Sunday, 19 January 2025

ครบ ๑๐ ปี MH๓๗๐ หายปริศนา ครอบครัวเหยื่อยังหวังได้รับคำตอบ

เหตุการณ์หายสาบสูญอย่างลึกลับของเที่ยวบิน MH๓๗๐ ผ่านมาครบ ๑๐ ปีแล้ว และยังไม่มีใครสามารถตอบได้ว่า เกิดอะไรขึ้นกับเครื่องบินลำนี้กันแน่ตลอดช่วง ๑๐ ปีที่ผ่านมา ความพยายามหาเบาะแสของ MH๓๗๐ ล้วนไม่ประสบความสำเร็จ ไม่พบทั้งจุดตก หรือร่างผู้สูญหายแม้แต่รายเดียวแต่รัฐบาลมาเลเซียเตรียมผลักดันให้เกิดปฏิบัติการค้นหาอีกครั้ง โดยที่ครอบครัวของผู้สูญหายยังคงหวังว่า สักวันหนึ่งจะได้รับคำตอบว่า เกิดอะไรขึ้นกับบุคคลอันเป็นที่รักของพวกเขาครบ ๑๐ ปีแล้ว ที่เครื่องบินโดยสารเที่ยวบินที่ MH ๓๗๐ ของสายการบินมาเลเซีย แอร์ไลน์ส หายไปจากจอเรดาร์ เหนือมหาสมุทรอินเดีย เมื่อวันที่ ๘ มี.ค. ๒๕๕๗ และจนถึงทุกวันนี้ มันยังคงเป็นหนึ่งในปริศนาทางการบินที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลกไม่มีใครเชื่อว่า เครื่องบินที่ทันสมัยอย่าง โบอิ้ง ๗๗๗-๒๐๐ER จะหายไปพร้อมกับผู้โดยสารและลูกเรือ ๒๓๙ ชีวิตบนเครื่อง โดยไม่มีคำอธิบายใดๆ แต่ปฏิบัติการค้นหาหลายต่อหลายครั้งตลอด ๑๐ ปีที่ผ่านมา ยังคงไม่พบชิ้นส่วนหลักของเครื่องบิน หรือร่างของผู้เคราะห์ร้ายแม้แต่รายเดียวในพิธีรำลึกโศกนาฏกรรม MH๓๗๐ เมื่อช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมของมาเลเซีย ประกาศว่า กำลังผลักดันให้เกิดการค้นหาอีกครั้ง เพื่อไขปริศนาการหายไปของเครื่องบินลำนี้ ขณะที่ครอบครัวของบรรดาผู้โดยสารก็ยังคงหวังว่า สักวันหนึ่งจะได้รับคำตอบว่า เกิดอะไรขึ้นกับบุคคลอันเป็นที่รักของพวกเขา การหายสาบสูญของ MH๓๗๐เที่ยวบิน MH๓๗๐ ออกเดินทางตามกำหนดการจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ของมาเลเซีย ไปยังกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน แต่ศูนย์ควบคุมการบินกลับขาดการติดต่อกับโบอิ้ง ๗๗๗ ลำนี้ ขณะบินอยู่เหนือทะเลจีนใต้ หลังจากออกเดินทางได้ราว ๖๐ นาทีการหายไปของ MH๓๗๐ ทำให้เกิดความพยายามตามรอยครั้งใหญ่ ด้วยเรดาร์ของกองทัพทั่วคาบสมุทรมลายู และพบว่าเครื่องบินลำนี้ถูกตรวจพบเป็นครั้งสุดท้ายด้วยเรดาร์ในทะเลอันดามัน ทางตะวันออกเฉียงเหนือของมหาสมุทรอินเดียจากนั้นเจ้าหน้าที่ใช้ข้อมูลจากการสื่อสารอัตโนมัติผ่านทางดาวเทียม ระหว่าง MH๓๗๐ กับดาวเทียมโทรคมนาคม ‘อินมาร์แซท’ (Inmarsat) ของสหราชอาณาจักร จนได้ข้อบ่งชี้ว่า จุดสุดท้ายที่โบอิ้ง ๗๗๗ ลำนี้อยู่ คือในพื้นที่ทางใต้ของมหาสมุทรอินเดีย ตามแนวเส้นโค้งที่ ๗ (๗th arc)ข้อมูลดังกล่าวกลายเป็นพื้นฐานในการระบุพื้นที่ค้นหาในเบื้องต้น ซึ่งดำเนินการโดย สำนักงานความปลอดภัยการคมนาคมทางอากาศออสเตรเลีย โดยการค้นหาทางอากาศในตอนแรก เกิดขึ้นบริเวณทะเลจีนใต้และทะเลอันดามันแต่หนึ่งในสิ่งที่เป็นปริศนามาจนถึงทุกวันนี้คือ อะไรคือสาเหตุที่ทำให้ MH๓๗๐ เปลี่ยนเส้นทางจากการบินตัดทะเลจีนใต้ไปปักกิ่ง เป็นบินวกกลับมาและไปยังมหาสมุทรอินเดีย และเครื่องบินลำนี้หายไปได้อย่างไร แผนที่การค้นหาเบื้องต้นในปี ๒๕๕๗การค้นหาไม่ประสบความสำเร็จในวันที่ ๑๘ มี.ค. ๒๕๕๗ หรือ ๑๐ วันหลังการหายไปของ MH ๓๗๐ ออสเตรเลียก็เป็นผู้นำการค้นหาในมหาสมุทรอินเดีย ร่วมกับเครื่องบินจากหลายประเทศ แต่การค้นหาที่ดำเนินต่อเนื่องจนถึงวันนี้ ๒๘ เม.ย. ๒๕๕๗ ครอบคลุมพื้นที่ ๔,๕๐๐,๐๐๐ ตำรวจกม. กลับไม่พบเศษชิ้นส่วนเครื่องบิน ที่เชื่อว่าตกลงไปในทะเลแล้วเลยการค้นหาในน้ำ ๒ จุดในมหาสมุทรอินเดีย ในพื้นที่ห่างจากรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย ๒,๘๐๐ กม. ไม่พบหลักฐานว่า สถานที่ใดเป็นจุดตกของ MH๓๗๐ แต่เจ้าหน้าที่ยังไม่ลดละความพยายาม การค้นหาดำเนินไปจนถึงวันที่ ๑๗ ม.ค. ๒๕๖๐ หรือ ๑,๐๔๖ วันนับตั้งแต่เกิดเหตุ พวกเขาจึงตัดสินใจยกเลิกภารกิจ ซึ่งต้องใช้งบประมาณถึงแต่ในเดือนมกราคมปี ๒๕๖๑ รัฐบาลมาเลเซียประกาศเริ่มการค้นหาครั้งที่ ๒ หลังต้านแรงกดดันจากครอบครัวของผู้โดยสารที่สูญหายไม่ไหว โดยจ้างบริษัท ‘โอเชียน อินฟินิตี’ (Ocean Infinity) ของสหรัฐฯ ออกค้นหาใต้ทะเล แต่ปฏิบัติการดำเนินไปได้เพียง ๓ เดือนเท่านั้นก็ถูกระงับ โดยค้นหาครอบคลุมพื้นที่ราว ๑๑๒,๐๐๐ ตำรวจกม. แต่ไม่พบชิ้นส่วนใดๆพบเบาะแสเพียงเล็กน้อยปฏิบัติการค้นหาทั้ง ๒ ครั้งไม่สามารถระบุจุดตกของโบอิ้ง ๗๗๗ ลำนี้ได้ แต่ตลอดหลายปีหลังเกิดเหตุ มีเศษชิ้นส่วนหลายชิ้นกว่า ๒๐ ชิ้น ที่เชื่อว่ามาจาก MH๓๗๐ ถูกคลื่นซัดไปเกยชายหาดตามแนวชายฝั่งแผ่นดินใหญ่ของทวีปแอฟริกา, เกาะมาดากัสการ์, ประเทศมอริเชียส, เกาะเรดูนิยง และโรดริเกสในเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๘ เจ้าหน้าที่สืบสวนยืนยันว่า ชิ้นส่วนขนาดใหญ่ที่ถูกซัดเกยหาดเกาะเรอูนิยง ในมหาสมุทรอินเดีย คือ flaperon หรือชิ้นส่วนบริเวณปีก ทำหน้าที่สร้างแรงยกระหว่างเครื่องขึ้นและลง จากเครื่อง MH๓๗๐นอกจากนั้น ยังมีชิ้นส่วนอีก ๒ ชิ้นที่ได้รับการยืนยันว่ามาจาก MH๓๗๐ ได้แก่ชิ้นส่วนส่วนรูปสามเหลี่ยม ทำจากไฟเบอร์กลาสผสมอะลูมิเนียม ซึ่งมีคำว่า “ห้ามเหยียบ” ติดอยู่ ถูกพบที่ชายหาดของโมซัมบิกในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ และอีกชิ้นคือ ชิ้นส่วนปีก ซึ่งถูกซัดเกยหาดเกาะแทสมาเนียนในเดือนกันยายน ๒๕๕๙ เศษชิ้นส่วนที่เชื่อว่ามาจาก MH๓๗๐ ถูกนำมาจัดแสดงในเมืองซูบัง จายา ของมาเลเซีย เพื่อรำลึกครบรอบ ๑๐ ปีการหายสาบสูญของเครื่องบินลำนี้ทฤษฎีสาเหตุการหายไปของ MH๓๗๐การหายไปของ MH๓๗๐ ทำให้เกิดการตั้งทฤษฎีมากมายเพื่อหาสาเหตุ ตั้งแต่ทฤษฎีธรรมดาไปจนถึงปลุกปั่น บางคนเชื่อว่า โบอิ้ง ๗๗๗ ลำนี้อาจเชื้อเพลิงหมดและตกทะเล ขณะที่บางทฤษฎีเชื่อว่านักบินพยายามนำเครื่องลงจอดบนผิวน้ำทะเลแต่ไม่สำเร็จ คนขับอาจเสียการควบคุม, จงใจทำเครื่องตก หรือทฤษฎีที่เครื่องบินถูกจี้กลางอากาศก็มีกว่าที่รายงานการสืบสวนอย่างเป็นทางการ ความยาว ๔๙๕ หน้า จะได้รับการเผยแพร่ออกมา ต้องรอจนถึงปี ๒๕๖๑ โดยไม่มีการสรุปอย่างชัดเจนว่าเกิดอะไรขึ้นกับเที่ยวบิน MH๓๗๐ สร้างความไม่พอใจให้แก่ครอบครัวของผู้โดยสารที่หายตัวไป ที่คาดหวังจะได้รู้บทสรุปของบุคคลอันเป็นที่รัก แม้เพียงเล็กน้อยก็ยังดีมาเลเซียเตรียมเริ่มค้นหาอีกครั้งมาเลเซียเตรียมผลักดันการค้นหา MH๓๗๐ ใหม่อีกครั้ง หลังจากได้รับข้อเสนออันน่าเหลือเชื่อ “ไม่เจอไม่คิดเงิน” จากบริษัท โอเชียน อินฟินิตี ซึ่งตีกรอบพื้นที่ค้นหาให้แคบลงให้อยู่ภายในละติจูด ๓๖ องศาใต้ ถึง ๓๓ องศาใต้ ซึ่งห่างจากเส้นโค้งที่ ๗ ลงไปทางใต้ราว ๕๐ กม. และหากการค้นหาไม่พบเศษชิ้นส่วน พวกเขาจะขยายพื้นที่ไปทางเหนือต่อ๑ ทศวรรษที่ผ่านมา เทคโนโลยีต่างๆ พัฒนาขึ้นมาก ตอนนี้ โอเชียน อินฟินิตี มีกองยานใต้น้ำอัตโนมัติที่มีกล้องถ่ายภาพความละเอียดสูงขึ้นแล้ว ขณะที่จุดที่จะทำการค้นหา มีความลึกราว ๔,๐๐๐ ม. อุณหภูมิประมาณ ๑-๒ องศาเซลเซียส และคลื่นไม่แรง หมายความว่า ถ้าจุดนี้มีซากเครื่องบินอยู่ สภาพของมันก็อาจไม่สึกหรอมากนัก แม้ผ่านมา ๑๐ ปีแล้ว ครอบครัวผู้สูญหายหวังได้รับคำตอบครอบครัวของผู้สูญหายต่างรู้สึกยินดีกับการผลักดันให้มีการค้นหา MH๓๗๐ อีกครั้ง โดยนาย เค.เอส. นเรนทราน ชาวอินเดีย ผู้เขียนหนังสือบอกเล่าเรื่องการต่อสู้กับความสูญเสียของครอบครัวผู้โดยสารเที่ยวบิน MH๓๗๐ บอกกับสำนักข่าว DW ว่ามีช่วงเวลาที่ยากลำบากมากมาย นับตั้งแต่ภรรยาของเขาหายไปพร้อมกับเครื่องบินมรณะลำนี้“ผมยินดีที่รัฐบาลมาเลเซียมีข้อบ่งชี้ และสนับสนุนการค้นหา” นายนเรนทรานกล่าว และหวังว่า รัฐบาลกับโอเชียน อินฟินิตี จะบรรลุข้อตกลงร่วมกันได้ทั้งนี้ ผู้โดยสารส่วนใหญ่บนเที่ยวบิน MH๓๗๐ เป็นชาวจีน และญาติของพวกเขากว่า ๔๐ ครอบครัว ได้ยื่นฟ้องร้อง มาเลเซีย แอร์ไลน์ส กับผู้ผลิตเครื่องยนต์อย่าง โรลส์-รอยซ์ เพื่อเรียกร้องค่าชดเชยก้อนโต้ถึง ๑๑.๒ ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว ๔๐๐ ล้านบาท) ซึ่งการพิจารณาคดีได้เริ่มขึ้นแล้วเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาขณะที่มากกว่า ๑๐๐ ครอบครัวในจีน บรรลุข้อตกลงยุติคดีกับคู่กรณีเรียบร้อยแล้ว โดยจะได้รับเงินชดเชยระหว่าง ๓๐๐,๐๐๐-๔๐๐,๐๐๐ ดอลลาร์สหรัฐ (ราว ๑๐-๑๔ ล้านบาท)ด้าน น.ส.นิโคเลตต์ โกเมส ลูกสาวของ แพทริก หัวหน้าพนักงานบนเที่ยวบิน MH๓๗๐ ระบุว่า “เราไม่เคยนึกฝันมาก่อนเลยว่าเริ่มแบบนี้จะเกิดขึ้นกับสมาชิกครอบครัวของเรา มันยังคงยากลำบาก ความทรงจำยังคงค้างอยู่ และเรายังคงคิดถึงเขาในทุกๆ วัน และเขาก็ยังเหมือนอยู่ในชีวิตของเรา”“แม้จะผ่านไป ๑๐ ปีแล้ว เหตุการณ์นี้ก็ยังรู้สึกสดใหม่สำหรับพวกเรา ฉันยังรู้สึกสะเทือนใจมากเมื่อนึกถึงมัน ฉันหวังว่ารัฐบาล (มาเลเซีย) จะรักษาสัญญา และเราขอภาวนาให้เราได้รับบทสรุปโดยเร็ว”“แน่นอน เราต้องคิดถึงความเป็นไปได้ที่จะไม่ได้รับข่าวใดๆ โดยเร็ว มันอาจเป็นภายในปีนี้, ปีหน้า หรืออีก ๕ ปีข้างหน้า และเราภาวนาให้การค้นหาประสบความสำเร็จ ส่งเดียวที่เราทำได้คือภาวนาเท่านั้น วันที่ ๘ มีนาคมเป็นวันที่แสนเศร้ามากสำหรับเราทุกคน”ผู้เขียน : ทิตชนม์ สว่างศรีที่มา : the conversation , dw , nytimes