ลักษณะอย่างหนึ่งที่ช่วยให้ไดโนเสาร์ประสบความสำเร็จในเชิงวิวัฒนาการจนรุ่งเรืองมาเป็นเวลา ๑๖๕ ล้านปี นั่นคืออัตราการเติบโตที่รวดเร็ว ตั้งแต่ไทแรนโนซอรัส (Tyranno saurus) ที่กินเนื้อ หรือพวกกินพืชขนาดใหญ่อย่างอาร์เจนติโนซอรัส (Argentinosaurus) แต่ขนาดอันใหญ่โตปรากฏครั้งแรกเมื่อใด? ยังน่าสงสัยล่าสุดนักบรรพชีวินวิทยาแห่งวิทยาลัยมาคาเลสเตอร์ ในสหรัฐอเมริกา เผยได้ตรวจสอบกระดูก ๕ ไดโนเสาร์ที่อาศัยอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอาร์เจนตินา เมื่อ ๒๓๑-๒๒๙ ล้านปีก่อน ไดโนเสาร์ ๓ ตัวคือพวกกินเนื้อ เป็นบรรพบุรุษของไทแรนโนซอรัส เร็กซ์ หรือที.เร็กซ์ (Tyrannosaurusrex หรือ T. rex) และกิกาโนโทซอรัส (Giganotosaurus), เฮอรีราซอรัส (Herrerasaurus) และซานฮวนซอรัส (Sanjuansaurus) พวกนี้มีความยาวราว ๓-๔.๕ เมตร ขณะที่อีโอโดรเมอัส (Eodromaeus) มีขนาดประมาณไก่งวง ส่วนอีก ๒ ตัวที่มีขนาดใกล้เคียงไก่งวงคืออีโอแรปเตอร์ (Eoraptor) และโครโมกิซอรัส (Chromogisaurus) เป็นต้นกำเนิดของไดโนเสาร์ยักษ์ ๔ ขา คอยาว อย่างอาร์เจนติโนซอรัส และเดรดนอต (Dreadnoughtus)ผลวิจัยระบุว่าฟอสซิลกระดูกไดโนเสาร์จากอาร์เจนตินา บ่งชี้ว่าพวกมันมีอัตราการเติบโตทัดเทียมกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและนกในปัจจุบัน การเรียงตัวของผลึกแร่และโปรตีนจากกระดูกขนาดเล็ก ตลอดจนหลอดเลือดและการเรียงตัวของเซลล์ สะท้อนถึงความเร็วของการเจริญเติบโต ซึ่งข้อดีก็คือทำให้สิ่งมีชีวิตหลีกหนีจากความเสี่ยงของการมีขนาดเล็กไปตลอดชีวิต และยังช่วยให้พวกมันมีเวลามากขึ้นในการสืบพันธุ์ตลอดอายุขัย.อ่าน “คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ” ทั้งหมดที่นี่
Related posts