Sunday, 22 December 2024

ฝ่ามรสุมเศรษฐกิจ  ๒๕๖๗ ดันส่งออกสินค้าดาวเด่น

ทิศทางการค้าโลกเริ่มฟื้นตัวต่อเนื่อง “การส่งออกของไทยปี ๒๕๖๗” กลับมาขยายตัวด้วยเช่นกัน อันเกิดจากอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ ทำให้การค้าระหว่างประเทศมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นสำหรับสินค้าการส่งออกดาวเด่นปีนี้ “ม.หอการค้าไทย” วิเคราะห์ไว้ อย่างเช่น น้ำมันสำเร็จรูป โทรศัพท์ อุปกรณ์ส่วนประกอบ อุปกรณ์กึ่งตัวนำทรานซิสเตอร์ ผลไม้ หม้อแปลงไฟฟ้า “สินค้าส่งออกดาวรุ่ง” มีทั้งรถแทรกเตอร์ ยานยนต์พิเศษ กระเป๋าเดินทาง ไก่สดแช่แข็ง ประทีปโคมไฟ และเส้นใยประดิษฐ์ด้วยการใช้แนวคิด BCG Matrix จัดอันดับสินค้าส่งออกมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) แบ่งกลุ่มแนวคิดเบสคำนวณคะแนนในข้อมูลขยายตัวการส่งออกปี ๒๕๖๔-๒๕๖๗ สะท้อนผ่าน พูนทวี ชัยวิจิตมลากูล ผช.ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการค้า แถลงทิศทางการส่งออกไทย ปี ๒๕๖๗ และ ๑๐ สินค้าส่งออกเด่นว่าการส่งออกของไทยปี ๒๕๖๗ “คาดว่าจะฟื้นตัวดีขึ้นกว่าปี ๒๕๖๖ ที่เคย ติดลบ ๑%” จากปัจจัยสนับสนุนหลายด้านคือ ปัจจัยแรก…“อัตราเติบโตเศรษฐกิจโลก” ด้วย IMF มีมุมมองเชิงบวกต่อเศรษฐกิจโลก คาดว่า GDP จะปรับเป็นบวก ๐.๒% เพราะการฟื้นตัวของสหรัฐฯ และประเทศพัฒนา ตลอดจน การสนับสนุนทางการคลังของจีน ผลักดันให้ GDP ภาพรวมของโลกเติบโตขึ้นมา ๓.๑% ทำให้เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญของไทยที่มีสัดส่วนการส่งออกมากกว่า ๘๐% มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างเช่น อาเซียนอัตราการเติบโตของ GDP ๔.๓% ยุโรปอัตราการเติบโต ๐.๙% เกาหลีใต้เติบโต ๒.๓% สหราชอาณาจักรเติบโต ๐.๖%อย่างไรก็ตาม “บางประเทศมีการเติบโตทางเศรษฐกิจ” แต่มีแนวโน้มชะลอตัว เช่น สหรัฐฯอัตราการเติบโต GDP ๒.๑% สัดส่วนการส่งออก ๑๗.๑% จีนการเติบโต GDP ๔.๖% สัดส่วนส่งออก ๑๒% ญี่ปุ่นเติบโต ๐.๙% สัดส่วนการส่งออก ๘.๖% ออสเตรเลียเติบโต ๑.๔% ส่งออก ๔.๓% ฮ่องกงเติบโต ๒.๙% ส่งออก ๓.๙%ปัจจัยที่ ๒…“การค้าโลกมีแนวโน้มขยายตัว ๓.๓%” จากอัตราเงินเฟ้อของโลก และหลายประเทศดอกเบี้ยลดลงในช่วงครึ่งหลังปีนี้ ทั้งนโยบายการคลังจีนก็เข้ามา “กระตุ้นเศรษฐกิจ” บวกกับการขยายตัวเศรษฐกิจสหรัฐฯ และยุโรป เช่นนี้หากการค้าโลกขยาย ๓.๓% ก็จะทำให้การส่งออกของไทยมีแนวโน้มปรับตัวเป็นบวกเช่นกันปัจจัยที่ ๓…“ค่าเงินบาทครึ่งแรกปี ๒๕๖๗ มีแนวโน้มอ่อนค่า” ที่ส่งผลดี ต่อการแข่งขันของไทยตั้งแต่วันที่ ๒ ม.ค.-๑๕ ก.พ. “ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงไป ๕.๒%” ด้วยเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯแข็งค่าขึ้นจากดัชนีราคาเงินเฟ้อสูงกว่าที่ตั้งเป้า และการลดดอกเบี้ยก็เลื่อนจากเดือน ม.ค. เป็นเดือน พ.ค. ส่งผลต่อดอลลาร์แข็งค่าขึ้นนี้ปัจจัยที่ ๔…“เงินเฟ้อโลกลดลง” ตามข้อมูล IMF, UM, World Bank, Jp Morgan คาดการณ์ว่าในปี ๒๕๖๘ “เงินเฟ้อทั่วโลกจะชะลอตัว” ทำให้ ประเทศต่างๆปรับดอกเบี้ยลดลง ส่งผลให้เศรษฐกิจโลกเติบโตมากขึ้นปัจจัยที่ ๕…“หลายประเทศคาดว่าจะปรับลดดอกเบี้ยนโยบาย” ตามข้อมูลเดือน มกราคม๒๕๖๖-มกราคม๒๕๖๗ จะเห็นหลายประเทศมีแนวโน้มลดอัตราดอกเบี้ยลง เช่น เวียดนามปรับลดลง ๑.๕% สิงคโปร์ปรับลดลง ๐.๒% และจีนปรับลดลง ๐.๓% ทั้งในช่วงกลางปี ๒๕๖๗ จนถึงปลายปีก็น่าจะมีอีกหลายประเทศปรับลดดอกเบี้ยลงอีกไม่ว่าจะเป็นสหรัฐฯ ปรับลดดอกเบี้ยนโยบายเดือน พฤษภาคมทั้งปี ๑-๑.๒๕% ยุโรปน่าจะลดเดือน เมษายนทั้งปี ๑.๕% สหราชอาณาจักรปรับลดเดือน มิถุนายนอย่างน้อย ๑% อินเดียและอาเซียนอาจปรับลดตามธนาคารกลางสหรัฐฯสำหรับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงนี้ก็จะส่งผลให้ “เศรษฐกิจโลกในช่วงครึ่งปีหลังเติบโตมากยิ่งขึ้น” ทำให้การขยายตัวการส่งออกของประเทศไทยในครึ่งปีหลังนั้นดีขึ้นตามมาเช่นกันถ้ามาดูปัจจัยเสี่ยงข้อจำกัดการส่งออกปีนี้ “การโจมตีเรือขนส่งสินค้าของฮูตีในทะเลแดง (คลองสุเอซ)” ที่ยืดเยื้อส่งผลให้ค่าระวางเรือเพิ่มขึ้น “กระทบต้นทุนการส่งออกสินค้าไทย” ด้วยเรือไม่อาจผ่านคลองสุเอซได้เหมือนเดิม เพราะเป็นเส้นทางการค้าหลักระหว่างเอเชียกับยุโรป และครอบคลุมเส้นทางการค้าทะเล ๑๒% ของโลก ทำให้ต้องอ้อมไปแหลมกู๊ดโฮปใช้เวลาขนส่งมากขึ้น ๑๕ วัน ไปยุโรป ๔ วัน ไปสหรัฐฯ “ตารางเดินเรือหลายเส้นทางล่าช้า” ไม่อาจวนกลับเข้ารอบเรือ ทันตามตาราง กระทบถึงรอบเรือถัดไปล่าช้า “จนตู้ขนส่งสินค้าขาดแคลนและ จองเรือยากขึ้น” ทั้งพื้นที่ขนส่งแออัดปริมาณเรือสินค้าไทยลดลงจากวันละ ๑๐๐-๑๒๐ ลำ เหลือราว ๕๐ ลำข้อจำกัดถัดมา “การฟื้นตัวเศรษฐกิจจีน” ที่มีปัญหาเชิงโครงสร้างอย่าง การลงทุนอสังหาริมทรัพย์หดตัวตั้งแต่ปี ๒๕๖๕ และมีแนวโน้มขยายยาวมาถึงปีนี้ “ด้วยภาคอสังหาริมทรัพย์คิดเป็น ๒๙% ของ GDP จีน” ทำให้ดัชนีความ เชื่อมั่นผู้บริโภคทรงตัวในระดับต่ำ เพราะหลายคนนำเงินลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่ยังไม่ดีขึ้นกลายเป็นเงินในกระเป๋าลดลงจนขาดความเชื่อมั่นต่อการบริโภคตั้งแต่ปี ๒๕๖๕-๒๕๖๗ ทำให้อัตราเงินเฟ้อของจีนติดลบ (ภาวะเงินฝืด) มาตั้งแต่ปลายปี ที่แล้ว ส่วนการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศของจีนก็ลดลง เพราะความสัมพันธ์ ระหว่างจีน และสหรัฐฯมีความขัดแย้งกัน จนทำให้นักลงทุนนำเงินออกจากจีนต่อมา “ค่าเงินบาทครึ่งปีหลังมีแนวโน้มแข็งค่า” คาดว่าจะแข็งค่า ๓๔-๓๕ บาท/ดอลลาร์ “กระทบต่อความสามารถการแข่งขันของไทย” มีปัจจัย จากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ และการลดดอกเบี้ยของสหรัฐฯทำให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนลง และดุลบัญชีเดินสะพัดที่เกินดุลเพิ่มขึ้นจากการส่งออก และการท่องเที่ยวไทยฟื้นตัว“นอกจากนี้ยังมีเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่เข้ามาในประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้นจากการส่งเสริมการลงทุนของภาครัฐ เหตุนี้จึงคาดการณ์ว่า การส่งออก ของไทยในปี ๒๕๖๗ น่าจะมีแนวโน้มขยายตัวประมาณ ๒.๕% หรือมูลค่า ๒.๙๑ แสนล้านดอลลาร์ อยู่ในช่วง ๒-๓% ทำให้การส่งออกไปในประเทศคู่ค้ากลับมา ดีขึ้นทุกตลาด” พูนทวีว่า ถ้าพูดถึงสินค้าดาวเด่นส่งออกสูงในปี ๒๕๖๗ “น้ำมันสำเร็จรูป” มีมูลค่าการส่งออก ๑ หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพราะแนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจโลก ส่งผลให้มีความต้องการมากขึ้น “โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ” ปีนี้ทั่วโลก มีการใช้โทรศัพท์มือถือ ๕.๒ พันล้านเครื่อง และมีความต้องการเพิ่มขึ้น ๔%ทำให้ประเทศไทยมีแนวโน้มส่งออกมูลค่า ๕.๙ พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ “อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด” จะมีการเติบโตส่งออกอยู่ที่ ๔.๖ พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ “ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง” ในปี ๒๕๖๗ ทั่วโลก อาจต้องเจอสภาพภูมิอากาศผันผวนจนหลายประเทศต้องรักษาความมั่นคงทางอาหารไว้กลายเป็นผลบวกต่อ “ประเทศไทย” ที่มีโอกาสการส่งออกผลไม้สูง ๖.๗ พันล้านดอลลาร์ “หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ” เพราะกระแสโซลาร์เซลล์ทำให้มีความต้องการใช้หม้อแปลงไฟสูงขึ้น มูลค่าการส่งออกอยู่ที่ ๔ พันล้านดอลลาร์ ผลิตภัณฑ์ไม้ส่งออกที่ ๓.๒ พันล้านดอลลาร์ เครื่องจักรกล ส่งออก ๘.๗ พันล้านดอลลาร์โดยเฉพาะ “รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ” มีแนวโน้มเติบโตจากความต้องการสหรัฐฯ ญี่ปุ่น จีน และทั่วโลกใช้รถยนต์ ๒ พันกว่าล้านคัน ส่งผลให้ประเทศไทยมีโอกาสส่งออก ๓ หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และเครื่องจักรอุปกรณ์ไฟฟ้ามีฟังก์ชันเฉพาะส่งออก ๕.๑ พันล้านดอลลาร์ แผงวงจรไฟฟ้าส่งออก ๙.๕ พันล้านดอลลาร์ต่อมา “สินค้าส่งออกดาวรุ่ง” ไม่ว่าจะเป็นรถแทรกเตอร์ และยานยนต์มีวัตถุประสงค์พิเศษมูลค่าการส่งออก ๑.๑ พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ กระเป๋าเดินทาง ๖๑๔ ล้านดอลลาร์ ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง ๑.๒ พันล้านดอลลาร์ ประทีป โคมไฟมีความต้องการหลอดสูงขึ้นด้วยการก่อสร้างทั่วโลกขยายตัว ๙.๖% การส่งออกจะอยู่ ๒๕๓ ล้านดอลลาร์ เส้นใยประดิษฐ์มูลค่าส่งออก ๑ พันล้านดอลลาร์ นาฬิกาส่วนประกอบส่งออก ๗๘๘ ล้านดอลลาร์ อุปกรณ์ไฟฟ้าให้สัญญาณเสียงส่งออก ๔๒๐ ล้านดอลลาร์ เครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ส่งออก ๙๖๕ ล้านดอลลาร์ ส่วนประกอบมอเตอร์ไฟฟ้า และเครื่องกำเนิดไฟฟ้าส่งออก ๑๔๔ ล้านดอลลาร์ และเนื้อสัตว์ส่งออก ๑๖๙ ล้านดอลลาร์นี่คือความโดดเด่น “สินค้าเกษตรกรรม และภาคอุตสาหกรรมไทย” ที่สามารถแข่งขันขยายการส่งออกตลอดปี ๒๕๖๗ อันจะกระตุ้นเศรษฐกิจไทย ให้เติบโตดีขึ้น.คลิกอ่านคอลัมน์ “สกู๊ปหน้า ๑” เพิ่มเติม