Sunday, 19 January 2025

ไดโนเสาร์ปากเป็ดมาแอฟริกาได้อย่างไร

เมื่อหลายปีก่อนมีการค้นพบซากดึกดำบรรพ์หรือฟอสซิลของสมาชิกตระกูลไดโนเสาร์ปากเป็ดในโมรอกโก ซึ่งเป็นประเทศที่อยู่ในทวีปแอฟริกา ทว่าตระกูลไดโนเสาร์ปากเป็ดนั้นเป็นที่รู้กันว่ามีวิวัฒนาการอยู่ในทวีปอเมริกาเหนือ ทำให้เกิดคำถามว่าไดโนเสาร์ชนิดนี้เดินทางไปถึงแอฟริกาได้อย่างไรล่าสุด ทีมวิจัยนำโดย ด็อกเตอร์นิโคลาส ลองริช จากมหาวิทยาลัยบาธ ในอังกฤษ มหาวิทยาลัยแห่งแคว้นบาสก์ ในสเปน พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาฝรั่งเศส พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติมาร์ราเกช และมหาวิทยาลัยกอดี อียาด ในโมร็อกโก รายงานผลการศึกษาใหม่ระบุว่า ฟอสซิลไดโนเสาร์ปากเป็ดที่พบในโมร็อกโก เป็นสายพันธุ์ใหม่และได้รับการตั้งชื่อว่า Minqaria bata มีขนาดตัวยาวราวๆ ๓-๔ เมตร หนักประมาณ ๒๕๐ กิโลกรัม เทียบแล้วก็ตัวเท่าๆลูกม้า แม้จะดูมีขนาดเล็ก ทว่ากระดูกของกะโหลกศีรษะถูกถักยึดเข้าด้วยกันอย่างแน่นหนา แสดงให้เห็นว่ามันเป็นไดโนเสาร์ที่โตเต็มวัย โครงสร้างของ Minqaria bata มีลักษณะคล้ายคลึงกับไดโนเสาร์ปากเป็ดสายพันธุ์ยุโรปอย่างใกล้ชิด เป็นไปได้ว่าไดโนเสาร์ปากเป็ดว่ายหรือลอยตัวข้ามทะเลเปิดหลายร้อยกิโลเมตร เพื่อไปหาถิ่นที่อยู่ใหม่ในแอฟริกาเหนือทั้งนี้ Minqaria bata ยังมีลักษณะคล้ายกับไดโนเสาร์ปากเป็ดพันธุ์แอฟริกันเพียงชนิดเดียวที่รู้จักก่อนหน้านี้คือ Ajnabia odysseus แต่รูปร่างของกรามและฟันชี้ให้เห็นว่าพวกมันเป็นสายพันธุ์ที่แตกต่างกัน และอาจอยู่ในตำแหน่งทางนิเวศวิทยาที่แตกต่างกัน.Credit : Scientific Reports (๒๐๒๔). DOI: ๑๐.๑๐๓๘/s๔๑๕๙๘-๐๒๔-๕๓๔๔๗-๙อ่าน “คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ” ทั้งหมดที่นี่