Sunday, 19 January 2025

ศาลยันไม่เคยสั่งบังคับคดี "อุเทนถวาย" ชี้เป็นไปตามคำวินิจฉัยฯชี้ขาด

06 Mar 2024
134

“ศาลปกครอง” แจงไม่เคยมีคำสั่งบังคับคดีให้ย้ายอุเทนถวาย ชี้ข้อพิพาทจุฬาฯ-อุเทนฯ ยุติด้วยนโยบาย รบ.ที่ชัดเจน ๒ ฝ่ายร่วมตกลงกันเมื่อวันที่ ๖ มีนาคม๖๗ ที่สำนักงานศาลปกครอง นายประวิตร บุญเทียม ประธานแผนกคดีละเมิดและความรับผิดอย่างอื่นในชั้นปกครองสูงสุด ช่วยทำงานชั่วคราวในตำแหน่งรองประธานศาลปกครองสูงสุด กล่าวถึงกรณีข้อพิพาทระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก หรืออุเทนถวาย ว่า ศาลปกครองไม่ได้มีคำพิพากษาโดยมีคำบังคับ ทั้งนี้ ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อปี ๒๕๔๙ ที่กำหนดไม่ให้หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐฟ้องศาล แต่ให้ส่งเรื่องต่อสำนักงานอัยการสูงสุด เพื่อนำเข้าคณะกรรมการชี้ขาดคดีทางแพ่ง ซึ่งมีผู้แทนส่วนราชการหลายหน่วยงาน เมื่อมีผลการวินิจฉัยแล้วก็ให้เสนอให้ คณะรัฐมนตรีทราบ และให้ส่วนราชการนั้นปฏิบัติตาม หากไม่ปฏิบัติตามก็ต้องเสนอ ครม. กรณีข้อพิพาทระหว่างจุฬาฯจึงเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการชุดนี้ และมีการแจ้งผลวินิจฉัยเมื่อปี ๒๕๕๓ ที่ให้อุเทนถวายขนย้าย และส่งมอบพื้นที่คืนแก่จุฬาฯ พร้อมชำระค่าเสียหาย ๑,๑๔๐,๙๐๐ บาท ตั้งแต่ ปี ๒๕๔๙ จนกว่าจะส่งมอบพื้นที่คืน แต่ด้วยเหตุขัดข้องต่างๆก็ยังไม่ได้มีการปฏิบัติตามมติกรรมการชุดดังกล่าว จนทางอุเทนถวาย เห็นว่า คำวินิจฉัยกรรมการนี้ไม่ถูกต้อง จึงมาฟ้องต่อศาลปกครองเมื่อปี ๒๕๕๖ โดยอุเทนถวายเป็นผู้ฟ้องคณะกรรมการชี้ขาดฯพ่วงฟ้องจุฬาลงกรณ์ฯ โดยต้องการให้ศาลเพิกถอนคำวินิจฉัยกรรมการชุดนี้อย่างไรก็ตาม เมื่อศาลปกครองพิจารณาก็ยกฟ้อง เพราะเห็นว่าคำวินิจฉัยนั้นถูกต้องแล้ว โดยดูจากข้ออ้าง ข้อถกเถียงต่างๆ เช่น ข้อที่อ้างว่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีการพระราชทานให้อุเทนถวายเมื่อ ปี ๒๔๖๖ แต่ศาลเห็นว่า ไม่ปรากฎหลักฐานเรื่องนี้แต่เป็นเพียงปรากฎว่า เป็นการพระราชทานเงิน ๑ หมื่นบาท เพื่อสร้างโรงงานนักเรียนเพาะช่าง ไม่ได้เห็นว่า เป็กการพระราชทานให้อุเทนถวาย ส่วนเหตุผลอื่นๆ เห็นว่า มีการโอนทรัพย์สินให้กับจุฬาลงกรณ์ฯ ในปี ๒๔๘๒ และเหตุผลที่ ๓ ซึ่งฟังได้ว่า คู่กรณี มีการตกลงกันเมื่อ ๒๕๔๗ ว่า ทางอุเทนถวายจะย้ายออกจากพื้นที่ภายในปี ๔๘ ถ้าจำเป็นก็ขยายเวลาได้ แล้วก็จ่ายตอบแทนปีละ ๑,๑๔๐,๙๐๐ บาทดังนั้น เรื่องนี้ ศาลปกครองจึงยกฟ้อง เพราะพิจารณาแล้วเห็นว่า คำวินฉัยของกรรมการชี้ขาดฯ นั้นชอบแล้ว ผลของเรื่องนี้ศาลไม่ได้ออกข้อบังคับ แค่ยืนยันคำวินิจฉัยของคณะกรรมการชี้ขาดแล้วและศาลเห็นด้วย ส่วนจุฬาฯจะมาร้องขอให้ศาลบังคับไม่ได้ เพราะตามกฎหมายศาลทำไม่ได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ทุกอย่างต้องเดินหน้าตามนี้ เพราะทุกอย่างอยู่ที่นโยบายของรัฐบาล และการตกลงกันของทั้งจุฬาลงกรณ์ และอุเทนถวาย ดังนั้นคำถามที่ว่า ขอให้ศาลบังคับให้เป็นไปตามคำสั่งหรือไม่ ก็ต้องตอบว่า ไม่มี และสั่งไม่ได้