สมัยที่เยลต์ซินเป็นประธานาธิบดีรัสเซียยากจน นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นติดต่อกับเยลต์ซินและพบเจอกันหลายครั้ง อาจจะเป็นเพราะญี่ปุ่นคิดว่ารัสเซียต้องการความช่วยเหลือทางด้านเศรษฐกิจ จึงอาจจะคิดเจรจาเรื่องแผ่นดิน อาจจะอยากซื้อพื้นที่บางเกาะให้เป็นของญี่ปุ่น แต่พอมีข่าวปล่อยออกไป ประชาชนรัสเซียส่วนใหญ่ส่งสัญญาณว่าไม่เห็นด้วย ทำให้ญี่ปุ่นและรัสเซียเงียบในเรื่องนี้ไปคนรัสเซียเองมีประสบการณ์ในเรื่องรัฐอะแลสกา ซึ่งเป็นรัฐที่มีพื้นที่มากถึง ๑,๗๑๗,๘๕๖ ตำรวจกม. (ใหญ่กว่าไทย ๓ เท่า) ในสมัยก่อนตอนโน้น อะแลสกาเป็นของรัสเซีย ทว่าใน ค.ศ.๑๘๖๗ รัสเซียขายอะแลสกาให้สหรัฐฯในยุคที่นายวิลเลียม เอช. ซิวเอิร์ด เป็นรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ในราคาเอเคอร์ละ ๒ เซนต์ เป็นเงินทั้งสิ้นเพียง ๗.๒ ล้านดอลลาร์สหรัฐฯผู้ที่โดนชาวรัสเซียตำหนิจนกระทั่งปัจจุบันทุกวันนี้คือ ซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ ๒ พระองค์ตัดสินใจขายอะแลสกาให้สหรัฐฯ พอขายแล้วก็โดนโจมตีจากประชาชนว่าพระองค์ไม่รักชาติ ไม่รักประชาชน ขายแผ่นดินเอาเงินมาทำนุบำรุงสถาบันและราชวงศ์ คนอเมริกันเองก็ใช่ว่าจะชอบการซื้อแผ่นดินอะแลสกา ถึงขนาดมีการปล่อยข่าวว่า นักการทูตรัสเซียติดสินบนข้าราชการสหรัฐฯเพื่อให้สหรัฐฯซื้ออะแลสกาคนอเมริกันในยุคนั้นต่อต้านการซื้อรัฐอะแลสกา เรียกการซื้อรัฐนี้ว่าเป็น Seward’s Folly หรือ ‘ความโง่เขลาของซิวเอิร์ด’ จำนวนไม่น้อยเรียกอะแลสกาว่า Seward’s Icebox หรือ ‘ตู้น้ำแข็งของซิวเอิร์ด’ ในตอนนั้น อะแลสกาอยู่ในความดูแลของกระทรวงทหารสหรัฐฯ คนอเมริกันตะโกนด่าซิวเอิร์ดกันได้ไม่กี่ปี ค.ศ.๑๘๙๖ ก็มีการพบทองคำในอะแลสกา โอย คราวนี้คนอเมริกันกลับหลังหันเพื่อมาชมซิวเอิร์ดกันใหญ่ ว่าเป็นรัฐมนตรีที่มีวิสัยทัศน์ คนอเมริกันอพยพไปหาทองคำที่อะแลสกาเป็นจำนวนมาก รัฐสภาสหรัฐฯยอมรับอะแลสกาเป็นรัฐที่ ๔๙ ของสหรัฐฯอย่างสมบูรณ์เมื่อ ๓ มกราคม ค.ศ. ๑๙๕๙เมื่ออพยพไปอยู่ที่อะแลสกา คนอเมริกันก็พบว่า ชายฝั่งทะเลของอะแลสกาเต็มไปด้วยสัตว์น้ำที่สมบูรณ์ นอกจากนั้น ทั้งแผ่นดินยังเต็มไปด้วยแร่ธาตุ ป่าไม้ และน้ำจืด ภายหลังมีการสำรวจพบน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ทำให้อะแลสกาเป็นรัฐที่สร้างความมั่งคั่งให้กับสหรัฐฯบางคนเข้าใจว่าแผ่นดินของสหรัฐฯและรัสเซียอยู่ห่างกัน อันที่จริงอยู่ใกล้กันครับ ข้ามทะเลของช่องแคบแบริงเพียง ๕๓ กม.จากแหลมพรินซ์ออฟเวลส์ รัฐอะแลสกา ก็จะถึงแหลมเดจเนฟของรัสเซีย สมัยก่อนคนไซบีเรียก็เดินข้ามไปยังอะแลสกา จะเห็นว่าคนพื้นเมืองดั้งเดิมของสหรัฐฯและแคนาดาบริเวณนี้เป็นคนมองโกลอยด์ ผมดำ แบบเดียวกับชาวเอเชีย วัฒนธรรมประเพณีต่างๆ และภาษาพูดหลายคำ หลายประโยคของคนพื้นถิ่นทั้งในอะแลสกาของสหรัฐฯ และบางส่วนของไซบีเรียมีความคล้ายกันสมัยก่อนรัสเซียผลิตข้าวสาลีได้ไม่พอกิน หลังจากปูตินสนับสนุนให้มีการหักร้างถางพง เปิดป่าในไซบีเรียให้เป็นพื้นที่เกษตรกรรม รัสเซียก็กลายเป็นประเทศที่สามารถผลิตข้าวสาลีได้พอเพียงสำหรับการบริโภคของผู้คนทั้งประเทศ แถมยังมีข้าวสาลีเหลือเพื่อส่งออก ข้อมูลใน ค.ศ.๒๐๒๒ ขององค์การอาหารและการเกษตร รัสเซียส่งออกข้าวสาลีมากถึง ๑๔.๕ ล้านตัน ผลิตได้มากกว่าอาร์เจนตินา (๙ ล้านตัน) เยอรมนี (๗ ล้านตัน) โรมาเนียและอินเดีย (๖ ล้านตัน)ปัจจุบันรัฐบาลรัสเซียของปูตินลงทุนปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน สร้างทั้งถนนหนทางและการสร้างบ้านแปงเมือง สนับสนุนให้ที่ดินฟรี ให้เงินกู้ปราศจากดอกเบี้ย หรือดอกเบี้ยต่ำ ให้ไปลงทุนด้านการเกษตรในไซบีเรียความที่รัสเซียเป็นพันธมิตรกับจีน ช่วยเหลือเกื้อกูลกันในเรื่องทรัพยากรธรรมชาติ จีนเป็นประเทศผู้ผลิต มีโรงงานมากที่สุดในโลก ต้องใช้น้ำมันและก๊าซธรรมชาติเยอะ เดี๋ยวนี้มีการต่อท่อน้ำมัน ท่อก๊าซธรรมชาติจากไซบีเรียของรัสเซียไปจีน ทำให้จีนมีความมั่นคง ด้านพลังงาน การซื้อขายพลังงานก็เป็นเงินรูเบิลกับเงินหยวนแม้สหรัฐฯและตะวันตกจะแซงก์ชันรัสเซียและกลั่นแกล้งจีนในเรื่องการขึ้นภาษีนำเข้า แต่ทั้งสองประเทศก็ไม่ล่มจมหายนะอย่างที่สหรัฐฯและตะวันตกต้องการ.นิติการุณย์ มิ่งรุจิราลัยsonglok๑๙๙๗@gmail.comคลิกอ่านคอลัมน์ “เปิดฟ้าส่องโลก” เพิ่มเติม
ตะลุยป่าไม้ไซบีเรีย (๔)
Related posts