“การเก็บเกี่ยวพืชในบ้านเรา จะมีวัสดุเหลือใช้ในแปลงเกษตรเป็นจำนวนมาก เป็นตอซังและฟางข้าว ๒๖.๘๑ ล้านตัน ตอซังและข้าวโพด ๖.๘๓ ล้านตัน ตออ้อยและเศษใบอ้อย ๙.๗๕ ล้านตัน ซึ่งเกษตรกรบางส่วนยังคงใช้วิธีการเผาอยู่เหมือนเดิม ด้วยความเคยชิน” นายปราโมทย์ ยาใจ อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน บอกว่า จากการประเมินการเผาทิ้งเศษเหลือจากตอซังข้าวและฟางข้าว ทำให้ดินสูญเสียธาตุอาหารหลักที่เป็นไนโตรเจนถึง ๙๐ ล้านกิโลกรัม ฟอสฟอรัส ๒๐ ล้านกิโลกรัม และโปแตสเซียม ๒๖๐ ล้านกิโลกรัม ยังไม่นับการสูญเสียธาตุอาหารรอง เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม และซัลเฟอร์ อีกกว่า ๑๕๐ ล้านกิโลกรัมต่อปีรวมกันแล้วคิดเป็นมูลค่ากว่าห้าพันล้านบาท ปราโมทย์ ยาใจ“ดังนั้น กรมพัฒนาที่ดินจึงได้ส่งเสริมและแนะนำให้เกษตรกรไถกลบตอซัง และนำเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาผลิตเป็นปุ๋ยหมัก แก้ไขปัญหาการเผาในพื้นที่การเกษตร เพื่อลดปริมาณฝุ่นละออง PM ๒.๕ จากการเผาเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สุขภาพของประชาชน เศรษฐกิจและการท่องเที่ยว รณรงค์ให้เกษตรกรเลือกใช้วิธี การจัดการกับเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่ถูกต้อง เหมาะสมกับพื้นที่ ส่งเสริมให้เกษตรกรทำปุ๋ยหมักจากวัสดุเหลือใช้ในไร่นา อาทิ ตอซังข้าว ฟางข้าว ข้าวโพด ตออ้อย และอื่นๆ” เพราะเศษวัสดุการเกษตรเหล่านี้ มีส่วนประกอบของธาตุอาหารพืชและอินทรียวัตถุที่เป็นประโยชน์ต่อพืช เพิ่มธาตุอาหารให้กับดิน ช่วยปรับปรุงโครงสร้างดิน ก่อนที่จะทำการเพาะปลูกในครั้งถัดไปกรมพัฒนาที่ดินจึงได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับหมอดินอาสาและเกษตร พร้อมทั้งสนับสนุน สารเร่งซุปเปอร์ พด.๑ สำหรับทำปุ๋ยหมัก และสารเร่งซุปเปอร์ พด.๒ สำหรับสารเร่งซุปเปอร์ พด.๑ เหมาะสำหรับที่จะนำมาทำเป็นปุ๋ยหมัก ด้วยการนำฟางข้าว ตอซัง มาผสมกับมูลสัตว์ เช่น มูลวัว มูลไก่ หรือวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรต่างๆ มาผสมคลุกเคล้ากับสารเร่งซุปเปอร์ พด.๑ เพื่อช่วยให้อินทรีย์วัสดุย่อยสลายได้เร็วกว่าปกติเท่าตัว และจะทำให้ได้ปุ๋ยหมักคุณภาพที่จะให้อินทรียวัตถุและธาตุอาหารในดินให้พืชนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งการผลิตปุ๋ยหมักไว้ใช้เอง นอกจากจะช่วยปรับปรุงบำรุงดินให้ร่วนซุย ช่วยอุ้มน้ำรักษาความชื้น ช่วยในการดูดซับธาตุอาหารพืชได้มากขึ้นและทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ พืชสามารถดูดซึมอาหารจากดินได้ดี ยังจะช่วยลดการใช้ปุ๋ยเคมี และลดต้นทุนการผลิตได้อีกด้วย ส่วนสารเร่งซุปเปอร์ พด.๒ เหมาะสำหรับนำไปทำน้ำหมักชีวภาพ ใช้ฉีดพ่นตอซังในการไถกลบเพื่อช่วยเร่งให้ตอซังย่อยสลายกลายเป็นธาตุอาหารในดินได้เร็วเท่าตัวเหมือน พด.๑เกษตรกรสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่กองเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน และติดต่อขอรับผลิตภัณฑ์สารเร่งซุปเปอร์ พด.ต่างๆได้ที่สถานีพัฒนา ที่ดินทุกจังหวัดทั่วประเทศ หรือ โทร.๑๗๖๐.ชาติชาย ศิริพัฒน์คลิกอ่าน “ข่าวเกษตร” เพิ่มเติม