Sunday, 19 January 2025

ต้นทุนน้ำชลประทานอีอีซี มีพอหรือไม่ เดินต่อยังไงดี

06 Mar 2024
103

“พื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี แทบจะทุกฝ่ายเป็นห่วง โดยเฉพาะเรื่องของระบบชลประทาน อาจไม่สอดรับกับโครงการ กรมชลประทานจึงได้ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้เป็นที่ปรึกษาในการดำเนินโครงการศึกษาวิจัยต้นทุนน้ำในพื้นที่ เพื่อรวบรวม วิเคราะห์ โครงสร้างต้นทุนและการประเมินต้นทุน การจัดการน้ำอุปทานโดยกรมชลประทาน และการกำหนดอัตราค่าน้ำชลประทานที่เหมาะสม และเป็นรูปธรรมสำหรับทุกภาคส่วนที่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงตามบริบทการจัดหา จัดสรร พัฒนา ให้บริการด้านอุปทานน้ำ รวมทั้งวางแผนและกำหนดทิศทางการพัฒนา และประยุกต์ใช้โครง สร้างต้นทุนการจัดการน้ำอุปทาน และอัตราค่าน้ำชลประทานในพื้นที่ ให้สอดคล้องกับแผนหลักการพัฒนาแหล่งน้ำต้นทุนและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพื่อรองรับขับเคลื่อนการพัฒนา ร่วมกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน กลุ่มผู้ใช้น้ำให้เกิดการบริหารจัดการน้ำในเขตพื้นที่อย่างบูรณาการ” นายสุรชาติ มาลาศรี ผู้อำนวยการสำนักบริหารโครงการ กรมชลประทาน อธิบายถึงการวิจัยและศึกษาพื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี จ.ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง…คณะผู้เชี่ยวชาญได้ทำการศึกษาวิเคราะห์และกำหนดข้อเสนอแนะเชิงนโยบายแนวทางการจัดการน้ำอุปทานอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับภาคส่วนผู้ใช้น้ำที่เกี่ยวข้อง และพัฒนาระบบ Web Application สนับสนุนการวิเคราะห์ ประเมิน และกำหนดต้นทุนการจัดการน้ำอุปทาน และกำหนดต้นทุนการจัดการน้ำ กำหนดอัตราค่าน้ำชลประทานอย่างเหมาะสม ภายใต้การคาดการณ์ปริมาณน้ำที่สามารถใช้การได้ ความต้องการน้ำและระดับความขาดแคลนอย่างมีมาตรฐาน และเป็นธรรมสำหรับทุกภาคส่วนในเป้าหมาย ๓ จังหวัด คาบเกี่ยวกับ ๒ ลุ่มน้ำหลัก ได้แก่ ลุ่มน้ำบางปะกงและลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออก รวมพื้นที่ศึกษาทั้งหมดประมาณ ๘,๔๕๔,๓๗๕ ไร่ โดยในการศึกษาครั้งนี้ได้แบ่งประเภทความต้องการน้ำออกเป็น ๔ ประเภทด้วยกันคือ ๑.น้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภคและการท่องเที่ยว ๒.น้ำเพื่อการอุตสาหกรรม ๓.น้ำเพื่อการเกษตรชลประทานและ ๔.น้ำเพื่อรักษาสมดุลระบบนิเวศและผลักดันน้ำเค็ม นายสุรชาติ มาลาศรีทั้งนี้ กรมชลประทานเลือกพื้นที่ภาคตะวันออกนำร่องในการศึกษาต้นทุนน้ำ เนื่องจากว่าปัจจุบันพื้นที่แถบนี้ได้รับการยอมรับว่าเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ และมีการส่งเสริมอุตสาหกรรมและการลงทุนหลักของประเทศและภูมิภาค ขณะเดียวกันก็เป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญ แล้วมีฐานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่และการเกษตรมูลค่าสูง ทำให้มีแรงงานทุกระดับหลั่งไหลเข้าสู่พื้นที่ ส่งผลให้มีความต้องการความมั่นคงด้านน้ำสูงและคาดการณ์ว่าจะเพิ่มสูงขึ้นอีกในอนาคตอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง โดยคาดว่าในปี ๒๕๘๐ จะมีความต้องการใช้น้ำรวม ๓,๐๘๙ ล้าน ลบ.ม./ปี เพิ่มขึ้นจากปี ๒๕๖๐ ที่มีความต้องการใช้น้ำรวม ๒,๔๑๙ ล้าน ลบ.ม/ปี (เพิ่มขึ้น ๖๗๐ ล้าน ลบ.ม./ปี) อันเนื่องจากการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจและสังคมตามนโยบายสำคัญของรัฐบาล โดยความต้องการใช้น้ำในพื้นที่ ๓ จังหวัด EEC คิดเป็นร้อยละ ๕๓.๕ ของความต้องการใช้น้ำทั้งภาคตะวันออก ทั้งนี้ ความต้องการใช้น้ำภาคอุปโภค–บริโภคมีอัตราการเพิ่มขึ้นมากที่สุด (ร้อยละ ๕๖) รองลงมาคือ ภาคอุตสาหกรรม (ร้อยละ ๔๓) และภาคเกษตรกรรม (ร้อยละ ๑๗)สำหรับความต้องการใช้น้ำเพื่อการอุปโภคและการท่องเที่ยว จังหวัดชลบุรีมีความต้องการใช้น้ำมากที่สุดคือ ๑๔๗.๕๐ ล้าน ลบ.ม. รองลงมาระยอง และฉะเชิงเทรา ๖๑.๖๖ ล้าน ลบ.ม.และ ๔๑.๘๙ ล้าน ลบ.ม.ตามลำดับ ส่วนความต้องการใช้น้ำเพื่อการอุตสาหกรรม จังหวัดที่มีความต้องการใช้มากที่สุดคือ ระยอง มีความต้องการ ๒๙๒.๗๗ ล้าน ลบ.ม.รองลงมาชลบุรี ๒๐๓.๙๕ ล้าน ลบ.ม.และฉะเชิงเทรา ๑๐๘.๙๒ ล้าน ลบ.ม.ตามลำดับ ส่วนความต้องการใช้น้ำเพื่อการเกษตรชลประทาน จ.ฉะเชิงเทรา มีความต้องการใช้มากที่สุดคือ ๑๓๐๔.๗๔ ล้าน ลบ.ม. รองลงมาระยอง ๑๓๙.๑๘ ล้าน ลบ.ม. และชลบุรี ๑๑๗.๙๗ ล้าน ลบ.ม. กรวัฒน์ วีนิลคลิกอ่าน “ข่าวเกษตร” เพิ่มเติม