Sunday, 19 January 2025

ระบอบนายกฯขาลอย

รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ ฉบับปัจจุบัน ต้องถือว่าเป็นฉบับเจ้าปัญหา ร่างขึ้นมาเพื่อสืบทอดอำนาจคณะรัฐประหาร คสช. โดยมีรัฐธรรมนูญแผลงฤทธิ์เป็นระยะๆ แม้พรรคพลังประชารัฐของ คสช.จะแพ้เลือกตั้ง แต่บทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญทำให้หัวหน้า คสช.ได้รับเลือกเป็นนายก รัฐมนตรี โดย ๒๕๐ สว.ที่ คสช.แต่งตั้งคณะรัฐประหาร คสช.สามารถสืบทอดอำนาจได้นานถึง ๓ สมัย เริ่มตั้งแต่ยึดอำนาจ ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ (ชั่วคราว) ๒๕๕๗ จนถึงการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ เมื่อวันที่ ๖ เมษายน ๒๕๖๐ มีการเลือกตั้ง ๒ ครั้ง เมื่อปี ๒๕๖๒ และ ๒๕๖๖ แม้จะแพ้เลือกตั้งอีก แต่ก็ยังได้ร่วมรัฐบาลรัฐบาลที่มาจากรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ ล้วนแต่เป็นรัฐบาลผสมหลายสิบพรรค เพราะมีพรรคส่งสมาชิกสมัคร สส.กว่า ๗๐ พรรค ได้ สส.เข้าสภา ๒๖ พรรค ได้แค่พรรคละคนถึง ๑๒ พรรค ผลการเลือกตั้งครั้งที่ ๒ เมื่อปี ๒๕๖๖ แม้จะแก้รัฐธรรมนูญเกี่ยวกับการเลือกตั้ง สส.จากบัตรใบเดียวเป็นสองใบแต่ผลการเลือกตั้งก็ยังได้ สส.พรรคเล็กพรรคน้อยเหมือนเดิม ต้องจัดตั้งรัฐบาลผสมเกือบสิบพรรค และนายก รัฐมนตรีก็ไม่ต้องเป็น สส. ผู้เป็นหัวหน้าพรรคที่ได้เสียงข้างมากในสภาเหมือนกับนานาประเทศ ที่ปกครองด้วยระบบรัฐสภา เมื่อมีข่าวว่าจะมีการปรับรัฐมนตรีขณะนี้ มีคำถามว่าใครมีอำนาจเนื่องจากนายกรัฐมนตรีไม่ได้เป็นทั้ง สส. และไม่เป็นหัวหน้าพรรคตามแบบนานาประเทศที่ปกครองด้วยระบบรัฐสภา นายกรัฐมนตรีไม่มีอำนาจเต็มในการแต่งตั้งและการปรับรัฐมนตรี เพราะนอกจากจะไม่ได้เป็นผู้นำพรรคแล้ว ยังเป็นรัฐบาลผสมหลายพรรค ต้องยึดโควตาพรรคโควตาภาคแต่นายกรัฐมนตรีเศรษฐาที่เคยประกาศในช่วงหาเสียง สัญญาว่าจะจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ให้เป็นประชาธิปไตยในวันแรกของการประชุมคณะรัฐมนตรี แต่ผ่านมาแล้วกว่า ๗ เดือน การแก้ไขหรือจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ยังก้าวไม่ถึงไหน ยังยินดีในการตั้งรัฐบาลผสมสารพัดพรรค นายกรัฐมนตรียังขาลอยต่อไปการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามระบบรัฐสภาที่ประสบความสำเร็จทั่วโลก เนื่องจากเป็นพรรคการเมืองน้อยพรรค ส่วนใหญ่เป็นรัฐบาลเสียงข้างมากพรรคเดียว หรือรัฐบาลไม่กี่พรรค เป็นรัฐบาลที่มีเสถียรภาพ สามารถบริหารประเทศ ตามนโยบายที่สัญญาต่อประชาชน ไม่ต้องแจกเงินหมื่น ก็เป็นรัฐบาลที่เข้มแข็งได้.คลิกอ่านคอลัมน์ “บทบรรณาธิการ” เพิ่มเติม