Saturday, 18 January 2025

ปลัด มท. นำประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนเขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง

วันนี้ (๑๘ เม.ย. ๖๗) เวลา ๐๙.๓๐ น. ที่ห้องประชุมราชบพิธ ชั้น ๕ อาคารดำรงราชานุสรณ์ กระทรวงมหาดไทย นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนเขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง (SEDZ) ด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่ ระดับกระทรวง ครั้งที่ ๑/๒๕๖๗ โดยมี นายเชษฐา โมสิกรัตน์ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย นายชูศักดิ์ รู้ยิ่ง หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย รองศาสตราจารย์วรวรรณ โรจนไพบูลย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเชฐ โสวิทยสกุล นายบุญธรรม เลิศสุขีเกษม ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงมหาดไทย นายพงศ์รัตน์ ภิรมย์รัตน์ อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง นายสยาม ศิริมงคล อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน นายสมชัย เลิศประสิทธิพันธ์ รองอธิบดีกรมการปกครอง นายศิริพันธ์ ศรีกงพลี รองอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น นางสาวชัชดาพร บุญพีระณัช รองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย นายเปลี่ยน แก้วฤทธิ์ รองอธิบดีกรมที่ดิน นายสุวิทย์ สรรพวิทยศิริ ผู้ช่วยผู้อำนวยการมูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง (มูลนิธิ สวค.) ผู้บริหารหน่วยงานรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงมหาดไทย คณะวิจัยมูลนิธิ สวค. และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุมนายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า การขับเคลื่อนเขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่ (Sufficiency Economy Development Zone) หรือ SEDZ เป็นโครงการที่กระทรวงมหาดไทยน้อมนำแนวพระราชดำริปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และแนวพระราชดำริด้านการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะด้านการบริหารจัดการพื้นที่ในระบบลุ่มน้ำที่เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาภัยแล้งและอุทกภัย และพระราชดำริอารยเกษตร ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยเป็นการสืบสาน รักษา ต่อยอด องค์ความรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มาใช้เป็นแนวทางหลักในการขับเคลื่อน และใช้เป็นแบบอย่าง ผ่านการศึกษาและปฏิบัติด้วยตนเองจนเกิดผล ทำให้ตระหนักถึงปัญหา ในลักษณะร่วมกันคิด ร่วมมือกันทำ ร่วมมือกันพัฒนา โดยเริ่มจากพัฒนาตนก่อน ซึ่งสอดรับกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs) มาต่อยอดขับเคลื่อนขยายผล ทำให้เกิดเป็นรูปธรรมความสำเร็จสู่ครัวเรือนของพี่น้องประชาชน ซึ่งตลอดระยะเวลา ๑๓๒ ปี ตั้งแต่สถาปนากระทรวงมหาดไทยขึ้น เรามีพันธกิจหลักที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลง นั่นคือ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ให้กับพี่น้องประชาชน สาเหตุการไม่เปลี่ยนพันธกิจหลัก เพราะเรายังทำภารกิจสำคัญนั้นไม่สำเร็จ ประกอบกับปัจจุบันสถานการณ์โลกมีความพลวัต มีความซับซ้อน เปลี่ยนแปลง และไม่มั่นคง เกิดวิกฤติเศรษฐกิจ เกิดสงครามระหว่างประเทศ ทั้งตะวันออกกลางและทวีปยุโรป ซึ่งความรุนแรงของสถานการณ์ยังไม่ส่งผลกระทบถึงเราในทางตรง แต่ในทางอ้อมได้สร้างความยากลำบากและความเสี่ยงในการครองชีพ อีกทั้งการทำงานในกรอบของระบบราชการ ไม่สามารถสร้างความคล่องตัวขับเคลื่อนให้เกิดประโยชน์และสิ่งที่ดีกับพี่น้องประชาชนได้เหมือนเดิม ทำให้ความเชื่อมั่นและการยอมรับในระบบราชการลดน้อยลงไป อย่างไรก็ตาม ระบบที่เคยดีและยังคงอยู่ เราก็ต้องช่วยกันปรับปรุงและพัฒนาให้กลับมาดีอีกได้”สิ่งสำคัญที่คนมหาดไทยทุกคนต้องมี คือ “Passion” ในการทำความดีเพื่อสร้างความสุขให้กับพี่น้องประชาชน ซึ่งเรามีแนวทางอยู่แล้วที่ตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานไว้ให้ ประการแรก คือ การแก้ไขในสิ่งผิด ตั้งแต่จุดเล็กไปสู่จุดใหญ่ เรื่องใกล้ตัวขยายไปสู่สังคม เริ่มจากสำรวจตรวจสอบสภาพแวดล้อมที่อยู่ในหน่วยงานของเราในทุกมิติ การสำรวจตรวจตราตนเองให้รู้แล้วจะสามารถแก้ไขให้ดีขึ้นได้ เนื่องจากปัจจุบันความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และน้ำใจของคนไทยที่ลดลงไป พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงได้พระราชทานโครงการจิตอาสา เพื่อให้พี่น้องคนไทยได้ร่วมกันทำความดีด้วยหัวใจ โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน อีกทั้งยังพระราชทานพระปฐมบรมราชโองการ คือการสืบสานในพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยการน้อมนำแนวพระราชดำริตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และตัวอย่างความสำเร็จในการพัฒนา หรือ “Best Practice” จากโครงการในพระราชดำริ จำนวนกว่า ๕,๑๕๑ โครงการ มาสู่การประยุกต์ใช้และปฏิบัติให้เกิดเป็นวิถีชีวิต ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เราบรรลุเป้าหมาย “ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข” สอดคล้องกับภารกิจหลักของกระทรวงมหาดไทยในการดูแลและรักษาความมั่นคงภายใน จึงขอให้พวกเรามี “Passion” กับงานที่เราทำ ตลอดจนงานในหน้าที่ที่เรารับผิดชอบอยู่แล้ว การขับเคลื่อนโครงการเขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง (SEDZ) ด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่ เพื่อทำให้พี่น้องประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ นำไปสู่การยกระดับเศรษฐกิจฐานราก สร้างการมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างมั่นคงและยั่งยืน” นายสุทธิพงษ์ กล่าวในช่วงต้นนายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวต่อไปอีกว่า คำว่า “โมเดลเศรษฐกิจใหม่” คือ ต้นแบบการขับเคลื่อนที่จะเป็นตัวอย่างให้กับประชาชนในพื้นที่ตามการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวมที่มุ่งเน้นการพัฒนา ๓ ด้านไปพร้อมกัน คือ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) มุ่งสร้างมูลค่าเพิ่มของทรัพยากรชีวภาพ เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) คำนึงถึงการใช้ทรัพยากรให้เกิดความคุ้มค่า หรือยาวนานที่สุด และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) การพัฒนาเศรษฐกิจโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สิ่งสำคัญ คือ การน้อมนำหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร คือ การทำงานร่วมกับ ๗ ภาคีเครือข่าย ตามหลัก “บวร” บ้าน วัด และราชการ ในรูปแบบ Team อันสอดคล้องกับแนวทางตามบันทึกความร่วมมือร่วมกับภาคีเครือข่ายภาควิชาการ ภาคศาสนา ภาคประชาสังคม เป็นต้น ซึ่งการทำงานทุกภาคส่วนต้องบูรณาการร่วมกันแบบ “One Team” ที่ทุกกรม ทุกรัฐวิสาหกิจของกระทรวงมหาดไทย ต้องทำงานแบบบูรณาการอย่างยั่งยืน ทั้งเรื่องการจัดตั้งสำนักงาน OSEDZ การจัดทำผังการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่จังหวัดนำร่อง การขับเคลื่อน SEDZ โดยคณะทำงานดำเนินการจัดทำผังการใช้ประโยชน์ที่ดิน ตลอดจนการคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการฯ ดังนั้นจึงต้องเริ่มที่ “คน” คือ คนที่ทำงานในการขับเคลื่อนโครงการนี้ต้องมีความเข้าใจและมีแรงปรารถนาในการ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข แบบบูรณาการอย่างยั่งยืน ทั้งบูรณาการงานและบูรณาการคน ตาม ๔ กระบวนการทำงานอย่างยั่งยืน คือ ร่วมพูดคุย ร่วมคิด ร่วมทำ และร่วมรับประโยชน์ ซึ่งทั้งหมดจะเกิดประโยชน์กับพี่น้องประชาชนอย่างยั่งยืน หากคนที่เป็นผู้นำที่ทำก่อน จึงขอให้เราช่วยกันทำสิ่งที่ดี “Change for Good” ให้เกิดขึ้นกับองค์กรของเรา”การรวมกลุ่มของครัวเรือนที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการฯ ให้ใช้แนวทางของสหกรณ์ โดยมีผลลัพธ์สูงสุด คือ การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยดำเนินทฤษฎีบันได ๙ ขั้น สู่ความพอเพียง มีความสุขอย่างยั่งยืน ตามศาสตร์พระราชา ที่นอกเหนือไปกว่าขั้นพื้นฐาน “พอกิน พออยู่ พอใช้ พอร่มเย็น” และขั้นกลาง “ทำบุญ ทำทาน เก็บไว้ใช้ แบ่งปัน ค้าขาย” และสุดท้ายรวมกลุ่มเป็นกลุ่มเศรษฐกิจ ใช้ประโยชน์ในที่ดินที่เป็นสิทธิของกระทรวงมหาดไทย ภาครัฐ เอกชนทั้งรายใหญ่และรายย่อย เพื่อส่งเสริมให้เกิดการสร้างแบรนด์ นำผลผลิตมาพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ อาทิ แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ OTOP Premium ที่จะต่อยอดสร้างรายได้ ขยายโอกาส และการแข่งขันได้ให้กับครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการฯ โดยมีการวางแผนการผลิต โดยมีสำนักงาน OSEDZ ที่เป็นองค์การมหาชนบริหารจัดการ วางแผน และอำนวยการสนับสนุน ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงมหาดไทย” นายสุทธิพงษ์ กล่าวเพิ่มเติมนายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวในช่วงท้ายว่า ขอให้ทุกภาคส่วนช่วยกันพูดคุยหารือ แลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกัน ทั้งในการประชุมและนอกเวลาการประชุม เพื่อการขับเคลื่อนเขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง (SEDZ) ด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่ ได้เกิดมรรคผลความสำเร็จกับพี่น้องประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม อาจใช้แนวทาง “นักวิชาการคิด ราชการหนุน เอกชนทำ” ทุกการดำเนินโครงการและทุกขั้นตอน ขอให้คำนึงถึงการใช้งบประมาณภาครัฐที่มีอยู่อย่างจำกัดอย่างคุ้มค่า เกิดฟังก์ชั่นในการใช้งาน ตลอดจนให้มีการดำเนินการอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง นอกจากนี้ การดำเนินโครงการดังกล่าว ยังมีการจัดตั้งสถาบันส่งเสริมเขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง (ISEDZ) ที่กระทรวงมหาดไทยได้ร่วมลงนามบันทึกความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา และนักวิชาการ ที่จะช่วยสนับสนุนให้การขับเคลื่อนโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้มีบุคลากรที่รองรับในการขับเคลื่อนการดำเนินงาน ดังนั้น เราจึงต้องคำนึงถึงการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตลอดจนการจัดสร้างโครงสร้างพื้นฐาน สิ่งอำนวยความสะดวก รวมถึงหลักสูตรแนวทางภายใต้การน้อมนำแนวทางตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคก หนอง นา หรืออารยเกษตร เพื่อใช้พัฒนาและใช้ประโยชน์ในพื้นที่ต้นแบบ แบบบูรณาการอย่างยั่งยืน โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของพี่น้องประชาชน