Thursday, 19 December 2024

รู้เท่าทันภัยออนไลน์ เกราะป้องกันขั้นเทพ

24 Feb 2024
80

เมื่อเทคโนโลยีสื่อสารไร้พรมแดนเข้ามา “เปลี่ยนวิถีชีวิตคนอย่างรวดเร็ว” โดยเฉพาะช่วงโควิด-๑๙ คนส่วนใหญ่ถูกบังคับให้ใช้โลกออนไลน์เป็นเครื่องมือในการทำงาน ทำให้อาชญากรรมหลั่งไหลมาในหลากหลายรูปแบบ และซับซ้อน ส่งผลให้เด็ก เยาวชน และประชาชนตกเป็นเหยื่อไม่เว้นแต่ละวันสร้างความเสียหาย “ด้านเศรษฐกิจหลายแสนล้านบาทต่อปี” ทำให้การจัดการปัญหานี้ไม่ใช่เรื่องง่าย จำเป็นต้องสร้างการรู้เท่าทันอาชญากรรมทางไซเบอร์ที่จะเข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตสะท้อนผ่านเวที “รับมืออย่างไร…กับภัยออนไลน์ในยุคดิจิทัล” จัดโดย สสส.ร่วมกับ สสดย., พม. และมูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทยไม่นานมานี้พล.ต.ต.นิเวศน์ อาภาวศิน รองผู้บัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (รอง ผบช.สอท.) บอกว่า สถานการณ์ภัยทางออนไลน์รุนแรงเกินกว่าคาดการณ์ไว้เยอะมาก นับตั้งแต่ สตช.เปิดบริการรับแจ้งความผ่านออนไลน์ ๒ ปีมานี้ มีคดีทั้งหมด ๔ แสนกว่าคดี มูลค่าความเสียหาย ๕.๘ หมื่นล้านบาท ถ้าคิดกันง่ายๆก็คือ “อาชญากรรมทางออนไลน์เกิดขึ้น ๒ แสนกว่าคดี/ปี และความเสียหาย ๒ หมื่นกว่าล้านบาท/ปี” อย่างไม่นานมานี้ ภายใน ๑ วัน มีผู้เสียหายตกเป็นเหยื่อมูลค่ากว่า ๑๐๐ ล้านบาท สะท้อนให้เห็นว่าภัยออนไลน์ยังไม่มีแนวโน้มลดลงแถมสถิติคดีกลับยังพุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆกระทั่งมีการออก พ.ร.ก.มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ.๒๕๖๖ ประกาศบังคับใช้เมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม๒๕๖๖ เพื่อแก้ปัญหาซิมผีบัญชีม้าสำหรับผู้กระทำผิดมีบทลงโทษจำคุกไม่เกิน ๓ ปี รวมถึงผู้ทำการชักชวนให้บุคคลอื่นเปิดบัญชาม้าก็ต้องมีความผิดเกี่ยวกับธุระจัดหาโทษจำคุกตั้งแต่ ๒-๕ ปีเพราะเป็นกลไกสำคัญ “คนร้ายใช้กระทำความผิด” ในการหลอกลวงบุคคลอื่นให้โอนเงินไปเป็นทอดๆ ทำให้ปีที่แล้ว “ประชาชนตื่นตัวไม่กล้าขายซิมผีบัญชีม้ากัน” เพราะกลัวถูกดำเนินคดีที่ดูเหมือนสถานการณ์ดีขึ้น พล.ต.ต.นิเวศน์ อาภาวศินแต่ก็มิได้เป็นเช่นนั้นเพราะ “คนร้าย” กลับมีการพัฒนารูปแบบการหลอก ชาวบ้านตกเป็นเหยื่อเปิดซิมผีบัญชีม้าแยบยลขึ้นกว่าเดิม ด้วยการหลอกพาไปทำงาน หรือทำภารกิจกู้เงินออนไลน์ เพื่อเปิดบัญชีธนาคารโดยที่ผู้เปิดบัญชีแทบไม่รู้ตัวเลยว่าถูกหลอก ล่าสุดผู้เสียหายถูกหลอกไปทำงานในกัมพูชาแล้วให้เปิดบัญชี ๘ บัญชีด้วยการอ้างว่า “ใช้เป็นบัญชีโอนเงินเกี่ยวกับการทำงานออนไลน์” แต่คนร้ายกลับนำไปใช้เป็นบัญชีม้ารับถ่ายโอนเงินผิดกฎหมาย ทำให้ผู้เสียหายขอความช่วยเหลือมายังตำรวจไทยก่อนจะพาตัวอออกมาได้จริงๆแล้วรูปแบบการหลอกลวงนั้น “คนร้ายมักใช้กลไกโครงสร้างพื้นฐานเอื้อต่อการทำผิดง่ายๆ” แล้วทุกคนล้วนมีโอกาสตกเป็นเหยื่อของคนร้ายได้เสมอ “โดยเฉพาะการหลอกซื้อของออนไลน์แต่ไม่ได้สินค้า” ที่เป็นคดีมีสถิติผู้เสียหายสูงตลอดกาล ล่าสุดช่วงปีใหม่ ๒๕๖๗ “ผู้เสียหาย” จองห้องพักผ่านออนไลน์ เมื่อถึงสถานที่ระบุจอง “กลับไม่มีห้องพัก” กลายเป็นคนร้ายก๊อปปี้ปลอมเพจของโรงแรม ฉะนั้นฝากถึงประชาชนการจองที่พัก หรือซื้อสินค้าผ่านออนไลน์ตรวจสอบให้รอบคอบ เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพพวกนี้แต่ถ้ามาดูความเสียหายสูงที่สุดคือ “การหลอกร่วมลงทุนผ่านออนไลน์” ด้วยคนร้ายมักนำบุคคลมีชื่อเสียงในสังคมมาแอบอ้าง “พูดคุยเชิงชู้สาวให้หลงรัก” ชักชวนให้ร่วมลงทุนผ่านแพลตฟอร์มปลอมขึ้นมา และการลงทุนช่วงแรกๆ ส่วนใหญ่จะได้รับเงินผลกำไรค่าตอบแทนจริง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้เหยื่อหลงเชื่อมากกว่าเดิมลักษณะลงทุนหลักแสนบาท “ได้เงินกำไร ๕๐-๖๐ล้านบาท” อันเป็นตัวเลขผลกำไรปลอมถูกสร้างขึ้นบนระบบคอมพิวเตอร์ กระตุ้นให้คนเกิดความโลภแต่พอจะถอนเงินนั้น “ไม่ใช่เรื่องง่าย” มักมีเงื่อนไขให้หาเงินมาจ่ายค่าภาษีอีก ๕-๖ ล้านบาท สุดท้ายก็ตกเป็นเหยื่อเสียเงินจำนวนมาก เรื่องนี้มีเคสคนเดียวสูญเงินกว่า ๓๐๐ ล้านบาท ถัดมาประเด็น “เงินสูญเสียไป ได้คืนหรือไม่” ที่ผ่านมาเคยตามจับกุมตัวการใหญ่ได้ในไทยจากการไล่ตรวจสอบเส้นทางของบัญชีม้า และเปลี่ยนเป็นสกุลเงินคริปโตเคอร์เรนซีจนนำไปสู่ “การจับกุมผู้ต้องหา” สามารถตรวจยึดบ้านหรูไปประมาณ ๑๐ กว่าหลัง และยึดเงินสดเกือบ ๒ พันล้านบาทเมื่อขั้นตอนดำเนินคดีถึงที่สุดก็ต้องนำเงินมาเฉลี่ยทรัพย์ให้ผู้เสียหายแผนประทุษกรรมเดียวกัน เบื้องต้น ป.ป.ง.กำลังเฉลี่ยทรัพย์ตามอัตราส่วนของความเสียหาย แต่คงได้คืนไม่ถึงครึ่งจากจำนวนเงินที่สูญเสียไป“ดังนั้นอย่าคิดว่าภัยทางออนไลน์เป็นเรื่องห่างตัว โดยเฉพาะการหลอกให้ติดตั้งแอปพลิเคชันดูดเงินเพราะเชื่อว่าช่วงนี้คนไทยต้องได้รับข้อความแจ้งคืนเงินค่าไฟฟ้า ๓ เดือนจากคนร้ายส่ง SMS ไปทั่วประเทศ ถ้ากดลิงก์ก็จะเข้าสู่เว็บไซต์ปลอมให้ต้องโหลดแอปดูดเงินอันเป็นรูปแบบการหลอกมาแรงที่สุดขณะนี้” พล.ต.ต.นิเวศน์ว่า ประเด็นต่อมา “การพนันออนไลน์” ปัจจุบันพบเห็นบนโลกออนไลน์ได้มากมาย แม้ว่าการพนันบ้านเราจะเป็นสิ่งผิดกฎหมาย แต่สำหรับประเทศเพื่อนบ้าน และหลายประเทศทั่วโลกกลับอนุญาตเล่นพนันได้เรื่องนี้เป็นความท้าทายให้ประเทศไทยไม่สามารถขอข้อมูลผู้กระทำผิดอาศัยในประเทศที่การพนันถูกกฎหมายได้ ทั้งกฎหมายไทยก็มิให้อำนาจตรวจสอบการเงินผู้ต้องสงสัยร่ำรวยผิดปกติ ส่วนที่จับคนทำผิดได้มักมาจากคนในเปิดโปงกันเองนำสู่การสืบสวนตรวจการเงินพัวพันเว็บพนันจริงอันเป็นอุปสรรคให้การปราบปรามทำได้ยากแล้วต้องยอมรับว่า “คนมีสีบางคนเป็นเจ้ามือการพนันออนไลน์ด้วยซ้ำ” ทำให้ที่ผ่านมาถูกออกหมายจับส่งฟ้องดำเนินคดีไปแล้วก็มี และอยู่ระหว่างการหลบหนีในต่างประเทศก็มี อย่างไรก็ดี ถ้าหากสามารถปราบปรามซิมผีบัญชีม้า หรือคริปโตเคอเรนซีใช้ฟอกเงิน สิ่งนี้จะส่งผลกระทบต่อการพนันออนไลน์โดยปริยาย ทว่าแนวทาง “การแก้ปัญหาภัยออนไลน์” เรื่องนี้คนไทยควรต้องรู้เท่าทันถึงพิษภัยบนโลกไซเบอร์แล้วสามารถจัดการป้องกันตัวเองให้ได้ “อันจะเป็นแนวทางป้องกันได้ดีที่สุด” ที่ไม่ต้องรอให้ใครมาช่วยเหลือด้วยซ้ำ โดยเฉพาะแก๊งคอลเซ็นเตอร์เป็นมหันตภัยร้ายสามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้ด้วยการสังเกตจากพฤติการณ์ดังนี้ข้อ ๑ “คนร้ายมักอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ” ถ้าหากต้องเผชิญบุคคลโทรศัพท์อ้างลักษณะนี้ “ข่มขู่พัวพันสิ่งผิดกฎหมายหลอกให้กลัว” สามารถรับมือได้ด้วย “กดวาง” แล้วโทร.กลับมักจะต่อสายไม่ติด “นั่นแหละคือมิจฉาชีพ” เพราะคนร้ายมักใช้ซิมบ๊อกซ์ (SIM BOX) ในการปลอมเบอร์โทรศัพท์ทำให้ไม่สามารถรับสายได้ข้อ ๒ “คนร้ายอ้างพัวพันการฟอกเงิน” ด้วยการข่มขู่ให้โอนเงินไปตรวจสอบความบริสุทธิ์ด่วน เรื่องนี้แม้แต่คนมีความรู้ระดับสูงอย่างแพทย์หลายคนก็ถูกหลอกมาเยอะแล้ว ดังนั้นผู้ใดโทรศัพท์มาบอกว่า “ต้องโอนเงินให้” ควรตัดสายแล้วโทร.กลับไป เพื่อรีเช็กยืนยันตัวตน ถ้าหากมีคนรับสายพูดคุยด้วยโอกาสโดนหลอกแทบเป็นศูนย์ ย้ำภูมิคุ้มกันจาก “ภัยแอปพลิเคชันดูดเงิน” ตามหลักการป้องกันเพียงแค่ไม่กดลิงก์ SMS ที่ถูกส่งมาจากคนไม่รู้จักเท่านั้น เพราะถ้ากดจะถูกดึงไปลิงก์เว็บไซต์ของคนร้าย เพื่อดาวน์โหลดติดตั้งแอปดูดเงินใส่รหัสผ่านบนเครื่องโทรศัพท์ ซึ่งเป็นการอนุญาตให้คนร้ายสามารถจัดการอุปกรณ์เคลื่อนที่ของผู้เสียหายได้โดยเฉพาะเว็บไซต์ลิงก์โฆษณาบนโลกออนไลน์ “เป็นภัยอันตรายที่สุดของไทยในขณะนี้” ส่วนการติดต่อหน่วยงานราชการผ่านเว็บไซต์ควรต้องลงท้ายเป็น .go.th เพราะมีกระบวนการลงทะเบียนชัดเจนสามารถระบุตัวตนได้ แต่ถ้าเห็นชื่อเว็บไซต์ลงท้าย .com หรือ .org ค่อนข้างอันตรายสามารถลงทะเบียนปลอมได้ง่ายท้ายสุดฝากไว้คือ “วัคซีนไซเบอร์ของ สตช.” ที่จัดทำแบบทดสอบ ๓๐ ข้อเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันต้านภัยอาชญากรรมทางเทคโนโลยีนำเสนอรูปแบบกลโกงใหม่ๆของคนร้าย เพื่อให้ลองเช็กรู้เท่าทันมิจฉาชีพออนไลน์หรือไม่นอกจากนี้ฝากถึง “ธนาคารแห่งประเทศไทย” ช่วยจำกัดวงเงินการโอนของบัญชีเสี่ยงในกลุ่มเปิดบัญชีผ่านออนไลน์ไม่เกิน ๕ หมื่นบาท/วัน และบัญชีธนาคารเปิดมาไม่เกิน ๑ ปี ที่ไม่มีการระบุตัวตนที่น่าเชื่อถือด้วยเรื่องภัยออนไลน์เป็นความท้าทาย “คนร้ายใช้ความก้าวหน้าก่อเหตุทุกนาที” การจัดการปัญหาต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญตามประเภทอาชญากรรมกีดกันไม่ให้มาล่อลวงเหยื่อต่อไปได้.คลิกอ่านคอลัมน์ “สกู๊ปหน้า ๑” เพิ่มเติม