Sunday, 19 January 2025

"แผลร้อนใน" ใครๆ ก็เป็นได้

08 Mar 2024
145

“แผลร้อนใน” คือ แผลในปากที่มีลักษณะเป็นรูปวงกลมหรือวงรี มีสีขาวหรือสีออกเหลือง นอกจากนี้ รอบๆ รอยแผลมักจะเป็นสีแดงขนาดของแผลร้อนในมีขนาดเล็กๆ ตั้งแต่ ๑ มิลลิเมตรไปจนถึง ๑ เซนติเมตร และอาจจะทำให้เกิดอาการเจ็บหรือระคายเคืองได้เวลาที่รับประทานอาหาร ดื่มน้ำ และพูดสาเหตุของการเป็นแผลร้อนในยังไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจน แต่เชื่อว่าเกิดจากพันธุกรรม การติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียบางชนิด การขาดสารอาหารบางชนิด เช่น วิตามินบี ๑๒ กรดโฟลิก การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนของผู้หญิงก่อนหรือหลังมีประจำเดือน ความเครียด ความกังวล การพักผ่อนน้อย การแพ้อาหารบางอย่างที่ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุในช่องปากส่วนผู้ที่มีความเสี่ยงจะเป็นแผลร้อนในก็สอดคล้องไปกับสาเหตุ เช่น ผู้หญิงในวัยช่วงที่มีประจำเดือน คนที่มีภาวะเครียด ส่งผลพักผ่อนไม่เพียงพอ คนที่มีโรคประจำตัวที่เกี่ยวข้องกับโรคทางภูมิคุ้มกัน เช่น โรคโครห์น (Crohn’s Disease) โรคเบเซ็ท (Behcet’s disease) โรคเอชไอวี (HIV) ผู้ที่มีภาวะขาดสารอาหาร หรือการจัดฟัน หรือใส่อุปกรณ์ทางทันตกรรมอาการคนไข้จะมีอาการบวม แดง เป็นแผล และเจ็บบริเวณที่เป็น ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทุกตำแหน่งในปาก ไม่ว่าจะเป็นริมฝีปากด้านใน ลิ้น หรือกระพุ้งแก้ม บางรายถ้ามีอาการมาก อาจจะมีอาการข้างเคียงอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น เจ็บจนมีไข้ หรือต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอบวมโตการวินิจฉัยดูจากลักษณะรอยแผลเป็นหลัก โดยส่วนใหญ่ แผลร้อนในสามารถหายเองได้ แต่ควรสังเกตอาการเพราะอาจจะเป็นระยะเริ่มแรกของมะเร็งในช่องปากได้ แต่ต้องอาศัยการตรวจชิ้นเนื้อเพื่อวินิจฉัยด้วย ดังนั้น หากมีแผลเกิดขึ้นมากว่าจุดเดียว เกิดขึ้นต่อเนื่อง แม้ว่าแผลเก่ายังไม่หาย แผลมีขนาดใหญ่กว่าปกติ หรือมีการกระจายไปยังบริเวณอื่น ถ้ามีอาการเหล่านี้ก็แนะนำให้รีบไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุและรักษาโดยเร็ว การรักษาส่วนใหญ่สามารถหายเองได้ภายใน ๒ สัปดาห์ แต่ในช่วงที่มีอาการ ก็ควรดูแลสุขภาพช่องปากและฟันอย่างสม่ำเสมอ ใช้แปรงสีฟันที่มีลักษณะขนที่อ่อนนุ่ม ใช้น้ำยาบ้วนปากรสอ่อนๆ หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารรสจัดการรักษายังสามารถใช้ยาบางตัวเพื่อบรรเทาอาการได้ เช่น ยาสเตียรอยด์ชนิดทาในช่องปาก หรือถ้ากรณีที่คนไข้มีอาการมากอาจจะใช้เป็นยาชาเฉพาะที่ ฉีดพ่นเฉพาะบริเวณที่เป็นแผลการป้องกันการป้องกันการเกิดแผลร้อนในทำได้ ดังนี้๑. รับประทานอาหารให้ถูกสุขลักษณะ หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด ของทอด ของมัน ของเผ็ดร้อน๒. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ผักผลไม้ที่มีวิตามินที่จำเป็นต่อร่างกาย๓. ดื่มน้ำให้เพียงพอ๔. พักผ่อนให้เพียงพอ๕. ทำจิตใจให้ร่าเริงอยู่เสมอ ไม่เครียด๖. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ วันละ ๔ วันต่อสัปดาห์๗. ตรวจสุขภาพช่องปากและฟันทุก ๖ เดือน————————————————————แหล่งข้อมูลอ. พญ.โยษิตา หมื่นแก้ว ภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลอ่านคอลัมน์ “ศุกร์สุขภาพ” ทั้งหมดได้ที่นี่