Tuesday, 19 November 2024

เปิด “สระบุรีแซนด์บ็อกซ์” เป็นต้นแบบ “ธนาคารขยะ”

ประเทศไทยประกาศเจตนารมณ์การแก้ไขปัญหาภูมิอากาศ เพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี ค.ศ.๒๐๕๐ และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้ในปี ค.ศ.๒๐๖๕พร้อมเปิดเมืองต้นแบบคาร์บอนต่ำ “สระบุรีแซนด์บ็อกซ์” เป็นโมเดลแห่งแรกในการแก้ปัญหาโลกร้อนและปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์ รวมถึงจัดการของเสียลดปริมาณขยะ นายบัญชา เชาวรินทร์ ผวจ.สระบุรีนายบัญชา เชาวรินทร์ ผวจ.สระบุรี ร่วมกับ ๑๘ หน่วยงาน ภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคีเครือข่าย และสมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย (TCMA) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือขับเคลื่อน จ.สระบุรี สู่เมืองคาร์บอนต่ำ ด้านการจัดการของเสีย “PPP-Saraburi Sandbox : Waste to Value”พร้อมคิกออฟการขับเคลื่อน ธนาคารขยะ (Recyclable Waste Bank) ของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จ.สระบุรี ณ หอประชุมจังหวัดสระบุรีนายบัญชา เปิดเผยว่า พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือและภาคีเครือข่ายจำนวน ๑๘ หน่วยงาน อาทิ สนง.ส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น สนง.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด สมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย สภาอุตสาหกรรม นับเป็นก้าวที่สำคัญของโครงการ และเป็น ๑ ใน ๕ ด้านหลักในการพลิกโฉม จ.สระบุรี สู่เมืองคาร์บอนต่ำ ด็อกเตอร์ชนะ ภูมี นายกสมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย (TCMA) อธิบายเทคโนโลยีการจัดการวัสดุที่ไม่ใช้แล้วด้วยการนำเข้าสู่กระบวนการเผาร่วมในเตาเผาปูนซีเมนต์.ความคืบหน้าด้านการจัดการของเสียดำเนินการไปอย่างเป็นรูปธรรมผ่านคณะทำงานที่จัดตั้งขึ้น พร้อมเปิดตัวต้นแบบธนาคารขยะทั้ง ๑๐ แห่ง เพื่อนำแนวทางการปฏิบัติของธนาคารขยะต้นแบบต่อยอดขยายผลต่อไปธนาคารขยะจะทำหน้าที่สนับสนุนให้ประชาชนคัดแยกขยะรีไซเคิลในครัวเรือน และสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำแนวคิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนมาใช้จัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย ภายใต้หลักการ ๓R คือ ใช้น้อย (Reduce) ใช้ซ้ำ (Re-use) และนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle)รวมทั้งรณรงค์สร้างความรู้และความเข้าใจ สร้างจิตสำนึกให้ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมกันลดปริมาณขยะมูลฝอยในพื้นที่ และคัดแยกขยะที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่นำไปขายสร้างรายได้เข้าชุมชนนอกจากนี้ยังเป็นการลดภาระงบประมาณการจัดเก็บและขนย้ายขยะมูลฝอยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอีกด้วย“มั่นใจว่าถ้าทุกคนร่วมมือร่วมใจกัน ไม่มีอะไรที่ไม่สำเร็จ โดยกลไกสำคัญหลักมาจากภาคเอกชน ส่วนภาครัฐมีหน้าที่สนับสนุนให้ทุกอย่างสามารถดำเนินการต่อไปได้ โดย PPP-Saraburi Sandbox นับว่าประสบความสำเร็จด้านสร้างการรับรู้ อยากให้โมเดลนี้ขยายผลไปยังจังหวัดอื่นๆต่อไป” นายบัญชา กล่าว ด็อกเตอร์ชนะ ภูมี นายกสมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย (TCMA)ด้าน ด็อกเตอร์ชนะ ภูมี นายกสมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย (TCMA) กล่าวว่า TCMA ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อน “PPP-Saraburi Sandbox” เป็นการพัฒนารูปแบบความร่วมมือทำงานในเชิงพื้นที่ เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมกันทำงานและแก้ไขปัญหาร่วมกัน เพื่อขับเคลื่อนจังหวัดสระบุรีเปลี่ยนผ่านสู่เมืองคาร์บอนต่ำอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์พร้อมนำจุดแข็งด้านเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการจัดการวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ด้วยการนำเข้าสู่กระบวนการเผาร่วมในเตาเผาปูนซีเมนต์ มีอุณหภูมิสูงถึง ๑,๔๕๐ องศาเซลเซียส เป็นอีกวิธีการกำจัดของเสียแบบยั่งยืนที่มีความปลอดภัย และดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ จ.สระบุรี รวมพลัง ๑๘ หน่วยงาน ร่วมมือพลิกโฉม จ.สระบุรี สู่เมืองคาร์บอนต่ำ รณรงค์สร้างความรู้และความเข้าใจ ปลุกจิตสำนึกให้ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมกันลดปริมาณขยะมูลฝอย และคัดแยกขยะนำกลับมาใช้ใหม่ รวมทั้งนำไปขายสร้างรายได้เข้าชุมชน.“การจัดการวัสดุที่ไม่ใช้แล้วมาเป็นวัตถุดิบทดแทนหรือใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทน เป็นการจัดการขยะที่ผ่านการคัดแยกตั้งแต่ต้นทาง นำมาเพิ่มมูลค่าใหม่ในรูปของผลิตภัณฑ์หรือของใช้ เช่น ฟางข้าว แกลบขี้เลื่อย ตอซังข้าวโพด นํามาใช้เป็นพลังงานแปรเป็นมูลค่าได้ ช่วยลดปัญหาขยะ และยังเพิ่มรายได้ให้กับชุมชน ที่จะนำไปสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน ทั้งในระดับจังหวัดและระดับประเทศ” ด็อกเตอร์ชนะ กล่าวการจัดการวัสดุที่ไม่ใช้แล้วอย่างมีประสิทธิภาพด้วยการคัดแยกขยะต้นทาง ๑๐๐% จะประสบความสำเร็จได้จากการร่วมแรงร่วมใจในทุกระดับ จะนำไปสู่เมืองคาร์บอนต่ำ ลดก๊าซเรือนกระจกอย่างเป็นรูปธรรม.สุวัฒน์ พุฒิสกุลวงศ์อ่าน “คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ” ทั้งหมดที่นี่