สถาบันเอเชียอาคเนย์ศึกษายูซุฟ อิสฮัค ของสาธารณรัฐสิงคโปร์สำรวจความคิดเห็นของผู้คน ๑,๙๙๔ คน ใน ๑๐ ประเทศสมาชิกอาเซียน โดยสำรวจเมื่อ ๓ มกราคม-๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๐๒๔ ด้วยคำถาม “หากต้องเลือกข้างระหว่างสหรัฐฯกับจีน ท่านจะเลือกร่วมมือกับฝ่ายไหน” คำตอบของผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ ๕๐.๕ เลือกจีน และร้อยละ ๔๙.๕ เลือกสหรัฐฯผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ ๓๓.๗ มาจากภาคเอกชน ร้อยละ ๒๔.๕ มาจากภาครัฐ ร้อยละ ๒๓.๖ มาจากสถาบันการศึกษา องค์กร คลังสมอง และสถาบันวิจัย ร้อยละ ๑๒.๗ มาจากองค์กรพัฒนาเอกชนและสื่อ และร้อยละ ๕.๖ มาจากองค์กรระดับภูมิภาคหรือระหว่างประเทศ เป็นการสำรวจผู้คนที่ทำงานในภาครัฐและเอกชน นักวิชาการ นักวิจัย ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อต้องการทราบทัศนคติของคนที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบายของประเทศและภูมิภาคผู้ตอบว่าอยากจะร่วมมือกับจีน เป็นชาวมาเลเซียร้อยละ ๗๕.๑ ชาวอินโดนีเซียร้อยละ ๗๓.๒ และชาวลาวร้อยละ ๗๐.๖ ที่เป็นเช่นนี้เพราะทั้ง ๓ ประเทศมีความสัมพันธ์ทางการค้าที่แข็งแรงกับจีน + ได้ประโยชน์จากโครงการริเริ่มแถบและเส้นทางหรือ BRI ของจีน ปัจจุบัน อินโดนีเซียใกล้ชิดกับจีนเป็นพิเศษ หลังจากชนะเลือกตั้งได้เป็นว่าที่ประธานาธิบดี ปราโบโว ซูเบียนโต ไปเยือนจีนเมื่อ ๑ เมษายน ๒๐๒๔ค.ศ.๒๐๒๓ จีนไปลงทุนในมาเลเซียเป็นมูลค่ามหาศาล บริษัทของรัฐบาลจีนก็กำลังเร่งลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานในลาว ส่วนสหรัฐฯยังคงได้รับความนิยมสูงในฟิลิปปินส์ โดยได้รับความนิยมมากถึงร้อยละ ๘๓.๓ ได้รับความนิยมในเวียดนามร้อยละ ๗๙ ที่เป็นเช่นนี้เพราะทั้งฟิลิปปินส์และเวียดนามมีปัญหากับจีนในเรื่องการอ้างสิทธิทับซ้อนในทะเลจีนใต้ จึงหันไปโปรสหรัฐฯมหาวิทยาลัยกริฟฟิทของออสเตรเลียศึกษาการลงทุนของจีนในเอเชีย-แปซิฟิก ค.ศ.๒๐๒๓ พบว่าการลงทุนของจีนในภูมิภาคไม่ใช่การลงทุนในภาคการเงิน แต่เป็นการลงทุนผ่านการก่อสร้าง มีข้อตกลงทั้งหมด ๙๔ ฉบับ มูลค่ารวม ๓.๗ หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๒๗.๕๙ จาก ๒.๙ หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯใน ค.ศ.๒๐๒๒การลงทุนในเอเชีย-แปซิฟิกของจีนมุ่งไปที่ประเทศที่เกี่ยวข้องกับโครงการข้อริเริ่มแถบและเส้นทาง (BRI) สัญญาการก่อสร้างของจีนอยู่ในประเทศแนวร่วม BRI มากกว่าร้อยละ ๙๒ ส่วนประเทศที่ไม่ใช่แนวร่วมลดลงมากถึงร้อยละ ๙๐ (ลงทุนทั้งหมดเพียง ๑๒๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ)การลงทุนของจีนใน ค.ศ.๒๐๒๓ ลดลงร้อยละ ๑๐๐ จาก ค.ศ.๒๐๒๒ คือฟิลิปปินส์ มองโกเลีย พม่า ปาปัวนิวกินี ทาจิกิสถาน และตุรกี เขียนให้เข้าใจง่ายก็คือ ไม่มีการลงทุนหรือมีโครงการก่อสร้างใหม่ของจีนในประเทศเหล่านี้เลยจีนเป็นประเทศที่มีโรงงานเยอะและต้องใช้พลังงานเป็นจำนวนมาก จีนลงทุนทั้งพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลและพลังงานสีเขียวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ค.ศ.๒๐๒๓ จีนลงทุนในพลังงานสีเขียวในเอเชีย-แปซิฟิกมากถึง ๓.๑ พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ๓๐ ปีที่แล้ว ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนใหญ่นิยมสหรัฐฯและเบ้ปากใส่จีน ให้นักศึกษาอาเซียนเลือกไปเรียนสหรัฐฯกับจีน เกือบทั้งหมดเลือกไปสหรัฐฯ คนอาเซียนชอบสหรัฐฯมากกว่า ทว่าปัจจุบันไม่ใช่แล้วครับ ถ้าดูจากผลสำรวจต่างๆ จะเห็นว่าทั้งสหรัฐฯและจีนได้รับความเป็นที่นิยมเกือบจะเท่ากันและมีแนวโน้มว่าความนิยมของคนอาเซียนที่มีต่อจีนมีเพิ่มมากขึ้นสหรัฐฯและตะวันตกพยายามทำ ๒ อย่างคือ ๑.โจมตีจีนให้กระแสตก ๒.สร้างความนิยมเพื่อเพิ่มกระแสให้ตัวเอง ถ้าเป็นในสมัยก่อน การปฏิบัติการจิตวิทยาที่โจมตีความชั่วของศัตรูก็อาจจะได้ผล แต่สมัยนี้ทุกประเทศมีโซเชียลมีเดียที่เปิดเผยข้อเท็จจริงได้ตลอดเวลา การปฏิบัติการจิตวิทยาโดยสื่อกระแสหลักเริ่มไม่ได้ผลเต็มประสิทธิภาพจีนต้องระมัดระวังเรื่องธุรกิจสัญชาติจีนที่เข้าไปกินรวบทำลายธุรกิจเล็กธุรกิจน้อยในประเทศอาเซียน และทุนของจีนเทา ซึ่งสร้างความเสียหายให้กับเศรษฐกิจถ้ายังมีการทำลายธุรกิจขนาดเล็กโดยคนจีนและทุนสีเทากระแสจีนในอาเซียนอาจจะตกในอนาคตก็ได้.นิติการุณย์ มิ่งรุจิราลัยsonglok๑๙๙๗@gmail.comคลิกอ่านคอลัมน์ “เปิดฟ้าส่องโลก” เพิ่มเติม