Thursday, 19 December 2024

กรมสุขภาพจิตแนะวิธีฟื้นตัวจากอาการซึมเศร้าหลังหยุดยาว

นพ.พงศ์เกษม ไข่มุกด์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ภายหลังการหยุดยาวอาจทำให้เกิดอารมณ์เศร้า เบื่อหน่าย ไม่กระตือรือร้น ทำให้มีอาการคล้ายภาวะหมดไฟหรือรบกวนการทำงานได้ ซึ่งไม่ใช่โรคทางจิตเวช แต่เป็นสภาวะอารมณ์ด้านลบที่เกิดขึ้น หลังวันหยุดยาว ซึ่งโดยปกติแล้วจะหายไปเองใน ๒-๓ วัน แต่บางคนอาการอาจอยู่ยาวถึง ๒-๓ สัปดาห์ ก็ได้ โดยอาการหลักๆ คือ อารมณ์เศร้า หดหู่ เหนื่อย ไม่อยากทำอะไร รู้สึกเหมือนคนหมดไฟ และไม่กระตือรือร้นกรมสุขภาพจิตขอแนะนำ ๖ วิธีเพื่อรับมือ กับอาการซึมเศร้าหลังวันหยุดยาว ดังนี้ ๑.หาแรงจูงใจ ในการไปทำงาน เช่น การได้ขึ้นเงินเดือน โบนัส เป็นต้น หรือหาคนที่ทำให้ การทำงานมีความหมาย เช่น ลูกค้าก็ทำให้การทำงานมีความหมาย ๒.การ สร้างคุณค่าในการทำงาน เช่น มองหาสิ่งที่สามารถทำประโยชน์ต่อคนอื่น หรืองานที่ทำให้ชีวิตดีขึ้นอย่างไร ๓.อยู่กับปัจจุบัน วางแผนการทำงานแบบวันต่อวัน จะทำให้รู้ว่ามีอะไรที่ต้องทำบ้างแล้ว ๔.ปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงาน ให้สร้างสรรค์มากขึ้น เกิดความคิดใหม่ๆ ๕.หาเพื่อนรู้ใจและทีมในการทำงาน จะทำให้งานเสร็จเร็วขึ้น และสนุกกับการทำงานมากขึ้นด้วย ๖.วางแผนเที่ยวในวันหยุดครั้งต่อไป ทำให้เกิดความหวังและรอคอยวันหยุดครั้งต่อไป ทั้งนี้แม้อาการซึมเศร้าหลังวันหยุดยาวจะไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันที่รุนแรง แต่ส่งผลอย่างมากต่อทัศนคติและความรู้สึกที่มีต่อการทำงานและประสิทธิภาพต่อการทำงาน จึงควรดูแลจิตใจตนเองเพื่อรับมือกับภาวะนี้.อ่าน “คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ” ทั้งหมดที่นี่