Sunday, 19 January 2025

สมาคมนักเรียนทุนชีฟนิ่ง ไทยแลนด์ จัดงานเฉลิมฉลอง ๔๐ ปี ทุนชีฟนิ่ง

14 Mar 2024
163

เมื่อวันที่ ๒๙ ก.พ. ๒๕๖๗ เวลา ๑๖.๒๐-๒๐.๐๐ น. ที่สมาคมสโมสรอังกฤษ กรุงเทพฯ ถนนสุรวงศ์ สมาคมนักเรียนทุนชีฟนิ่ง (ประเทศไทย) (Thailand Chevening Alumni Association) จัดงานเฉลิมฉลองครบรอบ ๔๐ ปี ของทุนการศึกษาชีฟนิ่ง (Chevening Scholarship) ทุนระดับปริญญาโทเพื่อการศึกษาต่อ ณ สหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นทุนการศึกษาที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลอังกฤษก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ ๒๓ ม.ค. ๒๕๖๗ สมาคมนักเรียนทุนชีฟนิ่ง ไทยแลนด์ ได้เชิญชวนศิษย์เก่าเข้าเสนอชื่อนักเรียนทุนฯ ที่มีผลงานโดดเด่นในด้านต่างๆ อาทิ การเมือง การทูต เศรษฐกิจ สาธารณสุข วัฒนธรรม การช่วยเหลือสังคม ชุมชน สิ่งแวดล้อม ความมั่นคง และการส่งเสริมและสนับสนุน Chevening Alumni Network ตลอดจนสาขาอื่นๆ เพื่อคัดเลือกเข้ารับรางวัลศิษย์เก่าดีเด่นกว่า ๔๐ รายการ โดยผู้ที่ได้รับการคัดเลือกจะได้รับเกียรติบัตรจากทางสมาคมนักเรียนทุนชีฟนิ่งฯ และสถานทูตอังกฤษ ภายในวันนี้ (๒๙ ก.พ. ๒๕๖๗) ทางสมาคมฯ ได้จัดงานดังกล่าวขึ้นเพื่อมอบรางวัลแด่ศิษย์เก่าที่สร้างผลงานโดดเด่น เป็นจำนวน ๔๐ รางวัล และจัดงานเสวนาจากศิษย์เก่าผู้ได้รับรางวัล โดยมีผู้เข้าร่วมเสวนา โดย กรุณา บัวคำศรี นักสารคดีเชิงข่าว, พงศธร พอกเพิ่มดี รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข, กรกนก วัฒนภูมิ ทนายความและที่ปรึกษาทางกฎหมายทางสิ่งแวดล้อม จากองค์กรเอิร์ธไรท์ อินเตอร์เนชั่นแนล (Earth Rights International) และ ชัชชาเวช ชิตวรากร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สำนักงานกฎหมายสากล สยามพรีเมียร์ จำกัด และปิดท้ายงานด้วยกิจกรรมสร้างเครือข่ายของนักเรียนทุนชีฟนิ่งคุณคเณศ วังส์ไพจิตร ประธานสมาคมนักเรียนทุนชีฟนิ่ง ไทยแลนด์ ได้กล่าวต้อนรับ ผู้เข้าร่วมงานทุกคนในวันนี้ว่าทุนการศึกษาชีฟนิ่ง ได้เดินทางมาถึงปีที่ ๔๐ ด้วยการสนับสนุนจากรัฐบาลสหราชอาณาจักร โดยวันนี้ เขาได้อาสาทำงานให้กับชีฟนิ่งมามากกว่า ๑๕ ปี และได้ตั้งสมาคมมาได้ครบ ๖ ปี โดยเขาประทับใจและตื้นตันใจเป็นอย่างมาก และเชื่อว่านักเรียนทุนทุกท่านที่อยู่ในที่แห่งนี้ มีทุนการศึกษาชีฟนิ่งเป็นแรงผลักดันสำคัญที่ทำให้ทุกคนมีวันนี้ได้ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ในอนาคตนักเรียนทุนทุกคนจะกลับประเทศของเราเพื่อช่วยกันเสริมสร้างให้ชุมชนของนักเรียนทุนชีฟนิ่งมีความเข้มแข็งมากขึ้น ต่อมา ฯพณฯ นายมารค์ กูดดิ้ง เอกอัครราชทูตอังกฤษ ประจำประเทศไทย ขึ้นกล่าวเปิดงานและมอบเกียรติบัตรให้กับศิษย์เก่าดีเด่นจำนวน ๔๐ คน โดยเขาได้กล่าวแสดงความยินดีโดยสรุปว่า เขามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งสำหรับการเฉลิมฉลองในวันนี้ ทุนชีฟนิ่งดำเนินการมาตั้งแต่ปี ค.ศ. ๑๙๘๓ และได้ให้โอกาสกับนักเรียนทุนมามากกว่า ๕๗,๐๐๐ คนทั่วโลก ขอบคุณทุกท่านที่อาสาทำงานให้กับสมาคมนักเรียนทุนชีฟนิ่ง มาอย่างยาวนาน และยินดีเป็นอย่างมากที่ได้เห็นว่ามีนักเรียนไทยได้รับทุนการศึกษาจากรัฐบาลมาอย่างต่อเนื่อง และจากการคัดสรร มีบุคคลที่ได้รับรางวัล ดังนี้๑.ผู้ช่วยศาสตราจารย์พญ.ลลิดา ปริยกนก ผู้อำนวยการศูนย์ดวงตาสภากาชาดไทย สาขาการแพทย์๒.ด็อกเตอร์นพ.พงศธร พอกเพิ่มดี ปลัดกระทรวงสาธารณสุข สาขานโยบายสาธารณสุข๓.คุณเดชาภิวัฒน์ ณ สงขลา อดีตผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ สาขาบริหารรัฐกิจ๔.คุณดำเกิง ฐิตะปิยะศักดิ์ ศิลปินศิลปาธร ประจำปี พ.ศ.๒๕๖๒ สาขาศิลปะและวัฒนธรรม๕.คุณกรุณา บัวคำศรี นักข่าวเชิงสารคดี สาขาสื่อสารมวลชน๖.คุณสุณัย ผาสุก ที่ปรึกษา Human Rights Watch ประจำประเทศไทย สาขาสิทธิมนุษยชน๗.ด็อกเตอร์นายแพทย์พิทักษ์พล บุณยมาลิก เลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ สาขาสิทธิมนุษยชน๘.คุณเศรษฐจักร ลียากาส ผู้บริหารสูงสุดกำกับการปฏิบัติงาน ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) สาขาการบริหารธุรกิจ๙.ด็อกเตอร์เสรี นนทสูติ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาองค์กรภาครัฐ สาขาสิทธิมนุษยชน ด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม๑๐.คุณมนฑิรา นาควิเชียร หัวหน้าฝ่ายสื่อสารองค์การเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติ (UN Women) ประจำภูมิภาคอาหรับ สาขาสิทธิสตรี๑๑.คุณกฤษฎา บุญราช อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และอดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย สาขาบริหารรัฐกิจ๑๒.คุณประวิตร โรจนพฤกษ์ ผู้สื่อข่าวอาวุโส ข่าวสดภาคภาษาอังกฤษ สาขาสื่อสารมวลชน๑๓.ด็อกเตอร์มานพ อุดมเกิดมงคล นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสจาก United Nations Resident Coordinator (UNRCO) สาขาความยั่งยืน๑๔.คุณพีรพล นนทสูติ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ฝ่ายขายและการตลาด บริษัท แกรนด์ แอสเสท โฮเทล แอนด์ พรอพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) สาขาบริหารธุรกิจ๑๕.คุณชัชเวศย์ ชิตวรากร Managing partner สำนักงานกฎหมายสากล สยามพรีเมียร์ จำกัด สาขากฎหมายธุรกิจ๑๖.พญ.มิ่งขวัญ สุพรรณพงศ์ ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม สาขานโยบายสาธารณสุข๑๗.คุณเขมสุดา เริงวรรณ ผู้อำนวยการ สำนักกำกับและตรวจสอบผู้ให้บริการชำระเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย สาขาการธนาคารและการเงิน๑๘.คุณเอด้า จิรไพศาลกุล กรรมการผู้จัดการ เทใจดอทคอม สาขาผู้ประกอบการและนวัตกรรม๑๙.คุณอิงพร ศิริกุลบดี ผู้จัดการฝ่ายนโยบายสาธารณะ Facebook ประเทศไทย สาขา Women in Tech๒๐.ด็อกเตอร์ณัฐพล ชิณนะวงษ์ ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย สถานทูตอังกฤษ ประจำประเทศไทย และนักกฎหมาย สำนักงาน เนติพัฒน์ ทนายความ สาขากฎหมาย๒๑.คุณนภพัฒน์จักษ์ อัตตนนท์ บรรณาธิการบริหาร workpointTODAY สาขาสื่อสารมวลชน๒๒.คุณโรยทราย วงศ์สุบรรณ ที่ปรึกษาโครงการองค์การฟรีด้อมฟันด์ (Freedom Fund) สาขาสิทธิมนุษยชน๒๓.คุณธิดารัตน์ ยิ่งเจริญ นักการเมือง สาขาการเมือง๒๔.คุณวีรชัย ประยูรพฤกษ์ ประธานเจ้าหน้าที่ด้านความปลอดภัยของข้อมูล กลุ่มบริษัทโตเกียวมารีนประกันภัย สาขาวิทยาศาสตร์๒๕.คุณจินตนา สกุลบริรักษ์ เจ้าหน้าที่ด้านการพัฒนาและสันติภาพ สำนักงานประสานงานองค์การสหประชาชาติ ประเทศไทย สาขาการพัฒนาและสันติภาพ๒๖.คุณเมนะกา ฐิตสาโร เลขานุการเอก สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ สาขาการทูต๒๗.คุณแนท ไกรเพชร ที่ปรึกษาด้านการมีส่วนร่วมและความเท่าเทียมทางเพศ โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) สาขาความเท่าเทียมทางเพศและการมีส่วนร่วมทางสังคม๒๘.พระมหานภันต์ สนฺติภทฺโท (ถาวรบรรจบ) ประธานมูลนิธิสถาบันการจัดการวิถีพุทธเพื่อสุขและสันติ (มูลนิธิ สกพ.) สาขาการพัฒนาและสันติภาพ๒๙.คุณกรกนก วัฒนภูมิ ทนายความและที่ปรึกษาทางกฎหมายทางสิ่งแวดล้อม จากองค์กรเอิร์ธไรท์ อินเตอร์เนชั่นแนล (Earth Rights International) สาขาสิ่งแวดล้อม๓๐.คุณบุษยาภา ศรีสมพงษ์ ผู้ก่อตั้งองค์กร SHero สาขาการรณรงค์ด้านการยุติความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศ๓๑.คุณกวินตรา เทียมไสย์ ผู้จัดการฝ่ายสื่อสารภายในระดับโลก บริษัท อีส-เวสท์ ซีด จำกัด สาขา ความหลากหลาย ความเท่าเทียม และการมีส่วนร่วม๓๒.คุณนาดา ไชยจิตต์ อาจารย์ประจำสำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง สาขาสิทธิมนุษยชน๓๓.คุณทศพล ชัยสัมฤทธิ์ผล ผู้สื่อข่าวอาวุโส-ผู้จัดการทีม สำนักข่าวบีบีซีไทย สาขาสื่อสารมวลชน๓๔.คุณวรรณพงศ์ ยอดเมือง เจ้าหน้าที่โครงการอาวุโส มูลนิธิ Asia Pacific Transgender Network สาขาสิทธิคนข้ามเพศ๓๕.คุณสิริประภา สำราญเวทย์ เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน สภาความมั่นคงแห่งชาติ สาขาส่งเสริมความสัมพันธ์ไทยและสหราชอาณาจักร๓๖.คุณธนกานต์ ปัญจลักษณ์ เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน สภาความมั่นคงแห่งชาติ สาขาส่งเสริมความสัมพันธ์ไทยและสหราชอาณาจักร๓๗.คุณชนาธิป ตติยกรุณวงส์ นักวิจัยระดับภูมิภาค (ไทยและลาว) แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล สาขาสิทธิมนุษยชน๓๘.คุณธันยมัย อนันตกรณีวัฒน์ นักสื่อสารมวลชน สาขาความยั่งยืนและธุรกิจหมุนเวียน๓๙.คุณชิตษนุพงศ์ ผู้ก่อตั้งองค์กร Young Pride Club สาขาสิทธิความหลากหลายทางเพศและเยาวชน๔๐.คุณอัจฉราพรรณ นิมิตกุลพร ผู้จัดการโคงการ โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) สาขาการพัฒนาและสันติภาพในเวลา ๑๗.๒๐ น. งานเสวนาแบ่งปันประสบการณ์ ในฐานะนักเรียนทุนชีฟนิ่ง ได้เริ่มต้นขึ้น โดยผู้ดำเนินการสนทนาคือ คุณเพียร เพลินบรรณกิจ และ คุณนภพัฒน์จักษ์ อัตตนนท์ และผู้ร่วมเสวนาแบ่งปันประสบการณ์ ได้แก่ คุณกรุณา บัวคำศรี นักสารคดีเชิงข่าว, คุณพงศธร พอกเพิ่มดี รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข, คุณกรกนก วัฒนภูมิ ทนายความและที่ปรึกษาทางกฎหมายทางสิ่งแวดล้อม จากองค์กรเอิร์ธไรท์ อินเตอร์เนชั่นแนล (Earth Rights International) และ คุณชัชเวศย์ ชิตวรากร Managing partner สำนักงานกฎหมายสากล สยามพรีเมียร์ จำกัดคุณพงศธร พอกเพิ่มดี เริ่มต้นเล่าประสบการณ์ในสมัยที่ได้รับทุนการศึกษาชีฟนิ่งว่า เขาเคยอยากเป็นหมอศัลยกรรม เพราะไม่อยากจะใช้ชีวิตอยู่ในห้องผ่าตัดตลอดเวลา และตัดสินใจเปลี่ยนสายการแพทย์มาทางนโยบายสาธารณสุข ก็เนื่องจากที่ประเทศอังกฤษ เป็นหนึ่งในประเทศตัวอย่างของประเทศที่มีระบบสาธารณสุขที่ดีระดับโลก และจริงๆ ก็ไม่คิดว่า ๒๐ กว่าปีให้หลังจะได้มีโอกาสกลับมาทำเรื่องสาธารณสุขให้กับประเทศในโครงการ ‘๓๐ บาทรักษาทุกที่’ และในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙ ก็ได้รับมอบหมายให้พัฒนาแอปพลิเคชัน ‘หมอพร้อม’ เพราะวัคซีนกำลังจะมา แต่ส่วนตัวไม่มีประสบการณ์ความรู้ด้านดิจิทัลเลย และมีเวลาสั้นมากในการเรียนรู้เรื่องนี้ แต่มันก็เป็นเรื่องท้าทายกับเราเหมือนกัน ซึ่งเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่เรามีความทรงจำที่ดีตลอดระยะเวลาการทำงานที่เป็นผลพวงมาจากทุนชีฟนิ่งส่วนประสบการณ์ของการเรียนในอังกฤษที่ประทับใจ คุณพงศธรเล่าว่า การใช้ชีวิตอยู่ในโรงพยาบาลอำเภอเล็กๆ ซึ่งเขาเป็นหมอในโรงพยาบาลคนเดียวตลอด ๓ ปี เป็นช่วงเวลาที่เป็นความทรงจำที่ดีทั้งนี้ คุณพงศธร ได้กล่าวว่า “ทุนชีฟนิ่งเป็นเหมือนประตูสู่หลายเรื่อง การเดินผ่านประตูนี้อาจจะไม่ง่าย แต่ในความยาก มันให้มาซึ่งคือความน่าเชื่อถือของตัวเอง การสร้างสรรค์วิธีการใหม่ๆ ที่ได้เรียนรู้จากนานาชาติ จากมหาวิทยาลัยของอังกฤษ นำมาสู่การเติมเต็มงานที่เราทำ ตลอดจนสร้างระบบการคิด การเรียนรู้ ซึ่งเป็นโจทย์ที่สำคัญมาก วิธีคิดที่ได้จากความหลากหลายในสังคมที่เปิดกว้าง จะทำยังไงให้เราไปพัฒนาสังคมของเราต่อได้”โดยคุณพงศธร ได้ทิ้งท้ายไว้ว่าถ้าให้คิดถึงคำศัพท์ที่เป็นความรู้สึกในสมัยที่เรียนอยู่อังกฤษก็คงเป็นคำว่า ‘Culture’ หรือการไปเห็นวัฒนธรรม ความหลากหลายของคนในสังคมที่แตกต่างกับเรา ทำให้เราเข้าใจความหลากหลายทางวัฒนธรรม เอามาปรับใช้และสร้างโอกาสในการเปลี่ยนแปลงด้าน คุณกรุณา บัวคำศรี เล่าประสบการณ์ว่า การเป็นนักเรียนทุนชีฟนิ่งของเธอเริ่มต้นขึ้นในช่วงปี ๑๙๙๖-๑๙๙๗ เป็นช่วงที่เกิดวิกฤติทางการเงินในประเทศไทย ในตอนนั้นเธอได้มีโอกาสไปเรียนด้านนโยบายทางสิ่งแวดล้อม (Environmental Policy) ที่มหาวิทยาลัย Sussex ปัจจุบันเธอทำงานเป็นผู้สื่อข่าวของสถานีโทรทัศน์ PPTVกรุณาเปิดเผยว่า ในช่วงเวลาดังกล่าว เธอสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อม นโยบาย และประเด็นสังคมที่หลากหลายและหากไม่มีชีฟนิ่ง เธออาจไม่ได้มีโอกาสมากมายอย่างในทุกวันนี้ “ในตอนที่ได้รับทุนมีอายุ ๒๗ ปี ตอนนั้นอยากเป็นผู้สื่อข่าวมาก เพราะไม่อยากทำงานออฟฟิศ และเป็นเราเป็นคนที่ชอบออกไปข้างนอก ไปเจออะไรที่มันไม่ใช่โต๊ะทำงาน มีความฝันอยากจะเป็นนักข่าวมาตลอด”เธอเล่าต่อว่า เมื่อเรียนจบปริญญาตรี ก่อนหน้าที่จะได้รับทุนการศึกษานี้ เธอก็ได้เป็นนักข่าวโดยมีประสบการณ์ทำงานกับสำนักข่าว Bangkok post ซึ่งเป็นสำนักข่าวภาคภาษาอังกฤษ เธอบอกว่าตัวเองเป็นเด็กบ้านนอก และไม่ใช่คนเรียกเก่งนัก แต่เพราะเธอต้องการที่จะเห็นโลกมากกว่านี้ จึงได้พยายามฝึกฝนภาษาอังกฤษที่ไม่แข็งแรงของตัวเอง และด้วยความฝันที่อยากจะเห็นโลกมากเธอก็ได้พยายามลองสมัครขอทุนการศึกษาชีฟนิ่งกรุณา ย้อนกลับไปถึงประสบการณ์ในตอนที่เธอถูกเรียกสัมภาษณ์จากแหล่งทุน “เขาถามเราว่าเราจะมั่นใจได้อย่างไรว่า เราจะทำประโยชน์ให้สังคมไทยได้ เธอตอบว่าตัวเธอก็ไม่แน่ใจ แต่ขอให้เธอได้พิสูจน์มัน” กรุณาบอกว่าในตอนนั้น คนที่สัมภาษณ์บอกว่านั่นเป็นครั้งแรกที่เขายอมให้คนเกรดไม่ดีได้ทุนการศึกษานี้แต่เมื่อได้โอกาสนี้แล้ว กรุณากล่าวต่อไปว่า เธอได้ตั้งใจจะทำให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ ชีฟนิ่งได้ให้โอกาสเธอได้เจอเพื่อนมากมาย อันเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เธอได้มองเห็นสังคมใหม่ และได้เข้าใจความเป็นมนุษย์มากขึ้นช่วงเปลี่ยนผ่านของชีวิตการทำงาน เธอเปิดเผยว่าตัวเองเคยโดนไล่ออกจาก itv ในช่วงที่ทักษิณเป็นนายกฯ “ในสมัยก่อน เราเป็นนักกิจกรรมในช่วงพฤษภาทมิฬ และด้วยความตั้งใจจะเป็นนักข่าว เราอยากให้สื่อเป็นสื่ออิสระ ที่ปราศจากการแทรกแซงจากรัฐ แต่ตอนนั้นทักษิณมาเข้าซื้อหุ้น ซึ่งเราก็ไม่เห็นด้วย และราคาที่เราต้องจ่ายคือเราต้องออกจากงาน” แต่สิ่งนั้นไม่ได้ทำให้เธอกลัวกับการตกงาน เพราะเธอรู้ว่าสิ่งที่เธอได้รับมาจากประเทศอังกฤษ ได้หล่อหลอมให้ตัวเองมีความมั่นใจ และทำให้ได้เห็นว่าอิสรภาพมันสำคัญแค่ไหนกับชีวิตคนคนหนึ่งและหากให้กรุณานึกถึงคำศัพท์ในสมัยที่ใช้ชีวิตอยู่ในอังกฤษ เธอบอกว่าคำแรกก็คงเป็น ‘Fish and Chip’ “เพราะว่าตอนเรียน หอเรามันมีร้านขาย Fish and Chip พอมีฝนตก หรืออากาศหนาว และต้องอ่านหนังสือ เราก็จะลงไปกินทุกวัน เพราะว่าอย่างอื่นมันไม่อร่อย” (หัวเราะ)ส่วนอีกคำคือ Free speech โดยเธอกล่าวว่า “เพราะว่าเรามาจากสังคมที่เราอยู่ในโมงยามที่เราพูดอะไรไม่ได้ โดยเฉพาะในช่วงที่เราเป็นนักศึกษา พอไปอีกสังคมที่เราสามารถพูดทุกอย่างได้ มันเหมือนเราได้หายใจในอากาศสะอาดและรู้สึกว่าโลกมันสดใส”สำหรับคุณกรุณาแล้ว ชีฟนิ่งเป็นมากกว่าทุนการศึกษา แต่เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงชีวิตของเด็กผู้หญิงคนหนึ่งที่ไม่มีต้นทุนทางสังคม และยังไม่รู้ด้วยว่าชีวิตตัวเองต้องการอะไร“การได้ทุน มันทำให้เรารู้สึกว่าเรามีภาระที่เราต้องพิสูจน์อะไรบางอย่างว่าเราจะใช้โอกาสที่เราได้มาให้ดีที่สุด เพราะฉะนั้น ขอพูดถึงคนที่อยากสมัครทุนนี้ว่า ทุกวันนี้มันไม่ง่ายที่เราจะทำอะไรสักอย่างที่เราอยากทำ อยากจะเป็นอะไรสักอย่างที่เราอยากเป็น อาจจะพูดได้ว่าพี่โชคดีที่เกิดในช่วงที่มันไม่มีการแข่งขันสูง แต่ตอนนี้มันมีการแข่งขันสูงมาก การศึกษาที่ประเทศอังกฤษช่วยสร้างระบบความคิดและการวิเคราะห์ แต่ที่ประเทศไทยทุกวันนี้ เราสอนกันด้วยการท่องจำ และเราไม่ค่อยจะตั้งคำถามสักเท่าไหร่ แต่เมื่อเราไปอยู่ในอีกสังคมหนึ่งบรรยากาศมันต่างกันโดยสิ้นเชิง มันไม่ใช่แค่เรื่องที่เรามีทรัพยากร แต่มันคือการปักหลักให้กับชีวิตของเราเอง”ส่วนเคล็ดลับที่ให้ประสบความสำเร็จสิ่งที่เป็นข้อควรระวัง คุณกรุณาเปิดเผยว่า ส่วนตัวคือทำในสิ่งที่คุณรัก ‘Do what your love and follow your haert’คุณกรกนก วัฒนภูมิ เปิดเผยประสบการณ์การเป็นนักเรียนทุนชีฟนิ่งรุ่น ๒๐๑๘-๒๐๑๙ เธอกล่าวว่าตัวเองได้ไปศึกษาด้านกฎหมายสิทธิมนุษยชน ซึ่งมีความท้าทายไม่ใช่เรื่องเรียนแต่เป็นเรื่องเที่ยวมากกว่า เธอได้มีโอกาสได้เห็นความแตกต่างทั้งมหาวิทยาลัยและสภาพแวดล้อม และได้มีโอกาสไปอยู่บ้านโฮสต์ มันได้เห็นวิถีชีวิตของคนอังกฤษจริงๆ คือโดนปลุกให้เราไปดื่มชาแล้วนอนต่อ มันเป็นอะไรใหม่ของชีวิตมากๆ ยังดีที่ได้ไปเรียนก่อนช่วงโควิด เธอยังได้มีโอกาสเดินทางไปเที่ยวอยู่บ้างทั้งนี้ คุณกรกนกกล่าวว่า แม้เธอจะเรียนเรื่องกฎหมายสิทธิมนุษยชน แต่ก็เน้นไปทางเรื่องธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน เธอมีความสนใจเป็นพิเศษในเรื่องนี้มาก และความรู้ที่ได้กลับมามันก็เป็นความประทับใจอย่างหนึ่ง เพราะ เธอได้มีโอกาสไปทำคดีฟ้องรัฐเรื่องฝุ่น pm ๒.๕ ที่เชียงใหม่ในจุดที่ออกข่าวว่าเชียงใหม่เป็นเมืองที่มลพิษติดระดับโลก สื่อเริ่มให้ความสนใจ ตอนนั้น คุณกรกนกยอมรับว่าตัวเองไม่รู้ว่าจะทำอะไรได้ นอกจากซื้อหน้ากากอนามัยกับเครื่องฟอกอากาศ“แต่มันยังมีคนอีกเยอะมาก ที่เขาไม่มีกำลังซื้อสิ่งเหล่านั้น สิ่งที่เรากับเพื่อนทำคือการทำคดีฟ้องรัฐกับศาลปกครอง มีคนมาช่วยกันลงชื่อกว่าพันคน ตอนนั้นเราก็ใช้หลักสิทธิมนุษยชนด้านสุขภาพ สิ่งแวดล้อม และอธิบายด้านสิทธิมนุษยชนเข้าไปในคำฟ้อง และนำความรู้ที่เราได้เรียน ไปให้ภาครัฐที่เกี่ยวข้องใช้สร้างเครื่องมือควบคุมดูแลฝุ่นที่เป็นปัญหา”คุณกรกนก เล่าต่อไปว่าถึงแม้สุดท้ายศาลจะยกฟ้องคดีของเธอไป แต่มันได้สร้างปรากฏการณ์ใหม่ให้กับสังคมแล้ว และตอนนี้คนในสังคมไทยก็ได้เข้าใจมากขึ้นแล้วว่าภัยจาก PM ๒.๕ เป็นอย่างไร ใครที่มีส่วนต้องเข้ามาแก้ปัญหาบ้างและเมื่อนึกถึงชีวิตที่อังกฤษ คุณกรกนกกล่าวว่า เธอคิดถึง ‘Man U’ เพราะเป็นเป้าหมายหลักที่ทำให้เธออยากไปเรียนที่อังกฤษ แต่คำที่อยากพูดจริงๆ คือคำว่า ‘ประชาธิปไตย’ เพราะเธอรู้สึกว่าที่อังกฤษเป็นต้นแบบระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยที่เป็นตัวอย่างได้ มันมีสิทธิเสรีภาพ มีอิสรภาพ มีคุณภาพชีวิตที่ดี และทุกอย่างนั้นก็มาจากโครงสร้างพื้นฐานที่เรียกว่าประชาธิปไตยคุณกรกนกปิดท้ายว่า “ทุนชีฟนิ่งเป็นทุนที่เปิดโอกาสให้ทุกคน ไม่ต้องเก่ง แต่ว่าเราต้องมีความมุ่งมั่น มีความตั้งใจที่จะเป็นผู้นำสักเรื่องและพัฒนาศักยภาพของตัวเราเอง มันมีหลักสูตรมากมาย ถ้าเราไปเปิดดูหลักสูตรมันมีอะไรแปลกๆ เยอะมาก ซึ่งองค์ความรู้ตรงนี้มันจะกลับมาทำให้เราเสริมสร้างศักยภาพ ให้งานตัวเองให้ประเทศตัวเอง ถ้าสังคมดีขึ้น ประเทศไทยก็จะดีขึ้น”คุณชัชเวศย์ ชิตวรากร เปิดประสบการณ์การเป็นนักศึกษาทุนชีฟนิ่งในรุ่น ๒๐๐๓-๒๐๐๔ ของเขา โดยเขาได้ไปเรียนด้านกฎหมาย คุณชัชเวศย์แบ่งปันให้ฟังถึงสิ่งที่ประทับใจคือเรื่องของระบบความคิด เขาบอกว่าประเทศไทยตอนนั้นมันมีแต่การสอนแบบอ่านให้ฟัง จดและจำและไปสอบ แต่สิ่งที่ไปที่อังกฤษ สิ่งที่เขาให้ทำคือเขาให้เราไปอ่านก่อน แล้วมาดีเบต เลยคิดว่าถ้าไม่ได้ทุนจากชีฟนิ่ง เราคงไม่ได้มีความคิดแบบทุกวันนี้ทั้งนี้ เมื่อย้อนกลับไปตอนถูกสัมภาษณ์ทุนการศึกษา เขาถูกตั้งคำถามว่าตัวเองอยากทำอะไร และก็ได้ตอบไปว่าอยากทำกฎหมาย “ตอนนั้นผมอยากเป็นอาจารย์พิเศษ ซึ่งตอนนี้ผมก็ได้ทำแล้ว เป็นอาจารย์สอนกฎหมายอยู่ที่จุฬาลงกรณ์ และผมก็อยากเข้าไปมีส่วนร่วมในการร่างกฎหมายต่างๆ เวลาที่กฎหมายราชการมีกฎหมายย่อยอะไรมา ผมก็ได้ช่วยอนุกรรมการร่างกฎหมายอยู่ ๑ อนุกรรมการ”คุณชัชเวศย์ เล่าว่า แม้เขาจะอยู่ในภาคเอกชน แต่ก็ภูมิใจที่ได้เป็นฟันเฟืองหนึ่งที่ทำให้ธุรกิจและเศรษฐกิจของประเทศหมุนไปได้ส่วนสิ่งที่ประทับใจหลังจากการมาจากการเรียนต่อที่อังกฤษ คือที่บริษัทต้องทำงานเป็นที่ปรึกษาทางกฎหมายในการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติเยอะ และมีลูกความต่างชาติจำนวนมาก เราปฏิเสธไม่ได้ว่าประเทศเราก็ต้องการเงินลงทุนจากต่างชาติ ซึ่งสิ่งที่ประทับใจจริงๆ มีเคสที่เราปฏิเสธแต่เขาก็ยืนยันว่าสิ่งที่เขากำลังจะมันสำคัญมาก คือเขาต้องการให้เราขยายขอบเขตงาน เพื่อให้ได้ระบบงานทางการลงทุน เพื่อไม่ให้ประเทศไทยเสียโอกาสทางการแข่งขันสุดท้าย เราไปประชุมและทำงานนำเสนอออกมาให้กับหน่วยงานภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องฟัง สุดท้ายมันนำไปสู่การแก้ไขกฎหมายได้จริง ซึ่งชัชเวศย์ ได้เปิดเผยต่อไปว่าถ้าตอนนั้นเราไม่ได้ระบบนั้นมา เราก็อาจเสียโอกาสทางเศรษฐกิจไป สิ่งนี้คือความภูมิใจเล็กๆ น้อยๆ จากมุมมองของเขาในการทำงานส่วนภาคเอกชนทั้งนี้ คุณชัชเวศย์ กล่าวว่า หากต้องนึกถึงคำหนึ่งคำที่คิดถึงในตอนที่สมัยเรียนอังกฤษ เขาคงจะคิดถึง ‘Beer’ และ ‘Thoung process’ เพราะความประทับใจในระบบการศึกษาและสังคมของประเทศอังกฤษ“สิ่งที่ได้จากโอกาสในทุนนี้ ผมคิดว่าเป็นเรื่องระบบความคิดทุนชีฟนิ่ง เป็นทุนให้เปล่าที่สำคัญมาก สิ่งที่เรากลับมาจากความพยายามคือเครือข่ายชุมชนของนักศึกษาทุนนี้ และที่มากกว่านั้น มันไม่ใช่แค่ประเทศไทย มันมีอีกหลายประเทศที่มีเครือข่ายแบบนี้อยู่”ในช่วงท้ายของงาน คุณก้าวหน้า เสาวกุล ตัวแทนกรรมการ และฝ่ายประชาสัมพันธ์ของสมาคมนักเรียนทุนชีฟนิ่ง ประจำประเทศไทย ได้ขึ้นกล่าวปิดงานว่า งานเฉลิมฉลองในวันนี้ ถูกจัดขึ้นมาเพื่อพัฒนาชุมชนของนักเรียนทุนชีฟนิ่ง ซึ่งเขาได้ถือโอกาสเปิดตัวเว็บไซต์ของสมาคมนักเรียนทุนชีฟนิ่ง ประเทศไทย (https://tcaa.or.th/) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้นักเรียนทุนสามารถติดต่อหากันได้ง่ายมากขึ้น โดยเขาหวังเป็นอย่างยิ่งว่าในการพัฒนาเว็บไซต์ครั้งต่อไป ทางสมาคมจะได้ข้อมูลของศิษย์เก่าทุกคนในการพัฒนาโปรไฟล์ของนักเรียนทุนฯ มากขึ้นอีกด้วย