Thursday, 7 November 2024

นักดาราศาสตร์ไขความลึกลับของเนบิวลาไข่มังกร

เนบิวลาไข่มังกร (The Dragon’s Egg Nebula) คือกลุ่มเมฆก๊าซและฝุ่นอันตระการตาในกาแล็กซีทางช้างเผือกของเรา ห่างจากกลุ่มดาวไม้ฉากประมาณ ๓,๗๐๐ ปีแสง เป็นถิ่นที่อยู่ของดาวฤกษ์ขนาดมหึมา ๒ ดวงที่ยึดโยงกันในรูปแบบของระบบดาวคู่ สถานที่แห่งนี้คือปริศนาของนักดาราศาสตร์ เพราะดาวฤกษ์หนึ่งในนั้นมีสนามแม่เหล็กแบบเดียวกับดวงอาทิตย์ของเรา ขณะที่ดาวฤกษ์ที่เป็นสหายของมัน กลับไม่มีสนามแม่เหล็กเมื่อเร็วๆนี้ นักดาราศาสตร์จากหอดูดาวท้องฟ้าซีกใต้แห่งยุโรปเผยว่า จากการใช้เวลา ๙ ปีในการสังเกตการณ์ด้วยกล้องโทรทรรศน์วีแอลที (Very Large Telescope) ที่มีขนาดใหญ่ในชิลี ก็พบเรื่องราวในระบบดาวคู่นี้ นั่นคือดาวฤกษ์ที่มีขนาดใหญ่กว่ากำลังจะกลืนกินดาวฤกษ์ที่มีขนาดเล็กกว่า นับเป็นการควบรวมที่ดูรุนแรงมาก โดยสสารที่ถูกปล่อยออกมาระหว่างการควบรวมของดาวฤกษ์คู่นี้ดูเหมือนจะสร้างเนบิวลาไข่มังกรที่เห็นกันในปัจจุบันนั่นเองส่วนทำไมดาวฤกษ์ดวงหนึ่งในเนบิวลาไข่มังกรถึงมีสนามแม่เหล็ก แต่อีกดวงหนึ่งกลับไม่มีสนามแม่เหล็ก? นักวิจัยเผยว่า สนามแม่เหล็กน่าจะถูกสร้างขึ้นระหว่างการควบรวมของดาวฤกษ์ เนื่องจากวัสดุจากดาวฤกษ์ทั้ง ๒ ดวงผสมรวมกัน การค้นพบนี้มีความหมายอย่างลึกซึ้งต่อความเข้าใจของนักวิทยาศาสตร์ว่าสนามแม่เหล็กถูกสร้างขึ้นในดาวมวลมากได้อย่างไร.อ่าน “คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ” ทั้งหมดที่นี่

Related posts