Thursday, 19 December 2024

๑๐ วัฒนธรรมเป็นพิษ ซ้ำคอร์รัปชันลุกลาม

“๑๐ วัฒนธรรมเป็นพิษ (Toxic Culture) ที่ซ้ำเติมให้ “คอร์รัปชัน” ลุกลามเกินเยียวยา ด็อกเตอร์มานะ นิมิตมงคล เลขาธิการ องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) บอกว่า อันดับหนึ่งคือ “ยกย่องคนรวย”…คนมีอำนาจ อิทธิพล“กราบไหว้ยกย่องแม้รู้ว่าเขามีชื่อเสียง ร่ำรวย มีตำแหน่งใหญ่โตได้เพราะคดโกง เอารัดเอาเปรียบสังคม เช่น สว.รายหนึ่งอุปถัมภ์กิ๊ก อีกรายหนึ่งพัวพันเครือข่ายอาชญากรรมข้ามชาติ” ด็อกเตอร์มานะ นิมิตมงคลถัดมา… “เพื่อนช่วยเพื่อน” คนรู้จัก เพื่อนร่วมงาน ผู้ใหญ่ฝากมา คนสีเดียวกัน เมื่อมีปัญหาถูกผิดต้องดูแลกัน ทำให้คนโกงมากมายหลุดคดีหรือคดีล่าช้า เช่นกรณีบอสกระทิงแดง ทั้งที่ต่างรู้ดีว่าการใช้ตำแหน่งหน้าที่หรือเอาของหลวงมาช่วยเหลือกันเป็นเรื่องผิด แล้วสักวันจะพากันติดคุกสาม… “เกรงใจ” แม้รู้ว่าผิดก็หยวนยอมกัน ปล่อยให้ทำหรืออนุมัติเรื่องให้ กลัวเขาหาว่าไร้น้ำใจ แทนที่จะตรงไปตรงมากับเรื่องของส่วนรวม สุดท้ายคือผิดทั้งคนขอและคนชอบเกรงใจ เช่น อนุมัติให้เบิกเงินเกินจริง เอารถหลวงไปใช้ที่บ้านสี่… “อ้างความลับราชการ” ความมั่นคงของชาติแม้กระทั่งเรื่องที่แอบไปเซ็นสัญญากับเอกชนทั้งที่ใช้เงินภาษีประชาชนไปจ้างไปซื้อของเขา เช่น สัญญาสัมปทานรถไฟฟ้า บ้างก็อ้างว่าต้องเป็นหน่วยงานรัฐเท่านั้นจึงขอข้อมูลได้ มายุคนี้ง่ายขึ้นอีกคืออ้างเป็นข้อมูลผู้ป่วยหรือข้อมูลส่วนบุคคล เช่น การเปิดเผยข้อมูลคดีของ ป.ป.ช.ห้า… “งานใครงานมัน” แต่ละหน่วยงานมีกฎหมาย อำนาจบทบาท เป้าหมายและผลงานที่ต้องทำ มีสายบังคับบัญชาที่แยกจากกัน ทำให้ต่างคนต่างอยู่รับรู้ต่างกัน เมื่อมีปัญหาจึงโยนเรื่องกันไปมา สุดท้าย…อำนาจและผลประโยชน์แอบแฝงของใครบางคนจึงอยู่เหนือเป้าหมายเพื่อส่วนรวม เช่น กรณีแอชตันคอนโดย่านอโศก คดีหมูแช่แข็งเถื่อนที่พัวพันทั้งคนในกรมปศุสัตว์ กรมประมง กรมศุลกากรหก…“สักแต่ว่าทำ” ใครให้ทำอะไรก็ทำ รางวัลก็ได้ มีครบหมดตามนโยบายและ KPI ฟังดูน่าจะดี แต่ไม่รู้ว่าทำต่อเนื่อง ทำทั่วถึงไหม ประชาชนได้ประโยชน์จริงหรือเปล่า…ชวนให้คิดไปว่าหลายหน่วยงานแค่ทำเอาหน้าเอาผลงาน ไม่อย่างนั้นบ้านเมืองคงเจริญไปไกลกว่านี้ เช่น กรณีส่วยสินบนกรมอุทยานฯ การประเมิน ITA การทำ e-Serviceเจ็ด…“แถ” ด้วยคำพูดดูเท่เพราะไม่มีเหตุผลดีพออธิบายได้ โดยไม่ยี่หระว่าใครจะเชื่อหรือไม่ เช่น น้ำรอระบาย มันคือแป้ง นาฬิกายืมเพื่อน บ่อยครั้งสังคมก็จำยอมหรืองุนงงแล้วหยุดวิจารณ์ คนพวกนี้ไม่รู้จักละอายยังคงทำเลียนแบบกันหัวยันหาง ทุกองค์กร จนสังคมเอือมระอาแปด…“ถูกระเบียบ เป็นไปตามขั้นตอน” เพียงอ้างแค่นี้แล้วเชิดหน้าสบายใจ ทั้งที่รู้ว่าเบื้องหลังวางแผนชั่วกันมา เหมือนบอกชาวบ้านว่า “จับไม่ได้ แปลว่าไม่โกง” อย่าง…เสาไฟกินรี ศูนย์โอทอปร้าง โครงการประเภท “คิด-ทำ-ทิ้ง” จึงผลาญเงินภาษีเต็มทั่วแผ่นดินเก้า…“ใช้ดุลพินิจพร่ำเพรื่อ” ของเจ้าหน้าที่เพราะกฎหมายเปิดช่องไว้มากมาย โดยไม่มีกฎกติกากำหนดแนวปฏิบัติให้ชัดเจนว่า อะไรทำได้แค่ไหน เงื่อนไขอย่างไร อะไรต้องห้าม คนมีอำนาจจึงฉวยโอกาส เช่น สินบนแลกใบอนุญาตสร้างบ้าน สร้างโรงงาน สิบ…“คนผิดลอยนวล” แม้ใช้เงินใช้อำนาจผิดๆจนบ้านเมืองเสียหายก็ไม่มีใครต้องรับผิด ทั้งโกงกิน ซื้อของแพง ใช้งานไม่ได้ ใช้ไม่คุ้มค่า อย่างการจัดซื้อเรือเหาะ เครื่องตรวจจับระเบิด GT-๒๐๐ การก่อสร้างพิพิธภัณฑ์หอยสังข์ที่สงขลา นักการเมืองรุกที่ดินการรถไฟที่บุรีรัมย์ เป็นต้นตัวอย่างวัฒนธรรมเป็นพิษเหล่านี้ทำให้บ้านเมืองอ่อนแอเต็มไปด้วยคอร์รัปชัน หากไม่แก้…ไม่ก้าวข้าม อนาคตคนไทยก็ติดอยู่ในกับดักเช่นทุกวันนี้…“สังคมไทย” ต้องการผู้นำประเทศที่เป็นแบบอย่างสร้างการเปลี่ยนแปลง (Leader Lead Culture) แต่ไม่รู้ว่าชาตินี้จะมีอัศวินขี่ม้าขาวไหม?“ทางเดียวมั่นใจได้ คือคนไทยต้องใช้กระแสสังคมกดดันให้เกิดบรรทัดฐานใหม่ ให้รู้ว่าเราต้องการอย่างไร รังเกียจคนและพฤติกรรมเช่นไร”หลายปีมาแล้ว ด็อกเตอร์มานะ เขียนถึงเรื่อง “ทำไมเจ้าหน้าที่รัฐจึงไม่ชอบการเปิดเผยข้อมูล” บอกว่า “ความรู้” คือกุญแจสู่ความสำเร็จ ขณะที่ “ความลับ” คือกุญแจที่ทำให้คนโกง โกงสำเร็จและไม่มีใครจับได้“เรื่องแปลกคือทุกวันนี้นักการเมืองและข้าราชการจำนวนมากชอบกล่าวอ้างว่า ตนเองนั้นซื่อสัตย์ ทำงานโปร่งใส แต่เอาเข้าจริงกลับไม่ยอมเปิดเผยข้อมูลให้สาธารณชนรับรู้ว่าทำอะไร ใช้งบประมาณไปเท่าไหร่ รายละเอียดอย่างไร แบบนี้ควรเรียกว่าปิดลับหรือโปร่งใสกันแน่” คำถามสำคัญมีว่า… “คนไทยได้อะไร” หากหน่วยราชการเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใส?คำตอบคือ…การเปิดเผยข้อมูลทำให้คนไทยมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น เสนอแนะ ตรวจสอบและกำกับดูแลการทำงานของรัฐ ข้อมูลที่เชื่อถือได้เหล่านั้นยังอาจถูกใช้ในการวางแผนที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนและครอบครัว เช่นเรื่องเกี่ยวกับการศึกษา การค้าขาย ซึ่งนำไปสู่ความเชื่อมั่นและความร่วมมือที่ดี“การเปิดเผยทำให้หน่วยงานรัฐต้องพัฒนาการให้บริการประชาชน การปฏิบัติหน้าที่และการบริหารราชการ อย่างมีระเบียบ…วินัย ด้วยความโปร่งใส…รับผิดชอบ”ข้อมูลที่มีอยู่จำนวนมากในระบบ อาจถูกนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ การค้า …การลงทุนและเทคโนโลยีได้โดยหน่วยงานอื่นของรัฐ ชุมชนและเอกชน ประเด็นสำคัญ…ผลประโยชน์ส่วนรวมได้รับการป้องกันจากคอร์รัปชัน ความไม่เป็นธรรมและการเอารัดเอาเปรียบถามต่อไปอีกว่า แล้วทำไมไม่ยอมเปิดเผย คำตอบก็อาจจะประมาณว่า…เจ้าหน้าที่ของรัฐจงใจปกปิดข้อมูล อาจเป็นเพราะ…ต้องการปกปิดความผิดที่ตนและพรรคพวกได้ทำลงไปหรือกำลังจะทำ…ไม่แน่ใจว่างานที่พวกตนรับผิดชอบมีข้อบกพร่องหรือไม่ จึงไม่อยากมีภาระต้องชี้แจงในวันข้างหน้าหรือไม่ก็มาจาก…ทัศนคติหัวโบราณของเจ้าหน้าที่ เช่น ไม่เห็นความสำคัญ ไม่ใช่เรื่องจำเป็นที่ประชาชนต้องรู้ ความเคยชินที่เคยอะไรง่ายๆมานาน ดังสะท้อนจากคำพูดที่ว่า “ให้แค่นั้นพอแล้ว” “บ่อยครั้งพบว่า เจ้าหน้าที่จำต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์หรือนโยบายของหน่วยงานและผู้บังคับบัญชา แม้จะรู้ว่ากฎหมายหรือนโยบายรัฐเปลี่ยนไปแล้ว…”อีกทั้งกฎหมายขัดหรือแย้งกัน เจ้าหน้าที่จึงเลือกทำสิ่งที่ง่ายหรือปลอดภัยกว่า เช่น ข้อมูลการจัดซื้อฯที่ต้องเปิดเผย พระราชบัญญัติจัดซื้อจัดจ้างฯ จะเข้มงวดน้อยกว่า พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารฯรวมถึง…ไม่มีนโยบายที่เด็ดขาดชัดเจนของรัฐ ถึงแนวทางการเปิดเผยข้อมูล บทลงโทษผู้ฝ่าฝืนปกปิดข้อมูลและการปกป้องผู้เปิดเผยข้อมูล ทำให้เจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่เลือกที่จะปกปิดข้อมูลไว้ก่อน เพื่อความปลอดภัยของตนเองและระบบงานหรือระบบสารสนเทศเป็นอุปสรรค เช่น ความไม่พร้อมของระบบจัดเก็บ ขั้นตอนปฏิบัติงาน ขาดการจำแนก สะสางและวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเหมาะสมเป็นระยะ“ความโปร่งใส…ต้องเปิดเผยให้คนทั่วไปรู้เห็น พร้อมจะชี้แจงด้วยความรับผิดชอบ เพื่อให้ทุกฝ่ายสบายใจ ไม่ต้องกลัวการกล่าวหา ไม่ต้องกลัวใคร…คอร์รัปชัน” ด็อกเตอร์มานะ กล่าวทิ้งท้าย.คลิกอ่านคอลัมน์ “สกู๊ปหน้า ๑” เพิ่มเติม