Saturday, 19 October 2024

แพทย์เกาหลีใต้ไม่อยากให้มีแพทย์เพิ่ม

เตาเผาศพวัดแสนสุข เขตมีนบุรี กรุงเทพฯ พังจนให้บริการเผาศพได้ไม่เต็มที่ ครอบครัว ‘ช่วยรักษา’ ถวายเงิน ๑.๕ ล้านบาท เมื่อผมนำเลขบัญชีวัดแสนสุขลงในคอลัมน์เปิดฟ้าส่องโลก มีผู้โอนเงินไปที่บัญชีวัดแสนสุขรวมแล้ว ๓.๔ แสนบาท เมื่อ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ ครอบครัวช่วยรักษาและคณะไปถวายเตาเผาศพใหม่แด่พระครูสังฆกิจจาทร ผู้ช่วยเจ้าอาวาส ขออนุโมทนาบุญครับการเพิ่มบุคลากรทางการแพทย์ให้มีจำนวนเพียงพอต่อการดูแลสุขภาพของผู้คนเป็นเรื่องจำเป็น รัฐบาลของหลายประเทศจึงสร้างสถาบันผลิตแพทย์เพิ่มเติม อย่างเช่นรัฐบาลเกาหลีใต้มีนโยบายผลิตแพทย์ของรัฐเพิ่ม วางเป้าเพิ่มโควตานักศึกษาแพทย์จากปัจจุบัน ๓ พันคนไปเป็น ๕ พันคนใน ค.ศ.๒๐๒๕ และพอถึง ค.ศ.๒๐๓๕ ก็ต้องการผลิตแพทย์ให้ได้มากถึง ๑ หมื่นคนเกาหลีใต้มีแพทย์ต่อประชากรต่ำมากเมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้วอื่นๆ ประชากรเกาหลีใต้ในปัจจุบันมี ๕๒ ล้านคน มีสัดส่วนแพทย์ใน ค.ศ.๒๐๒๒ เพียง ๒.๖ ต่อประชากร ๑ พันคน ซึ่งถือว่า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ๓.๗ ในกลุ่มประเทศองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) นอกจากนั้น เกาหลีใต้เข้าสู่สังคมผู้สูงวัยที่มีความจำเป็นต้องใช้แพทย์ดูแลผู้สูงวัยของประเทศเพิ่มขึ้นแทนที่แพทย์ในเกาหลีใต้จะดีใจ กลับต่อต้าน การมีแพทย์เพิ่มขึ้นทำให้ความสำคัญของคนที่มีอาชีพแพทย์ลดน้อยถอยลง คนป่วยมีทางเลือกในการเข้าใช้บริการทางการแพทย์เพิ่มขึ้น แพทย์และองค์กรนักศึกษาแพทย์ออกมาโต้ตอบรัฐบาลเกาหลีใต้ว่าแพทย์ทั้งประเทศมีเพียงพออยู่แล้ว การเพิ่มนักศึกษาแพทย์หรือเพิ่มแพทย์ทำให้มีการรักษาที่ไม่จำเป็น สิ้นเปลืองงบประมาณของแผนประกันสุขภาพแห่งชาติ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๐๒๔ แพทย์อินเทิร์นและแพทย์ประจำบ้านประท้วงรัฐบาลเกาหลีใต้ด้วยการยื่นใบลาออก ๘,๘๑๖ คน คิดเป็นร้อยละ ๗๑.๒ ของแพทย์ฝึกหัดทั่วประเทศ ยื่นใบลาออกยังไม่พอ แพทย์ ๗,๘๑๓ คนหยุดงานประท้วงโดยไม่สนใจผู้ป่วย สนใจแต่ความมั่นคงในอาชีพของตนเอง ทำให้โรงพยาบาลหลายแห่งในเกาหลีใต้ต้องเลื่อนการผ่าตัด หรือยกเลิกการผ่าตัดไปเลยรัฐบาลเกาหลีใต้แก้ปัญหาด้วยการออกคำสั่งให้แพทย์อินเทิร์น ๖,๑๑๒ คนที่ยื่นใบลาออกกลับเข้าทำงาน และใช้มาตรการทางกฎหมายลงโทษแพทย์ที่เข้าร่วมการประท้วง วงการสาธารณสุขของเกาหลีใต้อยู่ในรูปแบบเอกชนเป็นส่วนใหญ่ การบริหารงานแพทย์แบบธุรกิจทำให้แพทย์เกาหลีใต้มีรายได้สูงเป็นอันดับต้นของโลก แพทย์เฉพาะทางรับค่าตอบแทนโดยเฉลี่ยปีละ ๒ แสนดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ ๗.๑๖ ล้านบาท)คนเกาหลีใต้ยอมลงทุนเรื่องการประกันสุขภาพ เพราะการเข้าโรงพยาบาลแต่ละครั้งหมายถึงการต้องเสียเงินจำนวนมาก คนจนหรือคนงานต่างชาติที่หลบหนีเข้าเมือง (ไม่มีประกัน) เมื่อเจ็บไข้ได้ป่วยจึงลำบากนักเรียนเกาหลีใต้จำนวนหนึ่งดิ้นรนสอบเข้าโรงเรียนแพทย์ให้ได้ ไม่ใช่เพราะใจรักอยากช่วยเหลือผู้ป่วยหรือเพื่อนมนุษย์ ทว่าอยากเป็นแพทย์เพราะอยากร่ำรวย แพทย์เกาหลีใต้จำนวนไม่น้อยสนใจแต่เรื่องการผ่าตัดทำศัลยกรรม จนสถานที่ทำศัลยกรรมในเกาหลีใต้มีชื่อเสียงและนำเม็ดเงินมหาศาลมาสู่แพทย์ผู้ผ่าตัดหรือสถานพยาบาลด้านความงามการรับสมัครนักศึกษาแพทย์ในบางประเทศใช้ผลการสอบเข้า + ภูมิหลังในด้านความเสียสละของนักศึกษา เพื่อให้ได้แพทย์ที่มีทั้งความรู้ ความสามารถ และที่มีใจรักในการดูแลเพื่อนมนุษย์ด้วยกันรัฐบาลของหลายประเทศใช้ภาษีของประชาชนในการผลิตแพทย์ แต่เมื่อผลิตออกมาแล้ว แทนที่แพทย์เหล่านั้นจะทำงานดูแลสุขอนามัยของคนในประเทศ กลับลาออกและเดินทางไปทำงานในประเทศที่เจริญกว่าและได้รับค่าตอบแทนมากกว่าแพทย์ที่จบจากสถาบันแพทย์บางกลุ่มออกมาโจมตีแพทย์ทางเลือก ไม่ว่าจะเป็นการแพทย์ทางเลือกแบบออร์โธโมเลกุลาร์ แพทย์ด้านออสทีโอพาธี แพทย์ธรรมชาติบำบัด ไคโรแพรกติก การแพทย์แผนอายุรเวช การแพทย์แบบโฮมีโอพาธี การแพทย์ที่รักษาโดยสมุนไพร ฯลฯการแพทย์ทางเลือกทำให้ผู้ป่วยมีช่องทางในการรักษาที่หลากหลาย และทำให้แพทย์แผนปัจจุบันที่จบจากสถาบันหลักทางการแพทย์มีคู่แข่งขันมากขึ้น.นิติการุณย์ มิ่งรุจิราลัยsonglok๑๙๙๗@gmail.comคลิกอ่านคอลัมน์ “เปิดฟ้าส่องโลก” เพิ่มเติม