หัวหน้าผู้ตรวจการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพร้อม “ชัยวัฒน์” นำทีมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องบุกดูสภาพพื้นที่ที่มีการออก ส.ป.ก.โดยมิชอบแห่งใหม่ พบหลัก ส.ป.ก. ๒ หมุดปักคร่อมลำน้ำลำตะคองแบบข้ามห้วยที่บ้านกุดคล้า ต.หมูสี และอยู่บนภูเขา ๓ หมุด แสดงถึงเจตนาการยึดถือครอบครองที่ดินในเขตป่า เตรียมขยายผล กรมอุทยานฯสู้ออกแถลงการณ์ยืนยันแนวเขตเขาใหญ่เป็นไปตามแผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีกา-สอดคล้องกับข้อเท็จจริงพื้นที่ เคลียร์พื้นที่ทับซ้อนวันแม็ป จบเหลือแค่รีสอร์ตเอกชนร้องจุดเดียว ไม่เกี่ยวกับแปลง ส.ป.ก.เจ้าปัญหา ส่วนปมแนวเขตไม่ตรงแผนที่ทหารให้ กก.นโยบายที่ดินแห่งชาติชี้ขาด ขณะที่กรมแผนที่ทหารชิ่งหนีปัญหา “ส.ป.ก.เขาใหญ่” ให้กรมอุทยานฯแก้ปัญหาพิพาท-รักษาป่าเอาเอง“ชัยวัฒน์” ลุยเต็มหมัดกัดไม่ปล่อย เพื่อให้พื้นที่ป่าในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ที่กำลังมีปัญหาถูกรุกล้ำหลายหมื่นไร่และนำไปออกเอกสารสิทธิ ส.ป.ก. พ้นจากการถูกครอบครองโดยมิชอบด้วยกฎหมาย เมื่อเวลา ๐๙.๔๕ น. วันที่ ๑ มี.ค. นายชีวะภาพ ชีวะธรรม หัวหน้าผู้ตรวจการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วยนายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร ผู้อำนวยการสำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติฯ ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ ๑ (ปราจีนบุรี) กรมอุทยานฯ ผู้อำนวยการสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ ๘ (นครราชสีมา) กรมป่าไม้และเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่เข้าตรวจแปลงที่ ส.ป.ก.ออกโฉนด ๒ แปลง ที่สงสัยว่า ออกมิชอบ โดยก่อนเดินทางไปดูจุดที่ ส.ป.ก.ไปปักหมุดใหม่ในพื้นที่จำนวน ๒๙ ไร่เศษ ที่มีการออกเอกสาร ส.ป.ก.ติดกับพื้นที่โฉนด นายชีวะภาพและคณะได้ชี้แจงกับบรรดาสื่อมวลชน ที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวด่านอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ฝั่ง อ.ปากช่อง ว่าพื้นที่ดังกล่าวเหมาะสมที่จะเป็นพื้นที่เกษตรกรหรือไม่ โดยมีภาพถ่ายขึ้นจอทีวีให้เห็นระบุว่า เป็นที่ดินของเสี่ยคนหนึ่งใน อ.ปากช่อง เป็นที่ดิน ส.ป.ก.รวมทั้งหมด ๘ แปลง รวมกว่า ๘๐ ไร่หลังจากดูพื้นที่แล้ว นายชัยวัฒน์ให้สัมภาษณ์ว่า ได้เข้าตรวจสอบแปลง ส.ป.ก.ติดบริเวณเขาวังหินในบ้านกุดคล้า หมู่ ๕ ต.หมูสี อ.ปากช่อง ที่มีการนำไปออกโฉนดและสงสัยว่าออกโดยมิชอบ เนื่องจากอยู่นอกเขต ส.ป.ก. ผู้ครอบครองมีความเชื่อมโยงกับแปลงออก ส.ป.ก.ในพื้นที่พิพาททับเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ พบมีการนำไปออกโฉนด ๒๙ ไร่ พบหลัก ส.ป.ก.๒ หมุดปักคร่อมลำน้ำลำตะคองแบบข้ามห้วยยาวเป็น ๑๐๐ เมตร ท้องที่บ้านกุดคล้า ต.หมูสี จากฝั่งภูเขาที่มีความลาดชัน ไปยึดป่าถาวรอีกฝั่งและอยู่บนภูเขา ๓ หมุด จากการตรวจสอบพื้นที่จริงพบว่า มีทั้งความลาดชันและทั้งคร่อมลำน้ำ โดย ๒ หมุดอยู่ฝั่งซ้ายลำน้ำ อีก ๓ หมุดอยู่ฝั่งขวา ที่เหลือกำลังตามหาเพิ่ม เจ้าหน้าที่อุทยานฯ และป่าไม้ ยืนยันว่า ส.ป.ก.ออกแบบนี้ไม่ได้ แต่รอให้ ส.ป.ก.ชี้แจงเป็นเอกสาร นายชัยวัฒน์กล่าวอีกว่า การมาลงพื้นที่เนื่องจากที่ผ่านมา ส.ป.ก.ไม่ให้เอกสารข้อมูลอะไรเลย กรมอุทยานฯจึงต้องมาหาหลักฐานเอง พื้นที่ที่มาตรวจสอบมีสภาพเป็นป่ามีพื้นที่ลาดชัน ไม่สามารถนำไปออก ส.ป.ก.ได้ โดยหมุดที่พบถือเป็นนิติวิทยาศาสตร์ ที่แสดงถึงการยึดถือครอบครองที่ดินในเขตป่า เป็นการแสดงเจตนาที่ไม่ชอบหมุด ที่พบทั้งสองฝั่งสันนิษฐานว่า เป็นการเตรียมการที่จะออกเอกสารทั้งสองฝั่งเพื่อยึดถือครอบครอง หมุดที่ปักแสดงถึงหน่วยงาน มีหมายเลขกำกับ ต้องเก็บหลักฐานและจะมีการขยายผลต่อไป ทั้งนี้ มีคนโทรศัพท์มาเคลียร์กับตน โดยฝากกันมาบอกถึงตนว่า วันเสาร์นี้จะจบทุกอย่าง จะคืนพื้นที่ให้กรมอุทยานฯทั้งหมด แล้วในที่ซ้อนทับก็จะจบแบบไม่มีปัญหา คืนให้หมด เชื่อว่าค่าตอบแทนของคนที่ไปออก ส.ป.ก.แต่ละแปลง น่าเป็นเลข ๗ หลัก/ไร่ ดูแล้วกันว่าถูกต้องมั้ยนายชัยวัฒน์ยังได้ให้สัมภาษณ์หลังพบกับกลุ่มนักอนุรักษ์เขาใหญ่ที่นำโดย น.ส.พันชนะ วัฒนเสถียร นายกสมาคมการท่องเที่ยวเขาใหญ่ ที่บริเวณหน้าด่านทางขึ้นเขาใหญ่ ว่า อยากให้เห็นความไม่ซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ของข้าราชการบางหน่วยงานจากที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยเฉพาะแผนที่เริ่มต้นจากจุดที่ออกมาว่ากรมแผนที่ทหารยืนยันว่าบริเวณจุดนั้นเป็นที่ ส.ป.ก.จะให้สังคมเห็นความชัดเจนว่า ส.ป.ก. ดำเนินการในรูปแบบใดบ้าง เพราะสงสัยว่าออกเพียงเฉพาะในพื้นที่ ส.ป.ก.เป็นพื้นที่จำแนก แต่ที่ไปดูสภาพพื้นที่อยู่ออกนอกเขตที่ ส.ป.ก. จะออกเอกสารได้จากนั้นช่วงบ่าย คณะทั้งหมดเดินทางไปยังบ้านหนองเครือคต หมู่ ๘ สวนป่าปางอโศก ป่าดงพญาเย็น ที่มี ส.ป.ก.ไปปักหมุดในพื้นที่ป่าสงวน ที่มาภาระผูกพัน และยังพบว่า มีการบุกรุกขึ้นไปทำถนน ขุดบ่อน้ำบนภูเขา มีหลักหมุดวางอยู่โคนต้นไม้ มีสิ่งปลูกสร้างบ้านหลังใหญ่ ที่ตรวจสอบเบื้องต้นเป็นเสี่ยผู้รับเหมาก่อสร้างรายหนึ่งด้วยขณะที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ออกแถลงการณ์เรื่อง การจัดทำแผนที่แสดงแนวเขตอุทยานแห่งชาติ สรุปใจความว่า การกำหนดพื้นที่เป็นอุทยานแห่งชาติ อาศัยอำนาจตาม พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ ๒๕๖๒ หรือ พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ ๒๕๐๕ (เดิม) โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกาและมีแผนที่แสดงแนวเขตแนบท้ายพระราชกฤษฎีกาอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่มีพระราชกฤษฎีกาประกาศในราชกิจจา นุเบกษา เมื่อวันที่ ๑๘ กันยายน๒๕๐๕ ต่อมากรมอุทยานฯ ได้ถ่ายทอดเส้นแนวเขตตามแผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีกา ลงบนแผนที่ภูมิประเทศ มาตราส่วน ๑ : ๕๐,๐๐๐ ของกรมแผนที่ทหาร ในระบบเชิงเลข (Digital Map) และจัดแนวเขตอุทยานแห่งชาติในรูปแบบดิจิตอล (Shape files) เพื่อใช้ในการปฏิบัติงาน แก้ไขปัญหาการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้ ปัญหาข้อพิพาทที่ดินและพื้นที่ทับซ้อนต่างๆ การจัดทำแนวเขตดังกล่าว เป็นไปตามแผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีกาและสอดคล้องกับข้อเท็จจริงในพื้นที่ ในแถลงการณ์ยังระบุว่าในคราวประชุมคณะอนุกรรมการฯ ครั้งที่ ๒/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๒๖ ธ.ค. ๖๕ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบผลการดำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการมาตราส่วน ๑ : ๔๐๐๐ (One Map) กลุ่มที่ ๓ จำนวน ๑๑ จังหวัด ประกอบด้วย นครราชสีมา บุรีรัมย์ ปราจีนบุรี มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ชัยภูมิ สระแก้ว สุรินทร์ อุบลราชธานี เพชรบูรณ์ และเลย ตามที่กรมอุทยานฯ เสนอ แต่เนื่องจากสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (สคทช.) ได้รับเรื่องร้องเรียนแนวเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ทับซ้อนกับที่เอกชน (เป็นกรณีบริษัท ภูพบฟ้า จำกัด ไม่เกี่ยวกับข้องกับกรณีแปลง ส.ป.ก.) คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์๖๖ เห็นชอบผลการดำเนินการปรับปรุงแผนที่ฯ (One Map) กลุ่มที่ ๓ ยกเว้นกรณีอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จ.นครราชสีมาและปราจีนบุรี ตามที่สำนักงานคณะกรรมการ กรณีปัญหาแนวเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ บริเวณที่มีการออกเอกสาร ส.ป.ก. ในท้องที่บ้านเหวปลากั้ง ต.หมูสี อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ไม่สอดคล้องตรงกันกับแนวเขตของกรมแผนที่ทหาร เห็นควร ให้คณะอนุกรรมการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐ (One Map) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ พิจารณาตามหลักเกณฑ์การพิจารณา One Map ให้ได้ข้อยุติและถูกต้องตามข้อเท็จจริงต่อไปอีกด้าน วันเดียวกัน นายสุทิน คลังแสง รัฐมนตรีว่าการกลาโหม กล่าวถึงการเรียกประชุมคณะกรรมการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน ๑ : ๔๐๐๐ (One Map) ที่มีขึ้นเมื่อวันที่ ๑ มีนาคมว่า เป็น การประชุมตามวงรอบปกติ หลังจากเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานเสร็จแล้ว เพื่อนำมาเสนอคณะกรรมการวันแม็ป (One Map) ถ้าคณะกรรมการเห็นชอบจะเสนอเข้าที่ประชุม ครม. การประชุมมีการหยิบยกประเด็นปัญหา ส.ป.ก.เขาใหญ่ เพื่อหาทางออกที่ดีที่สุด หากระบบหรือมีสิ่งใดคลาดเคลื่อนที่จะเป็นข้อสังเกตให้คณะกรรมการวันแม็ปไปพิจารณาปรับปรุงเมื่อถามถึงกรณีปัญหา ส.ป.ก.เขาใหญ่ยังไม่จบ จะเอาเข้า คณะรัฐมนตรีได้อย่างไร เพราะกรมอุทยานฯไม่ยอมรับ และจะฟ้องร้องหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนายสุทินกล่าวว่า ต้องดูว่าที่ไม่จบเพราะไม่ฟังเหตุผลกันหรือไม่หรือไม่จบเพราะการทำวันแม็ปของเราบกพร่อง หากเป็นที่ระบบของเราจะตรวจสอบเพื่อให้คณะกรรมการยืนยันอีกครั้งว่าได้ทำตามหลักวิชาการและระบบที่สมบูรณ์แล้วหรือยัง ถ้าสมบูรณ์แล้วอีกฝ่ายไม่ยอมรับปัญหาก็ไม่ได้เกิดที่ตรงนี้แล้ว พร้อมยืนยันว่ากรมแผนที่ทหารเป็นหน่วยงานที่มีความเป็นกลางไม่ได้เกรงกลัวอิทธิพลหรือมีผลประโยชน์อะไร หากกองทัพไปกลัวผู้มีอิทธิพล แล้วประชาชนจะไปพึ่งใครเมื่อถามถึงกรณีที่นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร ผู้อำนวยการสำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จะนำเรื่องฟ้องศาล ต้องชะลอเรื่องส.ป.ก.เขาใหญ่ เข้าครม.หรือไม่ นายสุทินกล่าวว่า เราสามารถดำเนินการควบคู่ไปได้ แต่ระหว่างดำเนินการต้องเคารพศาล ยืนยันว่าคณะกรรมการวันแม็ป ยังมีหน่วยงานอื่นด้วยนอกจากกองทัพ ถือเป็นองค์กรที่ต้องเชื่อมั่นได้ว่าสุจริต มีการถ่วงดุลตรวจสอบอยู่แล้ว ไม่ใช่เป็นสิทธิ์ขาดของเจ้ากรมแผนที่ทหารหรือกองทัพทำฝ่ายเดียว มีองค์กรอื่นเข้ามาคานอยู่ เมื่อถามว่ามีเรื่องการเมืองหรือการกลัวเสียหน้าอะไร เข้ามาเกี่ยวข้องหรือไม่ นายสุทินกล่าวว่า ไม่แน่ใจว่ามีส่วนนี้เกี่ยวข้องหรือไม่ แต่โดยระบบมันก็จบทุกฝ่ายต้องยอมรับระบบ ส่วนเรื่องกลัวเสียหน้าหรือไม่ยังไม่ถึงขั้นนั้นทุกคนต่างฝ่ายต่างรักษาผลประโยชน์ มองต่างกันเพราะถือแผนที่คนละฉบับ ที่เป็นปัญหาใหญ่มาตลอดผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมเมื่อวันที่ ๑ มี.ค. กรมแผนที่ทหารเสนอให้นายสุทินพิจารณาปัญหาที่ดิน ส.ป.ก.เขาใหญ่ โดยจะยกให้อยู่ในความดูแลของกรมอุทยานฯ เพื่อแก้ปัญหาการถือแผนที่คนละฉบับจนนำมาซึ่งความขัดแย้งและเป็นการอนุรักษ์ป่าอ่าน “คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ” ทั้งหมดที่นี่
รุก "อุทยาน" อีก หมุด ส.ป.ก.คร่อมห้วย-เขา จุดเดิมยังวุ่น โยน "สคทช." ชี้
Related posts