Thursday, 19 December 2024

"ก้าวไกล" จ่อเสนอร่าง พระราชบัญญัติภาพยนตร์ เลิกเรตห้ามฉาย ลดอายุเหลือ ๑๘

“ก้าวไกล” เตรียมเสนอร่าง พระราชบัญญัติภาพยนตร์ ต่อสภา ยกเลิกเรตห้ามฉาย ลดอายุจาก ๒๐ ปี เหลือ ๑๓ ๑๕ และ ๑๘ ปี ลดการควบคุมจากรัฐ ขณะหนังต่างประเทศเข้ามาถ่าย เดิมต้องขอตรวจบท-รายละเอียด จากนี้ใช้วิธีการจดแจ้งแทน วันที่ ๒๙ ก.พ. ๖๗ เวลา ๑๑.๔๐ น. ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น ๑ อาคารรัฐสภา นายอภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล สส.พรรคก้าวไกล และคณะ แถลงข่าว พรรคก้าวไกล เตรียมเสนอร่าง พระราชบัญญัติภาพยนตร์ พ.ศ. …. ต่อสภาผู้แทนราษฎร แต่เดิมมี พระราชบัญญัติภาพยนตร์ วีดิทัศน์ พ.ศ.๒๕๕๑ ซึ่งกฎหมายฉบับนี้จำกัดสิทธิ์ของคนที่ทำงานเกี่ยวกับอุตสาหกรรมสร้างสรรค์อยู่หลายเรื่อง เพราะฉะนั้นทาง พรรคก้าวไกล จึงได้ร่างพระราชบัญญัติใหม่ชื่อว่า พระราชบัญญัติภาพยนตร์ พ.ศ. …. เพื่อที่จะลดอำนาจของคณะกรรมการภาพยนตร์ ซึ่งแต่เดิมคณะกรรมการส่วนใหญ่เป็นข้าราชการ แต่ร่างที่ พรรคก้าวไกล เสนอจะให้คนที่ทำอาชีพในอุตสาหกรรมภาพยนตร์มาเป็นกรรมการส่วนใหญ่ของกรรมการชุดนี้ ประเด็นที่สำคัญของร่าง พระราชบัญญัติฉบับนี้คือ แต่เดิมมีการทำเรตไว้หลายเรตมาก เรตที่สำคัญที่เป็นอุปสรรคของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ คือ เรตการห้ามฉาย ตัวอย่างเช่น ภาพยนตร์เชคสเปียร์ต้องตาย ที่ถูกห้ามฉาย และในที่สุดฟ้องชนะคดีในศาลปกครอง พระราชบัญญัติของพรรคก้าวไกล จะยกเลิกเรตห้ามฉาย การกำหนดอายุตามเรตต่างๆ จะลดอายุลง เช่น แต่เดิมสูงสุดจำกัดอายุไว้ที่ ๒๐ ต่อไปนี้จะเหลือแค่ ๑๓ ๑๕ และ ๑๘ เป็นอายุสูงสุด ลดการควบคุมจากรัฐ เช่น ในภาพยนตร์ต่างประเทศที่เข้ามาถ่ายทำในประเทศไทย แต่เดิมต้องขอตรวจบท ตรวจรายละเอียด ต่อไปนี้ให้ใช้วิธีการจดแจ้งแทน โรงภาพยนตร์ ซึ่งเดิมโรงภาพยนตร์ทุกประเภทต้องไปจดขอใบอนุญาตในการทำกิจการภาพยนตร์ ต่อไปนี้ถ้าเป็นโรงภาพยนตร์ขนาดเล็ก หรือโรงภาพยนตร์ชุมชนซึ่งมีที่นั่งไม่เกิน ๕๐ ที่นั่ง ให้ใช้วิธีจดแจ้งว่า จะทำธุรกิจบันเทิงขนาดเล็ก ซึ่งในปัจจุบันมีคนทำภาพยนตร์ขนาดเล็กอยู่ตามร้านอาหาร แหล่งชุมชนเป็นจำนวนมาก ต่อไปนี้จะใช้เพียงแค่จดแจ้ง พระราชบัญญัติพระราชบัญญัติภาพยนตร์ที่พรรคก้าวไกลจะเสนอในครั้งนี้ไม่มีวีดิทัศน์ เนื่องจากอุตสาหกรรมธุรกิจวีดิทัศน์ไม่มีคนทำธุรกิจนี้แล้ว ส่วนอุตสาหกรรมเกมมีบุคลิก และกลุ่มลูกค้าที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะลูกค้าต่างประเทศจึงแยกออกจากพระราชบัญญัติภาพยนตร์ สิ่งสำคัญอีกอันนึงที่พรรคก้าวไกลแก้ไขก็คือ โทษทางอาญาทั้งหลายให้ปรับเป็นโทษทางพินัย ใช้เป็นการปรับทางการเงินพอจะเพื่อที่จะทำให้คนที่ทำอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ได้สร้างสรรค์ความสามารถอย่างเต็มที่ และรับผิดชอบสังคมด้วยการเสนอรายละเอียดต่างๆ ให้สังคมเป็นผู้ตัดสินใจ เจ้าของหนังจะเป็นคนเสนอเรตตัวเองว่าอยู่ในกลุ่มไหน และรับผิดชอบสังคมด้วยกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น กฎหมายความมั่นคง กฎหมายอนาจาร งดการควบคุมจากภาครัฐลง เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมภาพยนตร์.