Thursday, 19 December 2024

ญัตติด่วน "ก้าวไกล" ศึกษาขอบเขตอำนาจศาล รธน.ล้ำเส้น นิติบัญญัติหรือไม่

“ก้าวไกล” ยื่นญัตติ ด่วน ศึกษาขอบเขตอำนาจศาล รธน.ยกหลายคำวินิจฉัยควรศึกษา เป็นการก้าวก่ายล้ำเส้นอำนาจนิติบัญญัติหรือไม่ หวังนำสู่ข้อเสนอจัดทำ รธน.ใหม่ ให้สมดุลของอำนาจอธิปไตยชัดเจนขึ้นวันที่ ๖ มี.ค. ที่อาคารรัฐสภา นายชัยธวัช ตุลาธน หัวหน้าพรรคก้าวไกล และผู้นำฝ่ายค้าน แถลงข่าวยื่นญัตติด่วน ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาขอบเขตอำนาจศาลรัฐธรรมนูญและขอบเขตอำนาจนิติบัญญัติโดยนายชัยธวัช ระบุว่า จากคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ ๓/๒๕๖๗ หรือคดีล้มล้างการปกครองของพรรคก้าวไกล ที่ได้มีการประกาศลงราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา พรรคก้าวไกลเห็นว่า มีประเด็นบางประการที่กระทบกับการทำหน้าที่และการปฏิบัติงานของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รวมถึงสมาชิกรัฐสภาอย่างมีนัยสำคัญ ทำให้มีความจำเป็นต้องเสนอญัตติด่วนดังกล่าวนี้เนื่องจากในการกล่าวหา ที่ว่าการเสนอร่างฯ แก้ไขมาตรา ๑๑๒ ของ สส.พรรคก้าวไกล เป็นการล้มล้างการปกครอง มีประเด็นสำคัญประเด็นหนึ่งที่ทางพรรคก้าวไกลได้โต้แย้งไว้ว่า การเสนอแก้ไขมาตรา ๑๑๒ ไม่ใช่การใช้เสรีภาพ ที่ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจในการวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๔๙ แต่การเสนอร่างกฎหมายเป็นอำนาจของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตามกระบวนการนิติบัญญัติ และการเสนอร่างกฎหมายไม่สามารถเป็นการล้มล้างการปกครองได้ เพราะรัฐธรรมนูญกำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจในการตรวจสอบร่างพระราชบัญญัติทั้งก่อนและหลังการประกาศใช้อยู่แล้ว แต่ปรากฏว่า ตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ ๓/๒๕๖๗ นั้น ได้มีการตีความเขตอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญไว้ว่า แม้การเสนอร่างกฎหมายต่อสภาผู้แทนราษฎรเป็นวิธีการทางรัฐสภา และรัฐธรรมนูญจะบัญญัติให้ฝ่ายนิติบัญญัติ มีหน้าที่และอำนาจโดยตรงในการเสนอและพิจารณาร่างกฎหมายในระดับพระราชบัญญัติ แต่อย่างไรก็ตาม ศาลรัฐธรรมนูญ มีอำนาจที่จะตรวจสอบและวินิจฉัยว่า การเสนอร่างกฎหมายดังกล่าวนั้นเป็นการล้มล้างการปกครองหรือไม่นายชัยธวัช กล่าวต่อว่า สิ่งนี้จะส่งผลต่อความไม่ชัดเจนแน่นอนของขอบเขตอำนาจศาล ที่จะกระทบโดยตรงต่อการทำหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติ ดังนั้น พรรคก้าวไกล จึงเห็นว่า สภาผู้แทนราษฎรควรจะมีการศึกษาโดยเร่งด่วน เนื่องจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญกรณีดังกล่าว รวมถึงคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในหลายกรณีก่อนหน้านี้ ที่ว่าด้วยเรื่องการเสนอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ และกรณีการไม่ให้แก้ไขเพิ่มเติมที่มาของสมาชิกวุฒิสภา ซึ่งล้วนแต่กระทบกับดุลยภาพทางอำนาจระหว่าง ฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายตุลาการ จะเห็นได้ว่า คำวินิจฉัยในกรณีดังกล่าว คลุมเครือเป็นการตีความจนส่งผลต่อการขยายเขตอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่ ล้นเกินไปจากกระบวนการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายก่อนประกาศใช้ หรือไม่ นายชัยธวัช กล่าวต่อไป ว่า คำวินิจฉัยเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อการทำหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกรัฐสภาโดยตรง จึงสมควรที่สภาผู้แทนราษฎรจะต้องศึกษาการใช้อำนาจตีความของศาลรัฐธรรมนูญโดยเร่งด่วน เพื่อกำหนดแนวทางในการทำงานตามกระบวนการนิติบัญญัติ ตลอดจนแนวทางในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในอนาคต ป้องกันการขยายอำนาจจนทับซ้อนกัน และรักษาไว้ซึ่งดุลยภาพแห่งหลักการแบ่งแยกอำนาจ ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญต่อการชี้วัดความเป็นประชาธิปไตย อย่างไรก็ตาม ญัตติดังกล่าว เป็นเพียงญัตติเพื่อเสนอให้มีการศึกษาเท่านั้น ไม่ได้ไปกระทบต่อคำวินิจฉัยที่เกิดขึ้นแล้ว และไม่ได้เป็นการเข้าข่ายละเมิดอำนาจศาลใดๆ ทั้งสิ้นนายชัยธวัช ยังกล่าวต่อว่า อย่างน้อยที่สุด การศึกษากรณีนี้จะทำให้เกิดความชัดเจนในฝ่ายนิติบัญญัติ และหากมีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ในอนาคต ก็เป็นฐานทางวิชาการนำไปสู่การพิจารณาในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ดียิ่งขึ้น จากนั้นได้ยกตัวอย่างที่เคยเกิดขึ้นกับพรรคเพื่อไทย ที่เคยยื่นแก้ไขรัฐธรรมนูญให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ปรากฏว่า ก็ยังมีผู้ยื่นตีความว่าการกระทำของพรรคเพื่อไทยเวลานั้นขัดต่อคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ทั้งที่พรรคเพื่อไทยได้ใช้อำนาจโดยชอบทุกกระบวนการรัฐธรรมนูญ ดังนั้น หากเรื่องนี้ยังคงไม่มีความชัดเจนแน่นอนก็จะมีปัญหาเกิดขึ้นต่อไปเรื่อยๆ เมื่อมีการศึกษาที่ชัดเจนแล้ว สภาก็อาจเสนอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๙ ให้มีความชัดเจนมากขึ้น รวมถึงหากสภาต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นอื่นๆในอนาคต “มันจะเป็นเรื่องประหลาดมาก ถ้าสภานิติบัญญัติไม่สามารถแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแบบนี้ได้ เพราะเราเคยแก้กันไปแล้ว ฝ่ายนิติบัญญัติ รวมถึงสภาร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งหนึ่งสามารถที่จะแก้ไขที่มาของวุฒิสภาได้ แต่มาถึงยุคนี้ ปรากฏว่า ศาลรัฐธรรมนูญขยายอำนาจในการตีความเข้ามาก้าวก่าย ล้ำแดนของฝ่ายนิติบัญญัติ จะเป็นปัญหาในทางการเมืองได้” ชัยธวัชกล่าว…

Related posts
“อมรัตน์” ซัด “อิ๊งค์” โจมตี ธปท. อหังการผิดเรื่อง ชี้ยิ่งพูดเยอะ ยิ่งไม่ใช่คู่แข่งก้าวไกล
“วันนอร์” แนะก้าวไกล เสนอร่างแก้รธน. เข้าสภา หากถูกศาลตีตก อาจเสียเวลากว่าทำประชามติ
“ชัยธวัช” เผย ก้าวไกล ยื่นศาล รธน.ขอขยายเวลาคดียุบพรรค รอบ ๒ อีก ๓๐ วัน
ก้าวไกล ขอรัฐบาลทบทวนคำถามประชามติ มอง มีปัญหา เสี่ยงทำรัฐธรรมนูญใหม่สะดุด
“สมศักดิ์” ไม่หลุดปากมีชื่อนั่ง รัฐมนตรีว่าการสธ. ปัดตอบพร้อมหรือไม่ ให้นายกฯ ตัดสินใจ
สมคิด เชื่อเพื่อไทยไร้คลื่นใต้น้ำหลังปรับ ครม. ย้ำแก้ รธน. ไม่ใช่เพื่อคนใดคนหนึ่ง