Thursday, 19 December 2024

ติดตามแมงดาทะเลเพื่อหาวิธีป้องภัย

สัตว์ทะเลที่มีหางเป็นสันอย่างแมงดาทะเล ต้องเผชิญกับภัยคุกคามมากมาย ไม่ว่าการสูญเสียชายหาดที่เป็นสถานที่ช่วยระวังรักษาลูกแมงดาทะเล การติดแหจับปลา การถูกมนุษย์นำไปเป็นอาหาร แมงดาทะเลถูกขนานนามว่า “ฟอสซิลที่มีชีวิต” พวกมันมีบทบาทสำคัญในระบบนิเวศชายฝั่ง เป็นแหล่งอาหารหลักสำหรับ “นกลุยน้ำ” และช่วยให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจถึงวิวัฒนา การของแมงดาทะเล เมื่อเร็วๆนี้ ทีมนักวิทยาศาสตร์จากมูลนิธิอนุรักษ์โอเชียน ปาร์ค ฮ่องกง (OPCFHK) ได้ปล่อยแมงดาทะเลโตเต็มวัยชุดแรกลงในอ่าวตุงชุง ใกล้สนามบิน เพื่อติดตามและตรวจสอบรูปแบบการเคลื่อนไหวและการผสมพันธุ์ของแมงดาทะเลเหล่านี้ ทีมเผยว่าได้ใช้เทคโนโลยีการตรวจวัดระยะไกลอัตโนมัติ ด้วยเสียงใต้น้ำระบบแรก ซึ่งการวัดอุณหภูมิของน้ำในการวิจัยนี้ยังสามารถตรวจสอบสถานการณ์ภาวะโลกร้อนทางอ้อมได้อีกด้วย ทั้งนี้ แมงดาทะเลจีน (tachypleus tridentatus) และแมงดาทะเลหางกลม (carcinoscorpis rotundicauda) เป็น ๒ สายพันธุ์ในจำนวน ๔ สายพันธุ์แมงดาทะเลทั่วโลก โดยพบได้ในน่านน้ำชายฝั่งฮ่องกง นักวิจัยประเมินว่าประชากรแมงดาทะเลในท้องถิ่น คาดว่าจะน้อยกว่า ๑๐,๐๐๐ ตัว ในขณะที่ ข้อมูลเกี่ยวกับประชากรแมงดาทะเลโตเต็มวัยก็ยังไม่เพียงพอ ทำให้ยากต่อการประมาณ การจำนวนสัตว์ชนิดนี้อย่างแม่นยำ.อ่าน “คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ” ทั้งหมดที่นี่