Thursday, 7 November 2024

ก้าวไกลยื่นร่างแก้รัฐธรรมนูญต่อสภา เน้นเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรร. ๑๐๐% ฟื้นฟูประชาธิปไตย

“พริษฐ์” ยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับพรรคก้าวไกล เข้าสภา เน้นเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรร. ๑๐๐% เร่งเดินหน้าจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ โดยทำประชามติแค่ ๒ ครั้ง หวังประธานรัฐสภาทบทวน บรรจุทุกร่างเข้าวาระการประชุม วันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๖๗ นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) แบบบัญชีรายชื่อ และโฆษกพรรคก้าวไกล ยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญต่อประธานรัฐสภา ซึ่งมีเนื้อหาสาระสำคัญเกี่ยวกับการจัดให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรร.) ที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด เพื่อมาจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับนายพริษฐ์ กล่าวว่า แม้นายกรัฐมนตรีจะเคยประกาศในคำแถลงนโยบายต่อรัฐสภา ว่า วาระเรื่องการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เป็นนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล แต่ผ่านมากว่า ๖ เดือน ประชาชนยังไม่ได้เห็นภาพที่ชัดเจนว่าประเทศจะได้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ และภายในเมื่อใด ในขณะที่คณะกรรมการศึกษาแนวทางในการทำประชามติเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่รัฐบาลตั้งขึ้นมา นำโดย นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้แถลงผลสรุปไปเมื่อเดือนธันวาคม ๒๕๖๖ ว่า ได้เสนอให้รัฐบาลเดินหน้าจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ด้วยการทำประชามติ ๓ ครั้ง ซึ่งจะต้องเริ่มต้นจากการให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติให้จัดทำประชามติครั้งที่ ๑ ก่อน แต่ สส.พรรคเพื่อไทย นำโดย นายชูศักดิ์ ศิรินิล ได้เลือกเส้นทางในการพยายามเดินหน้าจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ด้วยการทำประชามติ ๒ ครั้ง ซึ่งเริ่มต้นจากการยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อให้มี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรร. มาจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา เมื่อเดือนมกราคม ๒๕๖๗ทั้งนี้ แม้พรรคก้าวไกลเราเข้าใจถึงเหตุผลในเชิงการเมืองที่ทำให้หลายฝ่ายมองถึงความจำเป็นในการจัดประชามติ ๓ ครั้ง แต่เรายืนยันมาตลอดว่า หากยึดตามรัฐธรรมนูญและคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ การจัดประชามติ ๒ ครั้ง เพียงพอแล้วในเชิงกฎหมาย ดังนั้น ในวันนี้ที่พรรครัฐบาลพร้อมจะเดินหน้าตามสูตรประชามติ ๒ ครั้ง พรรคก้าวไกลจึงตัดสินใจยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่อง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรร. ฉบับก้าวไกล ซึ่งเป็นขั้นตอนแรกในกระบวนการดังกล่าว สำหรับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่อง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรร. ฉบับก้าวไกล เป็นการเพิ่มหมวด ๑๕/๑ (การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่) และแก้ไขมาตรา ๒๕๖ (การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ) โดยมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้๑. จัดให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ ประกอบไปด้วยสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรร.) ๒๐๐ คน ที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท๑.๑) ๑๐๐ คนแบบแบ่งเขต ใช้จังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง โดยให้สมัครเป็นรายบุคคล ประชาชนสามารถเลือกผู้สมัครได้ ๑ คน และผู้สมัครที่ได้คะแนนสูงสุดจะได้รับเลือก๑.๒) ๑๐๐ คนแบบบัญชีรายชื่อ ใช้ประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง โดยให้สมัครเป็นทีม ประชาชนเลือกทีมผู้สมัครได้ ๑ ทีม และแต่ละทีมได้จำนวน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรร. ตามสัดส่วนคะแนนที่ได้รับทั้งนี้ ระบบเลือกตั้งที่มี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรร. ทั้ง ๒ ประเภท จะทำให้สภาร่างรัฐธรรมนูญมีทั้งตัวแทนเชิงพื้นที่ และตัวแทนเชิงประเด็น-กลุ่มอาชีพ-กลุ่มสังคม๒. กำหนดให้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรร. มีอำนาจในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทั้งฉบับ ตราบใดที่ไม่เป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือการเปลี่ยนแปลงรูปแบบรัฐ ตามที่บัญญัติไว้แล้วในรัฐธรรมนูญมาตรา ๒๕๕๓. กำหนดให้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรร. มีกรอบเวลาไม่เกิน ๓๖๐ วัน ในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพื่อให้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรร. มีเวลาเพียงพอในการรับฟังความเห็นอย่างรอบด้านและทำงานอย่างรอบคอบ ในขณะที่ไม่ทำให้กระบวนการมีความยืดเยื้อ จนทำให้เราได้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่อย่างล่าช้าจนเกินไป๔. กำหนดอายุขั้นต่ำของผู้สมัคร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรร. ไว้ที่ ๑๘ ปี ซึ่งสอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตยสากลว่า อายุขั้นต่ำสำหรับการลงสมัครรับเลือกตั้งตำแหน่งทางการเมืองใดๆ ก็ตาม มักยึดตามอายุขั้นต่ำในการมีสิทธิเลือกตั้ง๕. กำหนดให้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรร. มีคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญที่ประกอบไปด้วย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรร. ไม่น้อยกว่า ๒ ใน ๓ ของจำนวนกรรมาธิการ เพื่อให้ กมธ. มีตัวแทนที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนเป็นเสียงส่วนใหญ่ ขณะที่ยังเปิดพื้นที่ให้กับคนนอกที่ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรร. คัดเลือกและอนุมัติ เพื่อให้ กมธ. มีพื้นที่ให้กับผู้เชี่ยวชาญ-ผู้มีประสบการณ์ที่อาจไม่ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งโดยตรง๖. กำหนดให้มีการจัดทำประชามติหลังจากที่ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรร. จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เสร็จ เพื่อสอบถามประชาชนว่าเห็นด้วยหรือไม่กับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งสอดคล้องกับคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ ๔/๒๕๖๔๗. กำหนดให้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรร. มีอำนาจจัดทำพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ และส่งให้รัฐสภาพิจารณาเห็นชอบ หากรัฐสภาไม่เห็นชอบพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญฉบับใดของ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรร. รัฐสภาก็จะมีอำนาจในการรับไปทำต่อเอง ทั้งนี้ เพื่อประหยัดเวลาและป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน๘. กำหนดให้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรร. สามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อได้โดยไม่ถูกกระทบจากการยุบสภา หรือจากการที่สภา หมดวาระ เพื่อความต่อเนื่องของ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรร. และกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่๙. กำหนดให้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรร. ห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมือง เช่น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) สมาชิกวุฒิสภา (สว.) รัฐมนตรี ผู้บริหาร-สมาชิกสภาท้องถิ่น ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ หรือผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ ภายใน ๕ ปีแรก เพื่อป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน๑๐. ปรับเกณฑ์การแก้ไขรัฐธรรมนูญ (มาตรา ๒๕๖) โดยกำหนดให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญกระทำได้ หาก๑๐.๑) ได้รับความเห็นชอบเกินกึ่งหนึ่งของสมาชิกรัฐสภา ซึ่งประกอบไปด้วย สส. ที่มาจากการเลือกตั้ง และ สว. ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง และ๑๐.๒) ได้รับความเห็นชอบเกิน ๒ ใน ๓ ของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน๑๐.๓) เฉพาะในกรณีที่เป็นการแก้ไขเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ หรือการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ต้องได้รับความเห็นชอบจากประชาชนผ่านประชามติด้วย นายพริษฐ์ กล่าวต่อไป พรรคก้าวไกลทราบว่า ประธานรัฐสภาได้ตัดสินใจไม่บรรจุร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่อง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรร. ที่ถูกเสนอโดย สส.พรรคเพื่อไทย เข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมรัฐสภา โดยให้เหตุผลว่าคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ ๔/๒๕๖๔ กำหนดให้ต้องมีการจัดทำประชามติก่อนเสนอร่างดังกล่าวเข้าสู่รัฐสภา ในมุมมองของพรรคก้าวไกล การกระทำดังกล่าวของประธานรัฐสภา เป็นการตีความคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญและการตัดสินใจที่เราไม่เห็นด้วยโดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าประธานรัฐสภาจะทบทวนการตัดสินใจดังกล่าว และบรรจุร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่อง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรร. ของทั้งพรรคเพื่อไทยและพรรคก้าวไกลเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา เนื่องจากการเสนอร่างทั้ง ๒ ร่างดังกล่าวเข้าสู่รัฐสภาไม่ได้เป็นขั้นตอนหรือมีเนื้อหาสาระส่วนใดที่ขัดกับคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ ๔/๒๕๖๔ ซึ่งเพียงกำหนดไว้ว่าให้มีประชามติ ๑ ครั้ง ก่อนมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และประชามติอีก ๑ ครั้ง หลังมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่“ภารกิจในการฟื้นฟูประชาธิปไตยไม่สามารถประสบความสำเร็จได้ หากไม่มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่มีความชอบธรรมทางประชาธิปไตย โดยเราหวังว่าร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่อง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรร. ฉบับก้าวไกล ที่เรายื่นเข้าสู่รัฐสภาในวันนี้ จะเป็นหมุดหมายสำคัญในการเดินหน้าไปสู่เป้าหมายดังกล่าว”