมนูญ มีอำนาจในการให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งบุคคลในองค์กรอิสระ มีอำนาจในการเปิดอภิปรายทั่วไป ซักฟอกฝ่ายบริหาร ดูแล้วมีอำนาจมากกว่า สส.ด้วยซ้ำ เช่นการเห็นชอบให้มีการยกเว้นเลือกนายกฯที่อยู่ในบัญชีรายชื่อ เพื่อเลือกนายกฯจากคนนอก หรือการเลือกนายกฯก๊อกสองในอดีตการเลือกตั้ง สว.ที่มีการเลือกตั้งโดยตรงจาก ประชาชน เช่นเดียวกับการเลือกตั้ง สส. แต่ถูกครหาว่า เป็นสภาผัวเมีย เป็นการเลือกตั้ง สส.สองรอบ จึงมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการเลือก สว.ใหม่ แทน สว.ชุดปัจจุบันที่จะครบวาระ ในวันที่ ๑๑ พฤษภาคมที่จะถึงนี้โดยเว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ ระเบียบ กกต. ว่าด้วยการเลือกตั้ง สว. ๒๕๖๗ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยมีสาระสำคัญก่อนวันที่อายุของ สว.ชุดปัจจุบันจะสิ้นสุดลงไม่น้อยกว่า ๓๐ วัน (๑๑ เม.ย.) ให้ ผู้อำนวยการเลือกตั้งประจำจังหวัด ประสานผู้ว่าฯ และนายอำเภอ เตรียมแต่งตั้งบุคคลเป็นคณะกรรมการระดับอำเภอและคณะกรรมการระดับจังหวัด ในการเปิดรับสมัคร สว. ที่จะเริ่มรับสมัคร ไม่เกิน ๑๕ วันนับจากวันที่มีพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้ง สว. และกำหนดวันรับสมัครไม่น้อยกว่า ๕ วันแต่ไม่เกิน ๗ วันการกำหนดวันเลือกตั้งในระดับอำเภอ ต้องไม่เกิน ๒๐ วันนับแต่วันสิ้นสุดวันรับสมัคร วันเลือกตั้งระดับจังหวัดต้องไม่เกิน ๗ วันนับแต่วันเลือกในระดับอำเภอ และวันเลือกตั้งระดับประเทศต้องไม่เกิน ๑๐ วัน นับแต่วันเลือกตั้งในระดับจังหวัด กำหนดวันเลือกตั้งในแต่ละระดับต้องเป็นวันเดียวกันทั้งประเทศ เท่ากับเป็นการเปิดการคัดเลือกใน ๓ ขั้นตอนด้วยกันคือระดับอำเภอ จังหวัด และประเทศในส่วนผู้สมัคร สว.แบ่งเป็น ๒๐ กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มบริหารราชการแผ่นดินและความมั่นคง กลุ่มกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม กลุ่มการศึกษา กลุ่มสาธารณสุข กลุ่มอาชีพเกษตรกรรม ทำนา เพาะปลูก กลุ่มอาชีพทำสวน ป่าไม้ ปศุสัตว์ ประมง กลุ่มพนักงานลูกจ้าง กลุ่มเอสเอ็มอี กลุ่มอาชีพการท่องเที่ยว ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ด้านวิทยาศาสตร์ ผู้สูงอายุ คนพิการ กลุ่มศิลปวัฒนธรรม ประชาสังคม สื่อสารมวลชน ประกอบวิชาชีพอิสระ และกลุ่มอื่นๆ จากนั้นเลือกกันเองภายใน ๒๐ กลุ่ม กลุ่มละ ๑ คนใน ๑ อำเภอ ได้ตัวแทนระดับอำเภอก็จะไปเลือกในระดับจังหวัด แล้วไปเลือกในระดับประเทศผู้ได้คะแนนสูงสุด ๑๐ อันดับแรกของกลุ่ม จะได้รับเลือกเป็น สว. จำนวน ๒๐๐ คนเท่ากับ สว.ชุดใหม่ จะมีเพียง ๒๐๐ คน มาจากการเลือกตั้งทางอ้อม ไม่ได้เลือกจากประชาชนโดยตรงเหมือนกับเลือก สส.ส่วนจะได้ สว.มีคุณภาพแค่ไหน จะหนีปัญหา สว.สภาผัวเมียได้หรือไม่ หรือยังอยู่ในวังวนการเมืองเดิมๆอ้าปากก็เห็นลิ้นไก่.หมัดเหล็กmudlek@thairath.co.thคลิกอ่านคอลัมน์ “คาบลูกคาบดอก” เพิ่มเติม