สำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ หรือ สกช. ได้จัดโครงการสัมมนาสรุปผลการดำเนินงาน รอบ ๖ เดือน และติดตามความคืบหน้างานตามภารกิจของสภาเกษตรกรแห่งชาติ และจัดกิจกรรมแถลงผลการดำเนินงานของสภาเกษตรกรแห่งชาติ รอบ ๖ เดือน “สภาเกษตรกรก้าวย่างอย่างมั่นใจ นำพาเกษตรกรไทยสู่ความมั่งคั่ง” เมื่อวันอังคารที่ ๙ เมษายน ๒๕๖๗ เวลา ๐๘.๓๐ น. ณ สำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ อาคารรัฐประศาสนภักดี (อาคาร B) ชั้น ๑ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษาฯ ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร นายนัยฤทธิ์ จำเล ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวว่า นับตั้งแต่ได้รับเลือกให้เป็นประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ได้ดำเนินนโยบาย “๓ เปลี่ยน ๓ สร้าง ๓ ปรับ” โดยมีผลการดำเนินงาน ดังต่อไปนี้นโยบาย “๓ เปลี่ยน” ได้แก่ ๑) เปลี่ยนสภาของเกษตรกร โดยเกษตรกร เพื่อเกษตรกร อย่างแท้จริง ทั้งหลักคิด หลักการและหลักปฏิบัติ ๒) เปลี่ยนข้อบังคับและระเบียบที่เป็นอุปสรรค ให้สอดคล้องตามเจตนารมณ์ของ พระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๓ และ ๓) เปลี่ยนรูปแบบและวิธีดำเนินงานของสภาเกษตรกรให้เร็วรุก สนุกกับงาน คนสำราญ งานสำเร็จ โดยวิธีร่วมคิด ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบ ร่วมรับประโยชน์นโยบาย “๓ สร้าง” ได้แก่ ๑) สร้างทีมงานบริหาร ทีมงานขับเคลื่อนงาน พัฒนาบุคลากรสู่ความเป็นมืออาชีพ และเข้มแข็งอย่างเร่งด่วน ๒) สร้างเครือข่ายเกษตรกรให้เข้มแข็งเพื่อเป็นพลังขับเคลื่อนทุกระดับทุกมิติให้เป็นไปอย่างมีเอกภาพและบูรณาการ และ ๓) สร้างต้นทุนองค์กรให้เป็นที่เชื่อถือและยอมรับของมวลชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน โดยเฉพาะกับรัฐบาล นโยบาย “๓ ปรับ” ได้แก่ ๑) ปรับรูปแบบและโครงสร้างคณะกรรมการใหม่ ให้มีบทบาทที่ชัดเจนตลอดห่วงโซ่อุปทานของภาคการเกษตรเพื่อการทำหน้าที่บูรณาการการแก้ไขปัญหาภาคการเกษตร ปรับลดจาก ๑๕ คณะ เหลือ ๖ คณะ ๒) ปรับรูปแบบและปรับแนวคิด ทัศนคติ ของสมาชิกและบุคลากรให้เป็นหนึ่งเดียวรู้รักสามัคคี มองเป้าหมายองค์กรเป็นตัว และ ๓) ปรับรูปแบบและโครงสร้างสำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ เพื่อให้องค์กรบรรลุเป้าหมายและมีประสิทธิภาพมากขึ้นผลการดำเนินงานตามภารกิจ ได้แก่๑. การประชุมสภาเกษตรกรแห่งชาติ สภาเกษตรกรแห่งชาติ ได้ดำเนินการจัดประชุมสภาเกษตรกรแห่งชาติไปแล้ว ๔ ครั้ง มีการนำเสนอและหารือเกี่ยวกับปัญหาความเดือดร้อนและความต้องการของเกษตรกร และผ่านการพิจารณาของสภาเกษตรกรแห่งชาติ จำนวน ๑๗ เรื่อง และข้อเสนอเชิงนโยบาย จำนวน ๖ เรื่อง ประกอบด้วย ๑) ข้อเสนอเชิงนโยบายการพัฒนาปศุสัตว์ สู่ความยั่งยืน ๒) ข้อเสนอเชิงนโยบายแนวทางแก้ไขปัญหาและพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรอย่างยั่งยืน ของสภาเกษตรกรจังหวัดกลุ่มภาคกลาง ๓) ข้อเสนอการจัดตั้งกองทุนชาวสวนทุเรียน และการผลักดัน ร่างพระราชบัญญัติกองทุนทุเรียนไทย ๔) ข้อเสนอเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาเกษตรกรไม่มีเอกสารสิทธิในที่ดินทำกิน เขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ๕) ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อกำหนดแนวทางในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาการทำประมงพื้นบ้าน และ ๖) ข้อเสนอเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาราคาปลากะพงตกต่ำ ๒. การจัดทำแผนแม่บทเพื่อพัฒนาเกษตรกรรมและการสร้างเครือข่ายเกษตรกร๑) จัดทำแผนแม่บทเพื่อพัฒนาเกษตรกรรมฉบับที่ ๒ ๒) สร้างเครือข่ายเกษตรกร ๗๕,๐๓๖ หมู่บ้าน เพื่อเป็นกลไกในการรับฟังความคิดเห็น สะท้อนปัญหา เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาและพัฒนาการเกษตร ให้เป็นรูปธรรมและนำความสุขมาสู่เกษตรกร๓. การบูรณาการกับหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องสภาเกษตรกรแห่งชาตินอกจากจะเสนอแนวทางการพัฒนาและแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมในรูปแบบข้อเสนอเชิงนโยบายแล้ว ยังได้บูรณาการกับหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องแก้ไขปัญหาเร่งด่วน เช่น ๑) การแก้ไขปัญหาเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม๒) การแก้ไขปัญหาปลาหมอสีคางดำ สำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ได้สำรวจปัญหาและการแพร่ขยายระบาดของปลาหมอสีคางดำในพื้นที่ต่างๆ ทั้ง ๗๗ จังหวัด โดยการประสานงานกับสำนักงานประมงพื้นที่๓) การแก้ไขปัญหาราคาปลากะพงตกต่ำ กรมประมงเสนอการใช้มาตรการควบคุมการนำเข้าปลากะพงขาวแช่เย็นที่นำเข้าจากมาเลเซีย ๔) การแก้ไขปัญหาการทับซ้อนพื้นที่ป่าไม้กับพื้นที่ ส.ป.ก.จังหวัดสระบุรี๕) การแก้ไขปรับปรุงข้อกฎหมายที่มีผลกระทบต่อเกษตรกรรม ๖) การแก้ไขปัญหาโรคใบด่างในมันสำปะหลัง ๔. การดำเนินงานกิจกรรมสาธารณะสภาเกษตรกรแห่งชาติได้ดำเนินงานกิจกรรมสาธารณะ และการช่วยเหลือด้านต่างๆ แก่สังคมและเกษตรกรที่ประสบกับปัญหาจากภัยธรรมชาติ ดังนี้๑) โครงการจิตอาสาพัฒนาสาธารณประโยชน์ “เราทำความดีด้วยหัวใจ” เนื่องในโอกาสวันคล้าย วันสถาปนาสภาเกษตรกรแห่งชาติ ครบรอบ ๑๓ ปี เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร๒) พิธีรวมใจถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ร่วมกับสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดทั่วประเทศ๓) การช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัย ในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนใต้ โดยมอบข้าวสารให้จังหวัดละ ๕๕๐ กระสอบ และถุงยังชีพ ๑๒๐ ชุด ๔) การช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในภาคอีสาน (ร้อยเอ็ด ยโสธร) โดยร่วมกับชุมนุมสหกรณ์โคนมแห่งประเทศไทย จำกัด และชมรมรถบรรทุกฟางก้อน สนับสนุนฟางอัดก้อน จำนวน ๖,๐๐๐ ก้อน และน้ำดื่ม ๑๐,๐๐๐ ขวด