Thursday, 19 December 2024

อรรถประโยชน์จากฟางข้าว ลดต้นทุนเพิ่มรายได้เกษตรกร

08 Mar 2024
169

“ภาคอีสานตอนกลาง ๔ จังหวัด ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด และกาฬสินธุ์ ถือเป็นแหล่งผลิตข้าวที่สำคัญ หลังจากฤดูเก็บเกี่ยวข้าวจะมีเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในไร่นาจำนวนมาก โดยเฉพาะฟางข้าว ภาครัฐจึงส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ เพิ่มมูลค่า ช่วยลดต้นทุนทางการเกษตร และการบริหารจัดการทรัพยากรการเกษตรและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน สอดคล้องกับการใช้ทรัพยากรในภาคการเกษตรอย่างยั่งยืนตามแนวทาง BCG Model”นายนพดล ศรีพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ ๔ ขอนแก่น (สศท.๔) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) บอกถึงที่มาของโครงการศึกษาแนวทางการบริหารจัดการฟางข้าวในพื้นที่ภาคอีสานตอนกลาง โดยลงพื้นที่เก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างเกษตรกร และผู้ใช้ประโยชน์จากฟางข้าว ๑๘๗ ราย ประกอบด้วยเกษตรกรสมาชิกกลุ่มแปลงใหญ่สินค้าข้าว ที่มีการจัดซื้อเครื่องอัดฟางข้าว ที่ผลิตข้าวนาปี ปีเพาะปลูก ๒๕๖๕/๖๖ และข้าวนาปรังปี ๒๕๖๕ จำนวน ๑๔๗ ราย ผู้ประกอบการแปรรูป/ผู้รวบรวม ๒๐ ราย และผู้ใช้ประโยชน์จากฟางข้าว ๒๐ รายพบว่ากลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวส่วนใหญ่ร้อยละ ๕๘.๕๙ นำมาแปรรูปเป็นฟางก้อน โดยแบ่งเป็นการจ้างบริการทางการเกษตรเครื่องอัดฟาง เพื่อเก็บไว้ขายหรือใช้ประโยชน์เอง ร้อยละ ๓๐.๔๒ จำหน่ายในลักษณะเหมาไร่ให้แก่ผู้รวบรวม/ แปรรูป ร้อยละ ๑๐.๘๑ ไถกลบฟางข้าวในนาเพื่อให้ย่อยสลายเป็นปุ๋ย ร้อยละ ๑๗.๑๘ และนำฟางข้าวไปใช้ประโยชน์โดยตรงโดยไม่อัดก้อน ร้อยละ ๐.๑๘ ส่งผลให้เกษตรกรสามารถเพิ่มมูลค่าจากการขายฟางข้าวอัดก้อนเฉลี่ยไร่ละ ๓๑๙-๓๕๓ บาท ผู้รวบรวมฟางข้าว/กลุ่มผู้ประกอบการแปรรูป ให้บริการแปรรูปอัดก้อนฟางข้าว ค่าบริการก้อนละ ๘-๑๕ บาท (ไม่รวมค่าขนส่ง) ตามขนาดก้อนฟาง และรับซื้อฟางข้าวจากเกษตรกรและผู้รวบรวม/แปรรูปรายอื่น โดยรับซื้อแบบอัดก้อนราคาก้อนละ ๒๐-๓๕ บาท และแบบเหมาไร่ ราคารับซื้อ คิดตามปริมาณฟางข้าวที่อัดก้อนได้ ราคาก้อนละ ๑-๑.๕๐ บาท นายนพดล ศรีพันธุ์ ขณะที่กลุ่มผู้ใช้ประโยชน์จากฟางข้าว ส่วนใหญ่ร้อยละ ๘๘.๙๙ นำฟางข้าวเลี้ยงปศุสัตว์ ได้แก่ โคเนื้อ และกระบือ โดยใช้เป็นอาหารร่วมกับหญ้าเนเปียร์ ลดค่าใช้จ่ายได้ ๔๗.๕๐ บาท/ตัว/วัน และผสมร่วมกับอาหารข้น TMR ลดค่าใช้จ่ายได้ ๔๐ บาท/ตัว/ วัน ส่วนอีกร้อยละ ๑๑.๐๑ ใช้เป็นวัสดุคลุมดิน/ผัก ไม้ผล เมื่อเทียบกับการใช้พลาสติก ลดค่าใช้จ่ายได้ไร่ละ ๕๗๐ บาท/รอบการผลิต และหากเทียบกับการใช้แกลบ ลดค่าใช้จ่ายได้ไร่ละ ๓๐๐ บาท/รอบการผลิต ใช้ฟางข้าวเป็นก้อนเชื้อเห็ดแทนขี้เลื่อย ลดค่าใช้จ่ายได้ก้อนละ ๓ บาท ใช้ฟางข้าวเป็นอาหารปลาแทนการให้อาหารสำเร็จรูป ลดค่าใช้จ่ายได้ไร่ละ ๔๕๔.๕๐ บาท/รุ่น และใช้เป็นปุ๋ยหมักแทนการใช้ปุ๋ยยูเรียในแปลงพืชผัก ลดค่าใช้จ่ายได้ไร่ละ ๓๕๔.๘๐ บาท/รอบการผลิต ผลการศึกษาเบื้องต้น เพื่อให้เกิดการพัฒนาการบริหารจัดการฟางข้าวอย่างเป็นรูปธรรมในการนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ รัฐควรส่งเสริมให้มีการวางแผนการจัดการฟางข้าวตลอดห่วงโซ่อุปทาน สนับสนุนเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้ในการผลิตและการเพิ่มมูลค่า ส่งเสริมให้เกษตรกรควบคุมคุณภาพและผลักดันการผลิตฟางข้าวให้ได้รับมาตรฐานการรับรองคุณภาพสินค้า สร้างความรู้ ความเข้าใจ และส่งเสริมให้เกษตรกรนำฟางข้าวมาใช้ประโยชน์มากขึ้นนอกจากนี้ยังจำเป็นต้องสนับสนุนงานวิจัย องค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อขยายผลสู่การใช้ประโยชน์ในการพัฒนาสินค้า พัฒนาช่องทางการจัดจำหน่าย พัฒนาทักษะการเป็นผู้ประกอบการด้านสินค้าฟางข้าวแบบครบวงจร สนับสนุนให้เกษตรกรมีการรวมกลุ่ม และพัฒนาขีดความสามารถของเกษตรกรในการรับมือกับความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติ.กรวัฒน์ วีนิลคลิกอ่าน “ข่าวเกษตร” เพิ่มเติม