ศิลปวัฒนธรรม กลไกสำคัญในการพัฒนาคนและสังคม แนวคิดที่นำมาซึ่งการเชื่อมประสานระหว่าง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) และ สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ในการประชุมหารือถึงแนวทางการบูรณาการความร่วมมือในการพัฒนาส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนทุกช่วงวัยโดยใช้มิติทางศิลปะร่วมสมัย และเพื่อให้การบูรณาการความร่วมมือดังกล่าวเป็นไปโดยเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพบรรลุวัตถุประสงค์ ล่าสุดจึงเห็นควรจัดตั้ง คณะทำงานบูรณาการความร่วมมือพัฒนาคนและสังคมโดยใช้มิติศิลปะร่วมสมัย ขึ้น เพื่อกำหนดกรอบแนวทางการทำงานร่วมกัน โดยมี นายอนุกูล ปีดแก้ว ปลัด พม. เป็นประธานคณะทำงาน มี นายประสพ เรียงเงิน ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย เป็นรองประธานคณะทำงาน รวมทั้งมีอธิบดีทุกกรมในสังกัด พม.และผู้บริหาร วธ.ที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นคณะทำงาน อนุกูล ปีดแก้ว สำหรับอำนาจและหน้าที่ของคณะทำงานคือ ๑.บูรณาการความร่วมมือระหว่าง พม. และ สศร. เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านพัฒนาคนและสังคม โดยใช้มิติทางศิลปะร่วมสมัย ๒.พิจารณากรอบแนวทางและสร้างความร่วมมือระหว่าง พม.และ สศร. ในการดำเนินแผนงาน โครงการ กิจกรรม ให้สอดคล้องกับการพัฒนาคนและสังคม โดยใช้มิติทางสังคมร่วมสมัย และแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติที่กระทรวงเป็นหน่วยงานเจ้าภาพ ๓.สนับสนุนและส่งเสริมให้หน่วยงานในสังกัด และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง มีการขับเคลื่อนงานการพัฒนาคนและสังคม โดยใช้มิติทางศิลปะร่วมสมัย และ ๔.ดำเนินงานด้านอื่นๆที่ได้รับมอบหมาย ประสพ เรียงเงินนายอนุกูล เปิดเผยถึงความร่วมมือระหว่าง พม. และ สศร.ว่า สศร.มีภารกิจในการอนุรักษ์ รักษา ธำรงค์ไว้ซึ่งศิลปวัฒนธรรม อยากเห็นศิลปวัฒนธรรมถูกถ่ายทอดโดยเครือข่ายสังคม จึงเป็นที่มาของการหารือความร่วมมือในการสืบสานถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรม ผ่านกลไกกลุ่มเป้าหมายที่ พม.ดูแล ไม่ว่าจะเป็นเด็กและเยาวชน โดย กรมกิจการเด็กและเยาวชน (ดย.) ซึ่งดูแลสภาเด็กและเยาวชนทั้งระดับตำบล อำเภอ จังหวัด และระดับประเทศ กรมกิจการผู้สูงอายุ (ผส.) มีโรงเรียนผู้สูงอายุ ศูนย์ส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในพื้นที่รวมกว่า ๘๐๐ แห่ง กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (สค.) มีศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัว กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (พก.) มีศูนย์บริการคนพิการ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ (พส.) มีโครงการพัฒนาศักยภาพผู้แสดงความสามารถ รวมถึงมี อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) ที่กระจายอยู่ทุกพื้นที่ ในขณะที่ สศร. มีศูนย์และเครือข่ายศิลปินที่อยู่ในทุกจังหวัด ทุกพื้นที่ที่จะเข้ามาร่วมสนับสนุนทั้งการเติมเต็มองค์ความรู้ ทักษะ รวมไปถึงการเปิดพื้นที่สำหรับการแสดงผลงานและความสามารถ เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับศิลปะวัฒนธรรมร่วมสมัย รวมไปถึงเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ตลอดจนต่อยอดภูมิปัญญาที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับสังคม ดังนั้นหากกลุ่มเป้าหมายและกลุ่มเปราะบางต่างๆสามารถเป็นผู้สื่อสาร หรือเข้าไปใช้ศิลปวัฒธรรมเหล่านี้เพื่อประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว และสังคม ก็จะทำให้งานศิลปะเหล่านี้ได้ถูกถ่ายทอดให้กับคนรุ่นต่อไป “ศิลปะยังใช้ในการบำบัดพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง เป็นมิติทางด้านจิตใจและสุขภาวะ หรือหากถูกถ่ายทอดให้กับแม่เลี้ยง เดี่ยวก็สามารถนำไปสร้างงานสร้างอาชีพ หรือนำไปสื่อสารสร้างบรรยากาศความสัมพันธ์ในครอบครัว ช่วยเสริมความเข้มแข็งของครอบครัว นอกจากนี้ศูนย์เด็กเล็กหรือสถานพัฒนาเด็กเล็กเกือบ ๓ หมื่นแห่งทั่วประเทศ หากเรานำศิลปวัฒนธรรมเข้าไปสู่เด็กปฐมวัยให้เกิดการเรียนรู้ตั้งแต่เด็กเล็ก เป็นการบ่มเพาะฝังไว้ในเจตคติตั้งแต่แรก จะเป็นพลังมหาศาล เมื่อเด็กเหล่านี้เติบโตขึ้นมาเป็นเยาวชน เป็นผู้ใหญ่ มีบทบาทในการเป็นผู้นำประเทศ ก็สามารถขยายแนวคิดศิลป วัฒนธรรมของไทยให้อยู่ในยีนของคนเหล่านี้สืบไป ดังนั้น หัวใจสำคัญของศิลปะคือการพัฒนาคน พัฒนาสังคม” นายอนุกูล ฉายภาพให้เห็นถึงความสำคัญของศิลปะ ปลัด พม.กล่าวด้วยว่า ขณะนี้ได้ประชุมร่วมกันจนนำไปสู่การตั้งคณะทำงาน เพื่อออกแบบความร่วมมือและปักหมุดวางแผนการทำงานในปี ๒๕๖๗ และต่อเนื่องยังปีต่อไปด้วย เป็นการถักทอเครือข่ายการทำงาน ให้เห็นถึงศักยภาพในการขยายแนวคิดด้านการส่งเสริมศิลปวัฒน ธรรมให้ชัดเจน นำไปสู่การทำงานเชิงยุทธศาสตร์ระยะยาวด้วยการนำศิลปวัฒนธรรมมาขับเคลื่อนการพัฒนาคนทุกช่วงวัย ด้าน นายประสพ กล่าวว่า สศร.พร้อมสนับสนุนความร่วมมือในการพัฒนาศักยภาพด้านศิลปะ โดยเชิญศิลปินร่วมสมัยของ สศร. ไปช่วยพัฒนาศักยภาพทางศิลปะทั้งความรู้และทักษะงานด้านศิลปะต่างๆให้แก่กลุ่มเป้าหมายของ พม. ไม่ว่าจะเป็นเด็ก เยาวชน สตรี คนพิการ ผู้สูงอายุ กลุ่มเปราะบางต่างๆที่อยู่ในความ ดูแลของ พม. ขณะเดียวกัน สศร.จะส่งเสริมเวทีหรือเปิดพื้นที่ทางศิลปะ รวมทั้งกิจกรรมด้านศิลปะขององค์กรที่ พม.ดูแล เช่น สภาเด็กและเยาวชนทั้งในระดับจังหวัดและระดับประเทศ กลุ่มสตรี กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มผู้แสดงความสามารถ (เช่น ดนตรีคนตาบอด) นอกจากนี้จะร่วมบูรณาการจัดกิจกรรม นิทรรศการ เช่น ดนตรี การแสดง ตลาดนัดศิลปะ ฯลฯ และให้ พม.ใช้พื้นที่ของ สศร. และเครือข่ายในการทำกิจกรรมต่างๆ หรือนำพาเครือข่ายมาศึกษาดูงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เช่น หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน หรือหอศิลป์/ เครือข่ายของ สศร. ทั้งในกรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัด สศร.มุ่งหวังให้โครงการนี้ มีความต่อเนื่องและยั่งยืน จึงจะต้องวางแผนงานร่วมกันตั้งแต่ปีนี้ โดยจะเริ่มนำร่องบางกิจกรรมที่ทำได้ก่อนทีมข่าวการพัฒนาสังคม เห็นด้วยและสนับสนุนการสานพลังความร่วมมือในการนำศิลป วัฒธรรมมาพัฒนาคนและสังคม ซึ่งนอกจากการสร้างมูลค่าเพิ่ม ยังเป็นมรดกอันล้ำค่าที่ต้องอนุรักษ์และสานต่อให้คงอยู่สืบไปเพราะศิลปวัฒธรรมเป็นสิ่งจรรโลงจิตใจ เชื่อมความสัมพันธ์อันดีให้กับคนในสังคม.ทีมข่าวการพัฒนาสังคมอ่าน “คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ” ทั้งหมดที่นี่
พม.จับมือสศร. ดึงกลุ่มเปราะบางร่วมกลไกสืบสานศิลปวัฒนธรรม ชูศิลปะพัฒนาคน-สังคม
Related posts