Sunday, 19 January 2025

มาครงมาแปลก

สาธารณรัฐที่ ๓ ของฝรั่งเศสตั้งเมื่อ ๔ กันยายน ๑๘๗๐ มีการเรียกร้องให้สถาปนาสถาบันกษัตริย์ขึ้นมาใหม่ แต่ไม่สำเร็จ ยุคนี้ฝรั่งเศสมีอาณานิคมใหญ่เป็นอันดับ ๒ ของโลกรองจากอังกฤษ มีพื้นที่รวม ๑๓ ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรทั้งชาวฝรั่งเศสและชาวอาณานิคม ๑๕๐ ล้านคนสาธารณรัฐที่ ๔ ของฝรั่งเศสเริ่มเมื่อ ค.ศ.๑๙๔๖ สิ้นสุด ค.ศ.๑๙๕๘ การจลาจลในแอลจีเรียทำให้สิ้นสุดยุคสาธารณรัฐที่ ๔ และนายพลชาร์ล เดอโกล ก่อตั้งสาธารณรัฐที่ ๕ โดยตัวเองเป็นประธานาธิบดีคนแรก เดอโกลโดดเดี่ยวฝรั่งเศสจากสหรัฐฯและโซเวียต เน้นให้ยุโรปกลับมายิ่งใหญ่ ค.ศ.๑๙๖๙ เดอโกลขอประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญ ประชาชนปฏิเสธทำให้ต้องลาออกจากการเป็นประธานาธิบดีจากนั้นก็ถึงประธานาธิบดีคนที่ ๒ ของยุคสาธารณรัฐที่ ๕ คือนายจอร์จ ปอมปิดู (๑๙๖๙-๑๙๗๔) ปอมปิดูขึ้นมาก็พัฒนารถไฟความเร็วสูง กลับไปกระชับความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ ปอมปิดูเสียชีวิตระหว่างเป็นประธานาธิบดีค.ศ.๑๙๗๔-๑๙๘๑ ประธานาธิบดีฝรั่งเศสคือ วาเลรี จิสการ์ด เดสแตง จากนั้นก็เป็นยุคของผู้นำพรรคฝ่ายซ้าย (พรรคสังคมนิยม) ประธานาธิบดีจากฝ่ายซ้ายคือฟร็องซัวส์ มิตแตร็อง ซึ่งเป็นประธานาธิบดีตั้งแต่ ค.ศ.๑๙๘๑-๑๙๘๘ มิตแตร็องนี่แหละที่เสนอนโยบาย ‘ฝรั่งเศสเป็นหนึ่ง’การเลือกตั้งประธานาธิบดีต่อมา ฌาค ชีรัค ชนะเพราะนโยบายลดภาษี สร้างงานและบ้านสาธารณะ ชีรัคไม่เห็นด้วยกับสหรัฐฯที่ใช้กำลังเข้าไปล้มรัฐบาลซัดดัม ฮุสเซน ในอิรัก ประธานาธิบดีคนที่ ๖ ของยุคสาธารณรัฐที่ ๕ คือนิโคลา ซาโกซี ดำรงตำแหน่งระหว่าง ค.ศ.๒๐๐๗-๒๐๑๒ ตามด้วยนายฟร็องซัวส์ ออลล็องด์ ที่สิ้นสุดตำแหน่งเมื่อ ค.ศ.๒๐๑๗จากนั้นก็มาถึงประธานาธิบดีคนปัจจุบันคือเอ็มมานูแอล มาครง ใครที่ตามบทบาทของมาครงจะเห็นว่า ลึกๆแล้ว มาครงพยายามรื้อฟื้นอำนาจบารมีของฝรั่งเศส เข็นฝรั่งเศสให้กลับไปยืนแถวหน้าในเวทีโลก มาครงสนับสนุนโวโลดิมีร์ เซเลนสกี ประธานาธิบดีอูเครน อย่างสุดลิ่มทิ่มประตู ล่าสุด รัฐบาลของมาครงพูดถึงการส่งทหารไปประจำการในอูเครนมาครงเป็นผู้นำฝรั่งเศสตั้งแต่อายุน้อย แต่ได้แสดงความกล้าบ้าบิ่นคล้ายกับจักรพรรดินโปเลียน โบนาปาร์ต ที่จะกระโดดไปต่อกรโดยตรงกับรัสเซีย ทำให้คนฝรั่งเศสบางส่วนต่อต้าน สมาชิกนาโตบางชาติก็ไม่เห็นด้วย ต่างกลัวว่า ความขัดแย้งจะขยายไปเป็นสงครามโลกครั้งที่ ๓หากนาโตทำตามที่มาครงเสนอเรื่องให้ส่งทหารนาโตเข้าไปในอูเครน คู่ของสงครามก็จะเปลี่ยนจากอูเครน-รัสเซีย มาเป็นนาโต-รัสเซีย เรื่องนี้อังกฤษ เยอรมนี สเปน อิตาลี โปแลนด์และสาธารณรัฐเช็ก รีบออกมาเบรก นายกรัฐมนตรีเยอรมนีส่งสัญญาณถึงรัสเซียและถึงโลกทันทีว่าจะไม่มีการส่งทหารราบและไม่มีทหารจากยุโรปหรือนาโตเข้าไปในแผ่นดินของอูเครน รัฐมนตรีกลาโหมเยอรมนีก็รีบแถลงว่าการส่งทหารราบเข้าไปในสมรภูมิไม่ใช่สิ่งที่เยอรมนีเลือกสหรัฐฯออกมาปฏิเสธว่าไม่มีแผนส่งทหารเข้าไปปฏิบัติภารกิจในสงครามรัสเซีย-อูเครน ไบเดนเตือนว่า หากมีความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับนาโตก็จะเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๓คนที่กระดี๊กระด๊ากับคำประกาศของมาครงคือเซเลนสกี ที่ปรึกษาประธานาธิบดีอูเครนพูดว่า ‘ยุโรปก็ตระหนักแล้วถึงภัยคุกคามที่เกิดจากความก้าวร้าวของรัสเซีย’สถานการณ์การรบในปัจจุบัน รัสเซียเป็นฝ่ายได้เปรียบ ตีเมือง ได้หลายเมือง จะเห็นว่าทุกครั้งที่อูเครนชนะในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ทั้งอูเครนและพันธมิตรตะวันตกก็จะประโคมโหมข่าวปฏิบัติการจิตวิทยาและสร้างขวัญกำลังใจให้ประชากรของประเทศตนผิดกับรัสเซียที่แถลงข่าวเงียบๆเรียบๆ เตรียมความพร้อมในการรบ โดยมีความเชื่อว่า ยิ่งสงครามยืดเยื้อยาวนานไปเท่าใด ทหารรัสเซียยิ่งได้เปรียบรัสเซียเคยส่งสัญญาณให้อูเครนเรื่องขอให้เจรจากัน ตอนนั้นอูเครนได้เปรียบก็จึงไม่ได้สนใจในการเจรจาปัจจุบัน อูเครนรู้ว่าตนเองเดินสงครามต่อลำบาก ก็ติดต่อไปทางรัสเซียว่ามานั่งโต๊ะเจรจากันดีกว่าไหม เท่าที่ทราบ รัสเซียยังเฉยๆ และอาจจะไม่เจรจาด้วยแล้ว.นิติการุณย์ มิ่งรุจิราลัยsonglok๑๙๙๗@gmail.comคลิกอ่านคอลัมน์ “เปิดฟ้าส่องโลก” เพิ่มเติม