การตรวจพบแบคทีเรียอย่างรวดเร็วนับเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันการระบาดของโรคที่เกิดจากอาหาร เช่น เชื้อเอสเชอริเชีย โคไล (Escherichia coli) ที่เรียกสั้นๆว่า อี.โคไล หรือเชื้อซาลโมเนลลา (Salmonella) ซึ่งตามปกติแล้วต้องนำตัวอย่างอาหารที่ติดเชื้อไปที่ห้องปฏิบัติการเพื่อดูชนิดและปริมาณของแบคทีเรียที่ก่อตัวในจานเพาะเชื้อในช่วงเวลาหลายวันล่าสุด ทีมวิจัยของมหาวิทยาลัยโอซากา เมโทรโพลิแทน ในญี่ปุ่น เผยได้สร้างอุปกรณ์พกพาสำหรับการตรวจจับแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคหลายชนิด มีขนาดเท่าฝ่ามือและมีระบบเชื่อมโยงกับแอปพลิเคชันในสมาร์ทโฟน เพื่อตรวจสอบระดับการปนเปื้อนของแบคทีเรียได้อย่างง่ายดาย ทีมวิจัยเผยว่าได้สังเคราะห์นาโนไฮบริดโลหะอินทรีย์ของทองคำและทองแดงที่ไม่รบกวนซึ่งกันและกัน เพื่อให้สามารถแยกแยะสัญญาณไฟฟ้าเคมีได้บนแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ผลลัพธ์ยืนยันว่านาโนไฮบริดที่สังเคราะห์ขึ้นจะทำหน้าที่เป็นแผ่นเคมีไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพช่วยให้สามารถตรวจจับและวัดปริมาณแบคทีเรียหลายชนิดพร้อมกันภายในเวลา ๑ ชั่วโมงทีมวิจัยเผยว่า วิธีนี้จะช่วยให้ระบุได้รวดเร็วว่ามีแบคทีเรียที่เป็นอันตรายอยู่หรือไม่ ก่อนการขนส่งผลิตภัณฑ์อาหารและยา จะช่วยให้มั่นใจในความปลอดภัยของสถานที่ผลิตสินค้าดังกล่าวได้รวดเร็ว นอกจากนี้ ทีมวิจัยยังตั้งเป้าจะพัฒนานาโนไฮบริดโลหะอินทรีย์ชนิดใหม่ให้ตรวจจับแบคทีเรียชนิดอื่นๆได้มากกว่านี้.อ่าน “คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ” ทั้งหมดที่นี่
ตรวจจับแบคทีเรียหลายชนิดด้วยเซ็นเซอร์
Related posts