กาแล็กซีสามเหลี่ยม M๓๓ (Triangulum galaxy) อยู่ห่างโลก ๒.๗๓ ล้านปีแสง ในกลุ่มดาวสามเหลี่ยม เป็นหนึ่งในสถานที่ที่นักดาราศาสตร์ให้ความสนใจเนื่องจากกาแล็กซีนี้เป็นที่อยู่ของแหล่งกำเนิดดาวฤกษ์ที่เรียกว่า NGC ๖๐๔ มีอายุประมาณ ๓.๕ ล้านปี ลักษณะคล้ายฟองอากาศอยู่ในโพรงที่เต็มไปด้วยเส้นใยก๊าซพันพัวกันเมื่อเร็วๆนี้ ทีมนักดาราศาสตร์จากองค์การอวกาศยุโรป เผย ๒ ภาพใหม่ของ NGC ๖๐๔ ที่ได้จากกล้องอินฟราเรด (Near-Infrared Camera-NIRCam) และกล้องตรวจจับรังสีอินฟราเรดย่านกลาง (Mid-InfraRed Instrument-MIRI) ที่อยู่บนกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ เครื่องมือที่เป็นความร่วมมือขององค์การนาซา สหรัฐอเมริกา องค์การอวกาศยุโรป และองค์การอวกาศแคนาดา ทำให้ทีมระบุการค้นพบดาวฤกษ์ที่ร้อนที่สุดและมีมวลมากที่สุดมากกว่า ๒๐๐ ดวง ที่ล้วนอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการมีชีวิต ซ่อนตัวอยู่ในกลุ่มก๊าซฝุ่นของ NGC ๖๐๔ดาวฤกษ์ที่ร้อนมากๆเหล่านี้อยู่ในประเภท บี (B) และประเภท โอ (O) ซึ่งเป็นประเภทที่มวลมากกว่าดวงอาทิตย์ของเรากว่า ๑๐๐ เท่า นับว่าค่อนข้างหายากที่จะพบความหนาแน่นสูงในพื้นที่ใกล้เคียงโลก และการรวมตัวกันของดาวฤกษ์มวลมากพวกนี้เมื่อรวมกับระยะห่างที่ค่อนข้างใกล้โลก จึงทำให้ NGC ๖๐๔ กลายเป็นแหล่งศึกษาที่น่าทึ่งเกี่ยวกับช่วงเวลาแรกๆของชีวิตดวงดาวเหล่านั้น.Credit : NASA, ESA, CSA, STScIอ่าน “คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ” ทั้งหมดที่นี่
นาซาเผยภาพจากกล้องเจมส์ เวบบ์ พบดาวฤกษ์ที่ร้อนมากและค่อนข้างใกล้โลก
Related posts