Thursday, 14 November 2024

รู้จัก ‘ซุปเปอร์ ทิวส์เดย์’ ศึกเลือกตั้งขั้นต้นในสหรัฐฯ

ศึกซุปเปอร์ ทิวส์เดย์ ถือเป็นวันเลือกตั้งขั้นต้นสำคัญที่สุดของกระบวนการเลือกตั้งประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐฯ เพราะผลเลือกตั้งที่ออกมาจะบ่งชี้ว่าผู้สมัครคนใดมีแนวโน้มจะได้เป็นตัวแทนของพรรคไปชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ‘ทรัมป์-ไบเดน’ กวาดชัยชนะในการเลือกตั้งขั้นต้น ‘ซุปเปอร์ ทิวส์เดย์’ ซึ่งจัดขึ้นใน ๑๕ รัฐและ ๑ ดินแดน คือเขตปกครองอเมริกันซามัว จนทำให้สอง‘สิงห์เฒ่า’มีโอกาสที่จะโคจรมาเจอกันอีกครั้ง ในนัดชิงประธานาธิบดีสหรัฐฯ ๒๐๒๔การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ซึ่งจัดขึ้นทุกๆ ๔ ปี ถือเป็นการเลือกตั้งที่มีความซับซ้อน กว่าเลือกตั้งทั่วไปในหลายๆ ประเทศบนโลกใบนี้ เลือกตั้งประธานาธิบดีแบบทางอ้อมการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ เป็นการเลือกตั้งทางอ้อม โดยผู้สมัครของพรรคการเมืองจะต้องฝ่าด่านการเลือกตั้งขั้นต้นเสียก่อน จึงจะได้เป็นตัวแทนของพรรค ไปลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนใหม่ ที่จะมีขึ้นในวันอังคาร หลังวันจันทร์แรกของเดือนพฤศจิกายน ในปีที่มีการเลือกตั้งนอกจากนั้น ระบบเลือกตั้งขั้นต้นที่พรรคการเมืองในสหรัฐฯ ใช้ในการเฟ้นหาตัวแทนที่จะได้ไปชิงตำแหน่งประธานาธิบดีคนใหม่นั้น ก็มีสองระบบ คือ ระบบเลือกตั้ง Primary (ไพรมารี) และระบบเลือกตั้งแบบการประชุมคอคัส (Caucus)  ระบบเลือกตั้งไพรมารีเป็นระบบเลือกตั้งขั้นต้นที่นิยมใช้ในหลายรัฐ โดยเป็นการให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ลงทะเบียนกับพรรคการเมือง ออกมาลงคะแนนเสียง (เหมือนการเลือกตั้งทั่วไป) และหากผู้สมัครคนใดชนะ ก็จะได้คะแนนคณะผู้แทนเลือกตั้งของรัฐนั้น ที่จะต้องไปเลือกผู้สมัครของพรรคที่จะได้ชิงตำแหน่งประธานาธิบดีระบบเลือกตั้งแบบการประชุมคอคัสเป็นการเลือกตั้งขั้นต้นแบบดั้งเดิม ขณะนี้ มีเพียงไม่กี่รัฐ จาก ๕๐ รัฐในสหรัฐอเมริกา ที่ใช้การเลือกตั้งขั้นต้นแบบการประชุมคอคัส ซึ่งเป็นการประชุมของบรรดาแกนนำและสมาชิกพรรค ตามสถานที่ที่นัดหมายกันไว้ อย่างเช่น โรงเรียน หรือหอประชุม เพื่ออธิบายเกี่ยวกับผู้สมัครที่จะเป็นตัวแทนพรรคชิงตำแหน่งประธานาธิบดี จากนั้นก็จะมีการลงคะแนน และผู้สมัครที่ได้คะแนนโหวตสูงสุดจะได้จำนวนคณะผู้แทนเลือกตั้งของรัฐนั้นไปครอง ซุปเปอร์ ทิวส์เดย์ (Super Tuesday) คืออะไร?การเลือกตั้งขั้นต้นซุปเปอร์ ทิวส์เดย์ ถือเป็นวันเลือกตั้งขั้นต้นครั้งใหญ่ที่สุด และมีความสำคัญมากที่สุด เนื่องจากเป็นการเลือกคณะผู้แทนเลือกตั้งของแต่ละพรรคภายในวันเดียว หรือถึง ๑ ใน ๓ จากทั่วประเทศ หลังจากทั้งพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครต สองพรรคการเมืองหลัก ได้จัดเลือกตั้งขั้นต้นกันมาแล้วหลายรัฐตั้งแต่เดือนมกราคม และกุมภาพันธ์ ที่ผ่านมาศึกเลือกตั้งขั้นต้น ซุปเปอร์ ทิวส์เดย์ ครั้งนี้ มีขึ้นวันที่ ๕ มีนาคม ๒๐๒๔ เป็นการเลือกตั้งขั้นต้นใน ๑๕ รัฐและหนึ่งดินแดนหนึ่งของสหรัฐอเมริกา (รวมทั้งสองรัฐที่มีประชากรมากที่สุดในสหรัฐฯ คือ แคลิฟอร์เนีย และเท็กซัส) ประกอบด้วย รัฐแอละบามา อะแลสกา อาร์คันซอ แคลิฟอร์เนีย โคโลราโด เมน แมสซาชูเซตส์ มินนิโซตา นอร์ทแคโรไลนา โอกลาโฮมา เทนเนสซี เท็กซัส ยูทาห์ เวอร์มอนต์ และเวอร์จิเนีย และอเมริกันซามัว (Samoa) ซึ่งเป็นดินแดนหนึ่งของสหรัฐอเมริกาการเลือกตั้งซุปเปอร์ ทิวส์เดย์ ของพรรครีพับลิกันเป็นการเลือกตั้งขั้นต้นไพรมารี ๑๓ รัฐ และเลือกตั้งขั้นต้น ระบบประชุมคอคัส ๒ รัฐ คือ อะแลสกา และยูทาห์ ส่วนพรรคเดโมแครต จัดเลือกตั้งไพรมารี ๑๔ รัฐ และเลือกแบบประชุมคอคัส ที่เขตปกครอง ‘อเมริกันซามัว’โดยศึกซุปเปอร์ ทิวส์เดย์ สำหรับพรรครีพับลิกันจะได้คะแนนคณะผู้แทนระดับรัฐ ๘๖๕ เสียง จาก ๒,๔๒๙ เสียง ซึ่งผู้สมัครที่จะได้เป็นตัวแทนพรรครีพับลิกันลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดี จะต้องได้คะแนนคณะผู้แทนเลือกตั้งระดับรัฐ ๑,๒๑๕ เสียง จาก ๒,๔๒๙ เสียง โดนัลด์ ทรัมป์ กวาดชัยเลือกตั้งขั้นต้น ศึกซุปเปอร์ ทิวส์เดย์ทรัมป์-ไบเดนกวาดชัยซุปเปอร์ ทิวส์เดย์การเลือกตั้งขั้นต้นของพรรครีพับลิกัน เป็นการขับเคี่ยวกัน ระหว่าง โดนัลด์ ทรัมป์ อดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ วัย ๗๗ ปี กับ นิกกี้ เฮลีย์  นักการเมือง และอดีตเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำสหประชาชาติ วัย ๕๒ ปีผลการเลือกตั้งขั้นต้น ซุปเปอร์ ทิวส์เดย์ ที่ออกมาแล้ว ปรากฏว่า ทรัมป์คว้าชัยชนะครั้งใหญ่ โดยกวาดชัยเกือบทั้งหมด ยกเว้นที่รัฐเวอร์มอนต์ ซึ่งนิกกี้ เฮลีย์ ชนะในรัฐนี้ศึกเลือกตั้งซุปเปอร์ ทิวส์เดย์ ทำให้ทรัมป์ ได้คะแนนคณะผู้แทนเลือกตั้ง รวมแล้ว ๘๙๓ เสียง หรือ ๙๒% จากผลการเลือกตั้งขั้นต้นที่พรรครีพับลิกันจัดขึ้นไปแล้ว และกำลังจะขยับไปถึง ๑,๒๑๕ เสียง ซึ่งเป็นคะแนนเสียงที่จำเป็นสำหรับผู้ที่จะได้เป็นตัวแทนพรรครีพับลิกันไปชิงตำแหน่งประธานาธิบดีขณะที่ นิกกี้ เฮลีย์ ซึ่งได้ชัยชนะในรัฐเวอร์มอนต์เพียงรัฐเดียว ในศึกซุปเปอร์ ทิวส์เดย์ ตัดสินใจจะประกาศถอนตัวจากการเป็นผู้สมัครเป็นตัวแทนพรรครีพับลิกันแล้ว ประธานาธิบดีโจ ไบเดนแห่งสหรัฐฯส่วน โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนปัจจุบัน จากพรรคเดโมแครต ก็กวาดชัยชนะในศึกซุปเปอร์ ทิวส์เดย์ กวาดชัยชนะได้ทั้ง ๑๕ รัฐ ยกเว้นเขตปกครองอเมริกันซามัวหลังการเลือกตั้งขั้นต้นเสร็จแล้ว พรรครีพับลิกันและเดโมแครตก็จะมีการประชุมใหญ่ ที่เรียกวา ‘National Convention’ (การประชุมใหญ่แห่งชาติ) ในเดือนกรกฎาคม ๒๐๒๔ เพื่อให้คณะผู้แทนเลือกตั้งของพรรคนั้น เลือกผู้แทนของพรรคไปชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ  จากนั้น ชาวอเมริกันทุกรัฐทั่วประเทศจะถึงวันลงคะแนนเสียงเลือกผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดี ในวันที่ ๕ พ.ย. ๒๐๒๔ แต่จริงๆ แล้วชาวอเมริกันกำลังลงคะแนนเสียงให้บุคคลกลุ่มหนึ่งที่เรียกว่า “ผู้เลือกตั้งประธานาธิบดี”เพราะคณะผู้เลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ หรือตัวแทนจากแต่ละรัฐ (ซึ่งจะมีจำนวนเป็นสัดส่วนกับจำนวนประชากรของรัฐ) จะทำหน้าที่ลงคะแนนเลือกตั้งประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะสาบานตนเข้ารับตำแหน่งในเดือนมกราคม ๒๐๒๕ผู้เขียน: อรัญญา ศรีจันทรนิตย์ที่มา : CBS, AP