Friday, 20 September 2024

เผยแผนที่ฝุ่น ๓ มิติ ในระยะ ๓,๐๐๐ ปีแสง

ฝุ่นระหว่างดวงดาว (interstellar dust) คิดเป็น ๑% ของมวลของ “ตัวกลางระหว่างดวงดาว” (Interstellar medium) สะท้อนแสงดาว ๓๐% ในช่วงความยาวคลื่นอินฟราเรด ฝุ่นนับว่ามีบทบาทสำคัญในการก่อตัวของดาวฤกษ์และวิวัฒนาการของกาแล็กซี ซึ่งทีมนักดาราศาสตร์นำโดยนักดาราศาสตร์จากสถาบันมักซ์ พลังค์ สาขาฟิสิกส์ดาราศาสตร์ในเยอรมนี ได้พยายามสร้างแผนที่ฝุ่นและ เผยแพร่แผนที่ฝุ่น ๓ มิติชุดแรกในกาแล็กซีทางช้างเผือกของเรา เป็นแผนที่ฝุ่น ๓ มิติในระยะทาง ๓,๐๐๐ ปีแสงนักดาราศาสตร์เผยว่า การแตกกระเจิงและการดูดกลืนแสงดาวโดยอนุภาคฝุ่น ทำให้นักดาราศาสตร์สามารถสำรวจเมฆฝุ่นในแบบ ๓ มิติได้ โดยแผนที่ฝุ่น ๓ มิตินี้ ได้เจาะลึกเข้าไปในอวกาศด้วยความละเอียดที่มากขึ้นกว่าที่เคยทำมา เทคนิคการประมวลผลช่วยให้ทีมนักดาราศาสตร์สามารถตรวจสอบการกระจายของฝุ่นที่เกินกว่า ๑ กิโลพาร์เซก ในขณะเดียวกันก็แก้ไขข้อมูลเมฆฝุ่นในบริเวณใกล้เคียงด้วยความแม่นยำระดับพาร์เซกด้วย ซึ่งพาร์เซก (PARSEC) เป็นระยะทางจากดวงอาทิตย์ถึงวัตถุทางดาราศาสตร์ เช่น ดาวฤกษ์นอกระบบสุริยะแผนที่ฝุ่นนี้แสดงความละเอียดได้ไกล ๑.๒๕ กิโลพาร์เซก และผลลัพธ์ก็สอดคล้องกับการศึกษาก่อนหน้านี้ รวมถึงแผนที่ฝุ่น ๓ มิติที่มีอยู่ แต่แผนที่ใหม่มีความน่าพึงพอใจยิ่งกว่า เนื่องจากพัฒนาพื้นที่ครอบคลุมมากขึ้น มีความละเอียดเชิงพื้นที่ที่สูงขึ้นกว่าเดิม.Credit : arXiv (๒๐๒๓). DOI: ๑๐.๔๘๕๕๐/arxiv.๒๓๐๘.๐๑๒๙๕อ่าน “คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ” ทั้งหมดที่นี่