Sunday, 19 January 2025

เผยภาพหลุมดำมวลยิ่งยวดในเอกภพยุคแรกเริ่ม

กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ เครื่องมือความร่วมมือขององค์การนาซา สหรัฐอเมริกา องค์การอวกาศยุโรป และองค์การอวกาศแคนาดา ซึ่งปล่อยขึ้นสู่วงโคจรเมื่อ ๒ ปีที่แล้ว ได้ปฏิวัติมุมมองของมนุษยชาติเกี่ยวกับการก่อตัวของกาแล็กซีในยุคแรกๆ และยังนำไปสู่การค้นพบกาแล็กซียุคแรกๆหลายแห่ง มากกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ รวมถึงเผยให้เห็นวัตถุใหม่ๆบางประเภทล่าสุดกลุ่มนักดาราศาสตร์นำโดยนักดาราศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเบน-กูเรียนแห่งเนเกฟ ในอิสราเอล เผยว่า ภาพที่กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ ถ่ายมานั้นแสดงสภาพกระจุกกาแล็กซี Abell ๒๗๔๔ ในระดับความลึกที่ไม่เคยมีมาก่อน และพบวัตถุที่มีขนาดกะทัดรัดเป็นสีแดง ๓ แห่งที่โดดเด่นสะดุดตา ซึ่งการปรากฏตัวของ “จุดสีแดง” ทำให้เราสงสัยทันทีว่ามันเป็นวัตถุคล้ายควอซาร์ (quasar) คือวัตถุที่คล้ายกับดวงดาวเป็นจุดแสงสว่าง คือบางทฤษฎีก็บอกว่าเป็นหลุมดำใจกลางกาแล็กซีที่เปล่งแสงสว่างจ้าหลุมดำมวลยิ่งยวดพวกนี้อยู่บริเวณใจกลางกาแล็กซีที่กำลังกลืนกินวัสดุและสสารรอบข้างอย่างแข็งขัน ซึ่งการดูดกลืนสสารเข้าไปในหลุมดำก็จะทำให้เกิดการปล่อยรังสีปริมาณมหาศาลปกคลุมกาแล็กซีที่เป็นที่อยู่ของหลุมดำ ทำให้เกิดรูปร่างที่กะทัดรัดและสว่างคล้ายดาวฤกษ์.Credit : NASA, ESA, N. Bartmann.อ่าน “คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ” ทั้งหมดที่นี่