โพล ชี้ สาเหตุเจ้าหน้าที่รัฐทุจริตและประพฤติมิชอบ คนส่วนใหญ่ ๕๙.๓๙% อยากรวย อยากมี อยากได้ ขณะความเชื่อมั่นองค์กรตำรวจ-ป.ป.ช. สังคมไทยส่วนใหญ่ ยังไม่ค่อยเชื่อมั่น วันที่ ๑๐ มี.ค. ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “คดีทุจริตประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ ๔-๖ มีนาคม ๒๕๖๗ จากประชาชนที่มีอายุ ๑๘ ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน ๑,๓๑๐ หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับคดีทุจริตประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ ๙๗.๐จากการสำรวจเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้เกิดการทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ พบว่าตัวอย่างร้อยละ ๕๙.๓๙ ระบุว่า คนในสังคมส่วนใหญ่ อยากรวย อยากมี อยากได้ รองลงมา ร้อยละ ๓๑.๕๓ ระบุว่า คนในสังคมส่วนใหญ่ นับถือคนรวย คนมีอำนาจ คนมีอิทธิพล ร้อยละ ๒๓.๐๕ ระบุว่า ช่องโหว่ของกฎหมาย ร้อยละ ๒๐.๒๓ ระบุว่า ค่าครองชีพสูง เงินเดือนน้อย ร้อยละ ๑๗.๖๓ ระบุว่า การได้รับประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ร้อยละ ๑๗.๔๐ ระบุว่า ค่านิยมแบบนิยมพวกพ้องและเครือญาติ ความสัมพันธ์ในเชิงผลประโยชน์ ร้อยละ ๑๗.๒๕ ระบุว่า การบังคับใช้กฎหมายไม่จริงจัง ไม่เด็ดขาด และล่าช้า ร้อยละ ๑๖.๑๘ ระบุว่า ระบบอุปถัมภ์หรือความสัมพันธ์ระหว่างผู้อุปถัมภ์กับลูกน้อง ร้อยละ ๘.๙๓ ระบุว่า การได้รับผลประโยชน์มีความคุ้มค่ามากกว่าบทลงโทษทางด้านกฎหมาย ร้อยละ ๗.๒๕ ระบุว่า การแข่งขันทางการเมืองอย่างเข้มข้นเพื่อช่วงชิงตำแหน่งและผลประโยชน์ และกฎหมายเปิดช่องให้เจ้าหน้าที่รัฐใช้ดุลยพินิจในการตัดสินใจ ในสัดส่วนที่เท่ากัน ร้อยละ ๗.๑๘ ระบุว่า คดีทุจริตจำนวนมาก สุดท้ายคนผิดก็ลอยนวล ร้อยละ ๖.๙๕ ระบุว่า วัฒนธรรมความเกรงใจ ร้อยละ ๖.๔๑ ระบุว่า ระบบการควบคุมและตรวจสอบที่ขาดประสิทธิภาพ ร้อยละ ๒.๐๖ ระบุว่า ประชาชนเบื่อหน่ายเพิกเฉยต่อการต่อต้านการทุจริต และร้อยละ ๒.๖๗ ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดีทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ ในหน่วยงานต่างๆ พบว่าสำนักงานอัยการสูงสุด ตัวอย่าง ร้อยละ ๓๓.๓๖ ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อมั่น รองลงมา ร้อยละ ๒๘.๑๗ ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อมั่น ร้อยละ ๑๖.๗๙ ระบุว่า ไม่เชื่อมั่นเลย ร้อยละ ๑๔.๗๓ ระบุว่า เชื่อมั่นมาก ร้อยละ ๕.๕๐ ระบุว่า ไม่มีข้อมูล และร้อยละ ๑.๔๕ ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) กระทรวงยุติธรรม ตัวอย่าง ร้อยละ ๓๔.๗๔ ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อมั่น รองลงมา ร้อยละ ๓๐.๑๕ ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อมั่น ร้อยละ ๑๕.๕๗ ระบุว่า ไม่เชื่อมั่นเลย ร้อยละ ๑๒.๕๒ ระบุว่า เชื่อมั่นมาก ร้อยละ ๕.๖๕ ระบุว่า ไม่มีข้อมูล และร้อยละ ๑.๓๗ ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ตัวอย่าง ร้อยละ ๓๔.๐๕ ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อมั่น รองลงมา ร้อยละ ๒๘.๔๗ ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อมั่น ร้อยละ ๑๘.๖๓ ระบุว่า ไม่เชื่อมั่นเลย ร้อยละ ๑๑.๐๗ ระบุว่า เชื่อมั่นมาก ร้อยละ ๖.๐๒ ระบุว่า ไม่มีข้อมูล และร้อยละ ๑.๗๖ ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) กระทรวงยุติธรรม ตัวอย่าง ร้อยละ ๓๔.๕๐ ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อมั่น รองลงมา ร้อยละ ๒๔.๔๓ ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อมั่น ร้อยละ ๒๐.๖๙ ระบุว่า ไม่เชื่อมั่นเลย ร้อยละ ๑๐.๐๐ ระบุว่า เชื่อมั่นมาก ร้อยละ ๘.๔๗ ระบุว่า ไม่มีข้อมูล และร้อยละ ๑.๙๑ ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบกองบังคับการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ (บก.ปปป.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตัวอย่าง ร้อยละ ๓๙.๐๘ ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อมั่น รองลงมา ร้อยละ ๒๒.๑๔ ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อมั่น ร้อยละ ๒๒.๐๖ ระบุว่า ไม่เชื่อมั่นเลย ร้อยละ ๘.๗๘ ระบุว่า เชื่อมั่นมาก ร้อยละ ๖.๔๙ ระบุว่า ไม่มีข้อมูล และร้อยละ ๑.๔๕ ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบตำรวจหน่วยอื่นๆ (ที่ไม่ใช่ บก.ปปป.) ตัวอย่าง ร้อยละ ๔๑.๙๘ ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อมั่น รองลงมา ร้อยละ ๒๙.๗๗ ระบุว่า ไม่เชื่อมั่นเลย ร้อยละ ๑๙.๕๔ ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อมั่น ร้อยละ ๔.๐๕ ระบุว่า เชื่อมั่นมาก ร้อยละ ๓.๑๓ ระบุว่า ไม่มีข้อมูล และร้อยละ ๑.๕๓ ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ
โพล ชี้ “ตร.-ป.ป.ช.” คนในสังคมไทย ไม่ค่อยเชื่อมั่น “อยากรวย” จึงทุจริต
Related posts