Saturday, 21 December 2024

ออสการ์ ๒๐๒๔ คิลเลียน เมอร์ฟี-เอ็มมา สโตน หนังโนแลน Oppenheimer ทุบ ๗ รางวัล

11 Mar 2024
165

เป็นหนึ่งรางวัลอันยิ่งใหญ่ของวงการภาพยนตร์ระดับโลก กับงานประกาศรางวัลออสการ์ ครั้งที่ ๙๖ หรือ OSCARS ๒๐๒๔ เวทีประกาศรางวัลที่ทรงเกียรติที่สุดของวงการฮอลลีวูดที่ทุกคนรอคอย ซึ่งปีนี้จัดขึ้นที่โรงภาพยนตร์ดอลบี เธียร์เตอร์ ฮอลลีวูด สหรัฐอเมริกา ตามเวลาประเทศไทย ในช่วงเช้าของวันจันทร์ที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๖๗ เวลา ๐๖.๐๐ น. เป็นต้นไป มีดารานักแสดงจำนวนมากเข้าร่วมงานในครั้งนี้โดยได้ จิมมี คิมเมล (Jimmy Kimmel) พิธีกรเจ้าของรายการทอล์กโชว์ Jimmy Kimmel Live! กลับมารับหน้าที่ดำเนินรายการอีกครั้งต่อจากปีที่แล้ว และเป็นการกลับมารับหน้าที่เดิมบนเวทีออสการ์เป็นครั้งที่ ๔ โดยในครั้งนี้เขามาพร้อมกับการเปิดตัวแบบขำๆ ด้วยการเข้าไปร่วมแจมในหนังเรื่อง “Barbie”เริ่มต้นด้วยรางวัลแรกของเวที คือ รางวัลนักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม ตกเป็นของ ดาวีน จอย แรนดอล์ฟ (Da’Vine Joy Randolph) จากบทบาท แมรี แลมบ์ ภาพยนตร์เรื่อง The Holdovers ซึ่งเรื่องนี้เธอรับบทเป็นคุณแม่ที่ทำงานในโรงเรียนประจำผู้เศร้าโศกต่อการเสียชีวิตของลูกชายจากสงครามเวียดนาม ถือเป็นการคว้ารางวัลออสการ์ครั้งแรกของเธอ โดย ดาวีน จอย แรนดอล์ฟ ได้กล่าวทั้งน้ำตาบนเวทีว่า ขอขอบคุณคุณแม่ของเธอที่แนะนำให้เธอเข้าสู่วงการการแสดง แม้ว่าเธอจะเริ่มต้นอาชีพในฐานะนักร้อง และเปลี่ยนความคิดที่ว่าจะต้องแตกต่าง แต่เธอกลับต้องเป็นตัวของตัวเอง รางวัลนักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม ได้แก่ โรเบิร์ต ดาวนีย์ จูเนียร์ (Robert Downey Jr.) จากภาพยนตร์เรื่อง Oppenheimer ซึ่งเขาได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลออสการ์เป็นครั้งที่ ๓ และนี่คือครั้งแรกที่ โรเบิร์ต ดาวนีย์ จูเนียร์ ได้รางวัลจากเวทีนี้หนังที่มาแรงที่สุดบนเวทีออสการ์ปีนี้ คือเรื่อง Oppenheimer ของผู้กำกับ คริสโตเฟอร์ โนแลน (Christopher Nolan) ที่มีชื่อเข้าชิงมากที่สุดในปีนี้ถึง ๑๓ สาขา สามารถกวาดรางวัลไปได้มากที่สุดถึง ๗ รางวัล ตั้งแต่รางวัลใหญ่สุดอย่างสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ทั้ง คิลเลียน เมอร์ฟี (Cillian Murphy) ในสาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม, โรเบิร์ต ดาวนีย์ จูเนียร์ (Robert Downey Jr.) จากสาขานักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม และรวมทั้ง คริสโตเฟอร์ โนแลน (Christopher Nolan) ที่สามารถคว้ารางวัลสาขาผู้กำกับยอดเยี่ยมได้เป็นครั้งแรกในชีวิต และสาขาด้านเทคนิค ทั้งตัดต่อภาพยนตร์ยอดเยี่ยม, ถ่ายภาพยอดเยี่ยม โดยผู้กำกับภาพ ฮอยต์ ฟาน ฮอยเตมา (Hoyte Van Hoytema) และดนตรีประกอบยอดเยี่ยม จากฝีมือของประพันธกร โดย ลุดวิก เยอรันซัน (Ludwig Göransson) โดยในปีนี้ภาพยนตร์เรื่อง Poor Things กวาดรางวัลจากเวทีออสการ์ ๒๐๒๔ ไปได้ถึง ๔ รางวัล ได้แก่ ออกแบบเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม, แต่งหน้าและออกแบบทรงผมยอดเยี่ยม, ออกแบบงานสร้างยอดเยี่ยม และ เอ็มมา สโตน (Emma Stone) คว้ารางวัลสาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยมไปครองได้สำเร็จ ในสาขาแอนิเมชันยอดเยี่ยม สตูดิโอจิบลิ (Studio Ghibli) สร้างประวัติศาสตร์อีกครั้ง ด้วยการส่งแอนิเมชันเรื่องล่าสุด The Boy and the Heron ชนะรางวัลนี้ไปได้อีกครั้ง หลังจากที่เคยได้รับมาแล้วจากเรื่อง Spirited Away ในปี ๒๐๐๑ ทำให้ชื่อของ ฮายาโอะ มิยาซากิ (Hayao Miyazaki) เป็นแอนิเมเตอร์ที่เข้าชิงสาขาภาพยนตร์แอนิเมชันมากที่สุดถึง ๔ ครั้งรางวัลนักแสดงนำยอดเยี่ยม ตกเป็นของ คิลเลียน เมอร์ฟี (Cillian Murphy) จากภาพยนตร์เรื่อง Oppenheimer และ เอ็มมา สโตน (Emma Stone) จากภาพยนตร์เรื่อง Poor Things ส่วนรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมในปีนี้ได้แก่เรื่อง Oppenheimer สำหรับผู้ที่ได้รางวัลออสการ์ ๒๐๒๔ แยกตามสาขา ดังนี้ สาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (Best Picture)- Oppenheimerสาขาผู้กำกับยอดเยี่ยม (Best Director)- คริสโตเฟอร์ โนแลน (Christopher Nolan) จากภาพยนตร์เรื่อง Oppenheimerสาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม (Best Actor in a Leading Role)- คิลเลียน เมอร์ฟี (Cillian Murphy) จากภาพยนตร์เรื่อง Oppenheimerสาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (Best Actress in a Leading Role)- เอ็มมา สโตน (Emma Stone) จากภาพยนตร์เรื่อง Poor Thingsสาขาบทภาพยนตร์ดั้งเดิมยอดเยี่ยม (Best Original Screenplay)- Anatomy of a Fall โดย Justine Triet และ Arthur Harari สาขาบทภาพยนตร์ดัดแปลงยอดเยี่ยม (Best Adapted Screenplay)- American Fiction โดย คอร์ด เจฟเฟอร์สันสาขานักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม (Best Supporting Actor)- โรเบิร์ต ดาวนีย์ จูเนียร์ (Robert Downey Jr.) ‘Oppenheimer’สาขานักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม (Best Supporting Actress)- ดาไวน์ จอย แรนดอล์ฟ (Da’Vine Joy Randolph) ‘The Holdovers’สาขาเพลงประกอบดั้งเดิมยอดเยี่ยม (Best Original Song)- What Was I Made For? จากภาพยนตร์เรื่อง Barbieสาขาแอนิเมชันยอดเยี่ยม (Best Animated Feature Film)- The Boy and the Heron สาขาดนตรีประกอบดั้งเดิมยอดเยี่ยม (Best Original Score)- Oppenheimer โดย ลุดวิก เยอรันซัน (Ludwig Göransson)สาขาออกแบบเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม (Best Costume Design)- Poor Thingsสาขาตัดต่อภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (Best Film Editing)- Oppenheimerสาขาออกแบบเสียงยอดเยี่ยม (Best Sound)- The Zone of Interestสาขาแต่งหน้าและออกแบบทรงผมยอดเยี่ยม (Best Makeup and Hairstyling)- Poor Thingsสาขาภาพยนตร์ขนาดสั้นยอดเยี่ยม (Best Live Action Short Film)- The Wonderful Story of Henry Sugarสาขาแอนิเมชันขนาดสั้นยอดเยี่ยม (Best Animated Short Film)- War is Over! Inspired by the Music of John & Yokoสาขาเทคนิคพิเศษยอดเยี่ยม (Best Visual Effects)- Godzilla Minus Oneสาขาถ่ายภาพยอดเยี่ยม (Best Cinematography)- Oppenheimerสาขาออกแบบงานสร้างยอดเยี่ยม (Best Production Design)- Poor Thingsสาขาสารคดีขนาดสั้นยอดเยี่ยม (Best Documentary Short Subject)- The Last Repair Shopสาขาสารคดียอดเยี่ยม (Best Documentary Feature) – ๒๐ Days in Mariupolภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยม (Best International Feature Film)- The Zone of Interest (สหราชอาณาจักร)คลิกเพื่ออ่าน “ข่าวบันเทิงวันนี้”