Sunday, 19 January 2025

รวันดารำลึก ๓๐ ปี เหตุฆ่าล้างเผ่าพันธุ์กว่า ๘๐๐,๐๐๐ คน

ประธานาธิบดีรวันดา และผู้นำทั้งอดีตและปัจจุบันจากหลายประเทศ ร่วมพิธีรำลึก ๓๐ ปี เหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในรวันดา ที่มีผู้เสียชีวิตมากกว่า ๘๐๐,๐๐๐ คนเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา (๗ เม.ย.) ประธานาธิบดีพอล คากาเม ของรวันดา ได้ร่วมรำลึกครบรอบ ๓๐ ปีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในปี ๒๕๓๗ ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า ๘๐๐,๐๐๐ คน และกล่าวว่าเงื่อนไขที่นำไปสู่การสังหารหมู่จะไม่ได้รับอนุญาตให้มีอยู่ในการเมืองของรวันดาอีกการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ที่ดำเนินไปกว่า ๑๐๐ วัน เริ่มตั้งแต่วันที่ ๗ เมษายน ๒๕๓๗ ชนกลุ่มน้อยชาวทุตซี (Tutsi) ชาวฮูตู (Hutu) สายกลางบางส่วน และชาวทวา (Twa) และถูกสังหารหมู่โดยกลุ่มหัวรุนแรงชาวฮูตู ซึ่งนำโดยกองทัพรวันดาและกองกำลังติดอาวุธที่รู้จักกันในชื่อ “อินเตอร์ราฮัมเว” (Interahamwe)ประธานาธิบดีพอล คากาเม ของรวันดา และภริยา พร้อมด้วยผู้นำและอดีตผู้นำประเทศ ๓๗ คน มาร่วมพิธีวางพวงมาลาที่อนุสรณ์สถานการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในกรุงคิกาลี เมืองหลวงของรวันดา ซึ่งเก็บเถ้ากระดูกของผู้เสียชีวิตราว ๒๕๐,๐๐๐ คน ในการกล่าวสุนทรพจน์ในเวลาต่อมา นายคากาเมะขอบคุณประเทศต่างๆ ในแอฟริกา รวมถึงยูกันดา เอธิโอเปีย และแทนซาเนีย สำหรับความช่วยเหลือในการรับผู้ลี้ภัยชาวทุตซี และยุติการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ด้านอดีตประธานาธิบดีบิล คลินตัน ของสหรัฐฯ ซึ่งร่วมในพิธีรำลึกครั้งนี้ เรียกการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ว่าเป็นความล้มเหลวครั้งใหญ่ที่สุดของรัฐบาลสหรัฐฯ ในขณะนั้น ส่วนนายเอ็มมานูเอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส กล่าวในข้อความวิดีโอที่บันทึกไว้ว่าประเทศของเขาและพันธมิตรอาจหยุดยั้งการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ได้ แต่กลับไม่ได้ทำเช่นนั้นฝรั่งเศส ซึ่งอยู่ภายใต้การนำของประธานาธิบดีฟรองซัวส์ มิตแตร์รองด์ ในขณะนั้น เคยเป็นพันธมิตรใกล้ชิดของรัฐบาลอดีตประธานาธิบดี ฮูวีนัล ฮับยาริมานา ก่อนการสังหารหมู่ และรวันดากล่าวหาว่าฝรั่งเศสเพิกเฉยหรือขาดการแจ้งเตือน รวมถึงยังฝึกอบรมกองกำลังติดอาวุธที่ก่อเหตุฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ศาลอาญาระหว่างประเทศสำหรับรวันดา ซึ่งจัดตั้งขึ้นในประเทศแทนซาเนีย เมื่อปลายปี ๒๕๓๗ เพื่อดำเนินคดีกับผู้บงการการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ได้ปิดตัวลงในปี ๒๕๕๘ หลังจากตัดสินลงโทษผู้ต้องสงสัย ๖๑ คน นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ผู้ต้องสงสัยคนสำคัญก็ถูกจับได้หลังหลบหนีมานานหลายทศวรรษ และระบบยุติธรรมภายในของรวันดาได้จัดการกับคดีอีกเกือบ ๒ ล้านคดีนายคากาเม ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีมาตั้งแต่ปี ๒๕๔๓ แต่บริหารประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพนับตั้งแต่กลุ่มแนวร่วมรักชาติรวันดา ซึ่งเป็นกองกำลังกบฏของเขา เดินทัพเข้าสู่กรุงคิกาลีในปี ๒๕๓๗ เพื่อยุติการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ เขากล่าวว่าประเทศของเขามีความก้าวหน้าอย่างมากในช่วง ๓๐ ปีที่ผ่านมา นายคากาเมยังได้รับการยกย่องจากนานาชาติในการเป็นผู้นำด้านสันติภาพและการเติบโตทางเศรษฐกิจ นับตั้งแต่สิ้นสุดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์แต่เขายังเผชิญการวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก หลังกลุ่มสิทธิมนุษยชนกล่าวหาว่ามีการปราบปรามฝ่ายค้านทางการเมือง และการปกปิดข้อมูลของสื่ออิสระ ซึ่งเขาและรัฐบาลปฏิเสธ ประเทศตะวันตกยังกล่าวหารวันดาว่าสนับสนุนกลุ่มกบฏที่นำโดยกลุ่มกบฏ M๒๓ ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก รวันดาปฏิเสธการสนับสนุนกลุ่มกบฏ และในทางกลับกันกล่าวหาคองโกว่าสนับสนุนอีกกลุ่มหนึ่ง นั่นคือ กองกำลังประชาธิปไตยเพื่อการปลดปล่อยแห่งรวันดา (FDLR) ซึ่งก่อตั้งโดยชาวฮูตู ซึ่งหนีออกจากรวันดาหลังจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์นอกจากนั้น เนื่องในวาระครบรอบ ๓๐ ปี เหตุฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ องค์การยูเนสโก ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านวัฒนธรรมของสหประชาชาติ ยังได้เปิดเผยแผ่นป้ายที่ระบุให้สถานที่รำลึกการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ๔ แห่ง ให้เป็นแหล่งมรดกโลก.ที่มา Reutersติดตามข่าวต่างประเทศเพิ่มเติมที่ https://www.thairath.co.th/news/foreign