Sunday, 19 January 2025

ผลประเมินการใช้ประโยชน์ อ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา

นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เผยถึงการประเมินผลการใช้ประโยชน์จากโครงการอ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา (เขื่อนห้วยโสมง) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.ปราจีนบุรี ที่ได้ดำเนินการก่อสร้างเสร็จแล้วไปกว่า ๙๔% และคาดว่าจะก่อสร้างเสร็จสิ้นในปี ๒๕๖๙ พบว่า ในปีเพาะปลูก ๒๕๖๖/๒๕๖๗ สามารถจัดสรรน้ำในช่วงฤดูแล้งได้ถึง ๓๓.๑๒ ล้านลูกบาศก์เมตร ส่วนในช่วงฤดูฝนจัดสรรน้ำได้ ๙.๔๐ ล้าน ลบ.ม. เพื่อใช้ในการอุปโภค บริโภค รักษาระบบนิเวศและเกษตรกรรมในพื้นที่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เพาะปลูกพืชไร่ ไม้ผล นาข้าว และบ่อปลา และยังใช้น้ำเพื่อชะลอความเค็มในลุ่มน้ำบางปะกง ในช่วงฤดูแล้งได้ถึง ๖๔.๕ ล้าน ลบ.ม.และเจือจางน้ำเสียในแม่น้ำปราจีนบุรี ๑๘.๑๑ ล้าน ลบ.ม. สำหรับจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพื่อช่วยเหลือเกษตร ๑,๖๖๔ ครัวเรือน ที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินโครงการ ได้ช่วยเหลือใน ๓ ด้านหลัก คือ ด้านเศรษฐกิจ กรมส่งเสริมการเกษตร ได้สนับสนุนพันธุ์ไม้ ปุ๋ยคอกและปรับพื้นที่ให้เหมาะสมกับการปลูกพืชทางเลือกใหม่ กรมพัฒนาที่ดิน ดำเนินการป้องกันการเสื่อมโทรมของดินในพื้นที่ชลประทาน โดยการปรับปรุงดินและการพัฒนาเกษตรกรด้านการพัฒนา ที่ดิน พร้อมสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ในการทำปุ๋ยหมัก และน้ำหมักชีวภาพ กรมประมงส่งเสริม การเลี้ยงปลา เพื่อเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำในช่วงฤดูปลา วางไข่ พร้อมสนับสนุนพันธุ์ปลาและอาหาร ฉันทานนท์ วรรณเขจร ส่งผลให้เกษตรกรร้อยละ ๔๔ มีรายได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ย ๑๒,๔๑๔ บาทต่อครัวเรือนต่อปี จากการจำหน่ายพืชผักสวนครัว ปลา ไก่เนื้อ ไข่ และการแปรรูปผลผลิต เกษตรกรร้อยละ ๖๗ สามารถลดรายจ่ายได้เฉลี่ย ๙,๒๑๓ บาทต่อครัวเรือนต่อปี จากการนำพืชผักสวนครัว ปลา ไก่ ไข่ มาบริโภคในครัวเรือนและเกษตรกรร้อยละ ๔๔ สามารถ ลดค่าใช้จ่ายในการผลิตลงได้เฉลี่ย ๓,๒๕๙ บาทต่อครัวเรือนต่อปี จากการผลิตปุ๋ยอินทรีย์น้ำหมัก ปุ๋ยหมักใช้เองแทนการใช้ปุ๋ยเคมี การใช้สารชีวภัณฑ์แทนการใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช ด้านสังคม เกษตรกรร้อยละ ๗๐ มีการรวมกลุ่ม เพื่อทำกิจกรรมทางการเกษตร เช่น กลุ่มผู้เลี้ยงโคเนื้อ กลุ่มแปรรูปและผลิตอาหารปลา กลุ่มไม้ผล กลุ่มปุ๋ยหมัก นอกจากนี้ กลุ่มเกษตรกรรุ่นใหม่ และเกษตรกรร้อยละ ๘๓ มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม ในชุมชน เช่น การปลูกต้นไม้ในชุมชน ปล่อยปลาลงเขื่อน ร่วมพัฒนาพื้นที่สาธารณะของหมู่บ้าน ด้านสิ่งแวดล้อม เกษตรกรร้อยละ ๗๐ ลดการใช้สารเคมีในการผลิต และร้อยละ ๗๗ หันมาใช้อินทรียวัตถุเพื่อการปรับปรุงบำรุงดินช่วยให้ดินมีธาตุอาหารเพิ่มขึ้นทั้งนี้ ในภาพรวมเกษตรกรร้อยละ ๙๗ พอใจต่อการดำเนินงานโครงการในระดับมากถึงมากที่สุดและมีความตั้งใจทำกิจกรรมต่อเนื่องหลังจากการเข้าร่วมกิจกรรม รวมทั้งนำความรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรมไปเผยแพร่/ขยายผลให้กับเกษตรกรรายอื่นๆต่อไป.ชาติชาย ศิริพัฒน์คลิกอ่าน “ข่าวเกษตร” เพิ่มเติม