Sunday, 19 January 2025

คอมเพล็กซ์ไก่ไข่จักราช ต้นแบบฟาร์มลดโลกร้อน

15 Mar 2024
139

“โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ ตามแผนขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ BCG Model ประจำปี ๒๕๖๗ เป็นหนึ่งในโครงการต้นแบบของการพัฒนา การผลิตแบบคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน โดยเชื่อมโยงยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยด้วยเศรษฐกิจ BCG และยุทธศาสตร์ระยะยาวในการพัฒนาแบบปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศ เป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการบรรลุเป้าหมาย Carbon Neutrality ของไทย ในปี ๒๐๕๐ และเป้าหมาย Net-Zero GHG Emission ในปี ๒๐๖๕” นายรองเพชร บุญช่วยดี รองผู้อำนวย การองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. บอกถึงที่มาของโครงการที่มีเป้าหมายส่งเสริมให้ภาคอุตสาหกรรมไทยตระหนักและช่วยกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยได้คัดเลือก ๖ จาก ๓๐ บริษัทเข้าร่วมโครงการ พิจารณาจากความมุ่งมั่นและการมีเป้าหมายการลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวอย่างชัดเจน บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือซีพี เป็น ๑ ใน ๖ บริษัทที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมโครงการด้วยคอมเพล็กซ์ ไก่ไข่จักราช จ.นครราชสีมา มีการประยุกต์ใช้โมเดลเศรษฐกิจ BCG ตลอดห่วงโซ่การผลิตอาหาร โดยเฉพาะการนำของเสียไปใช้ประโยชน์สร้างมูลค่าเพิ่ม สามารถนำมาเป็นตัวอย่างของกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร “เราเป็นองค์กรเดียวในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารที่ได้รับคัดเลือกจาก อบก. และ VGREEN มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้เข้าร่วมโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำฯ เนื่องจากซีพีเอฟได้นำแนวทางเศรษฐกิจ BCG เข้ามาใช้ในกระบวนการผลิตอย่างจริงจัง ปัจจุบันคอมเพล็กซ์ไก่ไข่ของซีพีเอฟมีการใช้พลังงานหมุนเวียนในการดำเนินงานของฟาร์มร้อยละ ๘๐-๙๐ ของการใช้พลังงานทั้งหมด” นายสมคิด วรรณลุกขี ผู้อำนวยการใหญ่ธุรกิจไก่ไข่ ซีพีเอฟ เผยว่า การเข้าร่วมโครงการ จะมีการนำความรู้จากผู้เชี่ยวชาญมาพัฒนาต่อยอดในการดำเนินธุรกิจในรูปแบบ BCG เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรและลดการสูญเสียระหว่างกระบวนการผลิต รวมถึงการนำของเสียที่ต้องนำไปฝังกลบมาใช้ประโยชน์ เพื่อบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่จะนำไปสู่การสร้างความมั่นคงทางอาหาร และเป็นต้นแบบของอุตสาหกรรมอาหารที่มีการดำเนินงานที่รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของสินค้าไทยบนเวทีโลกได้ สำหรับคอมเพล็กซ์ไก่ไข่จักราช ซีพีเอฟได้ส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนภายในฟาร์ม จากการเปลี่ยนของเสียเป็นพลังงาน ได้รับรางวัลดีเด่น ด้านพลังงานทดแทน และยังเป็นตัวแทนระดับภูมิภาครับรางวัล ASEAN Energy Awards ๒๐๒๒ จากศูนย์พลังงานอาเซียน ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานจากแสงอาทิตย์เพิ่มเติม เพื่อนำไปสู่การเป็นฟาร์ม RE๑๐๐ ภายในปี ๒๕๖๗.ชาติชาย ศิริพัฒน์คลิกอ่าน “ข่าวเกษตร” เพิ่มเติม