Sunday, 19 January 2025

นักวิทยาศาสตร์ตรวจจับแผ่นดินไหวบนดวงจันทร์

ดวงจันทร์ไม่เหมือนกับโลกตรงที่ไม่มีการเคลื่อนตัวของเปลือกโลก แผ่นดินไหวบนดวงจันทร์จึงมีต้นกำเนิดที่แตกต่างกัน บางแห่งเกิดจากความแตกต่างทางความร้อนในแต่ละวันเนื่องจากพื้นผิวเปลี่ยนแปลงไปตามอุณหภูมิ บางแห่งเกิดในที่ลึกกว่า ก็อาจเกิดจากแรงโน้มถ่วงของโลก หรือเกิดจากการที่ดวงจันทร์ค่อยๆ เย็นลงและหดตัวเมื่อเวลาผ่านไป การทำความเข้าใจว่าแผ่นดินไหวเหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไร เมื่อใด ที่ไหน จึงสำคัญต่อภารกิจสำรวจดวงจันทร์ในอนาคต ยิ่งหากต้องสร้างโครงสร้างถาวร เช่น ฐานปฏิบัติ การบนพื้นผิวดวงจันทร์ภารกิจอพอลโลขององค์การนาซา สหรัฐอเมริกา ในทศวรรษที่ ๑๙๗๐ นักวิทยาศาสตร์ได้ส่งเครื่องวัดแผ่นดินไหวหลายเครื่องไปยังดวงจันทร์เพื่อรวบรวมข้อมูลการสั่นไหวของแผ่นดินบนดวงจันทร์นาน ๘ ปี ล่าสุด ทีมนักธรณีฟิสิกส์จากสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย หรือแคลเทค เผยว่า ระบบตรวจจับ ความถี่คลื่นเสียงด้วยออฟติกไฟเบอร์ (DAS) สามารถวัดการสั่นสะเทือนของดวงจันทร์ได้แม่นยำอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ซึ่งการทดสอบในทวีปแอนตาร์กติกาที่แห้งและเยือกแข็งห่างไกลจากกิจกรรมของมนุษย์ นับเป็นสภาพแวดล้อมที่ใกล้เคียงดวงจันทร์ที่สุด ทีมพบว่าเซ็นเซอร์ DAS มีความไวพอที่จะวัดแรงสั่นสะเทือนเล็กๆที่เกิดจากการแตกร้าวและการเคลื่อนตัวของน้ำแข็ง และบ่งบอกว่าเซ็นเซอร์นี้ใช้วัดแผ่นดินไหวได้ทีมยังพบว่าสายเคเบิลยาว ๑๐๐ กิโลเมตรสามารถทำหน้าที่เทียบเท่ากับเครื่องวัดแผ่นดินไหว ๑๐,๐๐๐ เครื่อง การค้นพบนี้สำคัญต่อภารกิจอาร์ทีมิส (Artemis) ของนาซา ที่วางแผนส่งนักบินอวกาศกลับไปยังดวงจันทร์อีกครั้ง เพื่อติดตั้งเซ็นเซอร์ตรวจจับแผ่นดินไหวใหม่ๆ และสำหรับเป้าหมายการวิจัยอื่นๆ.อ่าน “คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ” ทั้งหมดที่นี่