Friday, 8 November 2024

ถึงคราวดับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ไทย

บ้านเรารณรงค์ให้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กันมากอย่างไร โดยเฉพาะช่วงหลังนา แต่ทำเยี่ยงไรก็ไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ในประเทศ…ต้องนำเข้าปีละหลายล้านตัน?ปัจจัยสำคัญเป็นเพราะพฤติกรรมของคนบางกลุ่ม เกลียดตัวกินไข่ เกลียดปลาไหลกินน้ำแกง ไม่ให้ปลูกพืชจีเอ็มโอในบ้านเรา สุดท้ายพอต้องนำเข้าไม่มีกระดิกอะไรสักแอะ ประหนึ่งว่า พูดไปก็มีแต่เรื่องเสียเข้าตัวทุกประเทศที่เขาส่งออกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ล้วนใช้ข้าวโพดจีเอ็มโอ แทบทั้งสิ้น เหตุเพราะผลผลิตสูงกว่า ทนต่อสภาพภูมิอากาศดีกว่า ทนโรคแมลงกว่าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทั่วไปในเมื่อของบ้านเราไม่พอ ต้องนำเข้ามา แต่เหนือสิ่งอื่นใด วันนี้ มันมีเทคโนโลยีตัดแต่งพันธุกรรมที่เข้าไปแก้ไขยีน หรือ CRISPR-Cas ที่เหนือกว่าจีเอ็มโอเข้ามาแล้ว ซึ่งหลายประเทศทั่วโลกให้การยอมรับ และกำลังได้รับการพัฒนาขึ้นไปอีก แต่บ้านเราแทบไม่มีคนรู้จักล่าสุดนักวิทยาศาสตร์จาก VIB-UGent Center for Plant Systems Biology (Ghent University) ได้ยื่นคำร้องขอทดสอบภาคสนามข้าวโพดแก้ไขจีโนม เพื่อพิจารณาการพัฒนา และองค์ ประกอบของผนังเซลล์พืช วิธีการเปลี่ยนแปลง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานในอุตสาหกรรมกระดาษ เยื่อกระดาษ พลังงานชีวภาพ และอื่นๆ ในการใช้ข้าวโพดในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์พร้อมกับเปิดการใช้งานยีนในข้าวโพดที่เกี่ยวข้องกับการสร้างผนังเซลล์ โดยการใช้เทคนิคการแก้ไขยีน CRISPR-Cas ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของยีนที่เกี่ยวข้องกับการผลิตลิกนินผลที่ได้คือมีลิกนินในผนังเซลล์น้อยลงร้อยละ ๒๐ ที่คาดว่าจะปรับปรุงให้ข้าวโพดย่อยได้ง่ายขึ้น ทำให้สัตว์ที่บริโภคข้าวโพดพันธุ์นี้ดูดซับพลังงาน และสารอาหารได้ง่ายขึ้นโดยการทดสอบภาคสนามเป็นขั้นตอนสำคัญในการวิจัย ที่มุ่งปรับปรุงคุณค่าทางโภชนาการของข้าวโพด ซึ่งจากการทดสอบภาคสนามแล้ว นักวิจัยต้องตรวจสอบต่อไปว่า ข้าวโพดมีลิกนินในผนังเซลล์น้อยลงหรือไม่ภายใต้สภาพการเจริญเติบโตตามปกติ.สะ-เล-เตคลิกอ่านคอลัมน์ “หน้ามองฟ้า เท้าหยั่งดิน” เพิ่มเติม