ย้อนกลับไปถึงหนังไซ-ไฟ (Sci-Fi) ยุคสมัยก่อน เรารู้สึกตื่นตาตื่นใจกับนวัตกรรมแห่งโลกอนาคต เช่น ยานอวกาศ, รถยนต์ลอยฟ้า, หุ่นยนต์เสมือนจริง ที่ดูแล้วเหนือจินตนาการ แต่ปัจจุบันคำว่าเหนือจินตนาการไม่ได้เป็นเรื่องเกินจริงอีกต่อไป โดยเฉพาะในช่วง ๔-๕ ปีมานี้ เราได้เห็นนวัตกรรมใหม่ๆเกิดขึ้นมาแบบสั่นสะเทือนแทบทุกวงการ สาขาอาชีพ ไม่ว่าจะเป็น AI : Artificial Intelligence, Biotechnology ที่เข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อโลกในยุคปัจจุบันและอนาคต Dji Flycart ๓๐ (โดรนส่งของนวัตกรรมใหม่ล่าสุด)ด้วยความเป็นอัจฉริยะของเหล่า AI ทำให้หลายๆอุตสาหกรรมมองเห็นถึงประโยชน์ที่จะนำความสามารถเหล่านี้เข้ามาช่วยพัฒนา ผลิตภัณฑ์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้ เช่น การสร้างหุ่นยนต์ที่มีความเสมือนจริง มีความแม่นยำในการทำงานลดข้อผิดพลาดมากยิ่งขึ้น Unitree Robotics หุ่นยนต์เสมือนจริงอัจฉริยะ ที่ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายจากประเทศจีนได้พัฒนาขึ้น โดยมี อัศวรรณ์ เรืองชู กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิสทรอนิกส์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทผู้นำด้านอากาศยานไร้คนขับในประเทศไทย (โดรน) เป็นตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทย หุ่นยนต์ตัวนี้เข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมากโดย เฉพาะในภาคอุตสาหกรรมการสำรวจและตรวจสอบเพิ่ม ประสิทธิภาพและขอบเขตการทำงาน โดยเฉพาะในงานสำรวจที่มนุษย์ไม่สามารถเข้าถึงได้ ไม่ว่าจะเป็นงานสำรวจในพื้นที่โรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ พื้นที่เสี่ยงภัยที่ต้องมีการตรวจสอบและลาดตระเวน หรือเหตุการณ์ไฟป่าไฟไหม้อาคาร ที่ต้องเข้าไปค้นหาผู้ประสบภัยในพื้นที่อันตราย เราสามารถนำเจ้าหุ่นยนต์นี้เข้าไปทำงานแทนมนุษย์เพื่อลดความเสี่ยง และการสูญเสียลงได้ หุ่นยนต์ตัวนี้สามารถติดตั้งอุปกรณ์เสริมในการสำรวจ เช่น กล้องภาพความร้อน กล้อง LiDAR หรือแม้กระทั่งมือจับอัจฉริยะ ที่เข้ามาช่วยให้การทำงานสะดวก มีความปลอดภัยสูงมากยิ่งขึ้น คุณอัศวรรณ์ เรืองชู กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิสทรอนิกส์ จำกัดอัศวรรณ์เล่าให้ฟังว่า หุ่นยนต์เสมือนจริงจะถูกนำมาใช้ใน ๓ ลักษณะ งาน คือ ๑.งานที่เสี่ยงอันตรายกับ มนุษย์ ๒.งานที่มีความซับซ้อนที่มนุษย์ทำไม่ได้ และ ๓.งานระดับพื้นฐานที่ขาดแคลนแรงงาน จะเห็นได้ว่าส่วนใหญ่เป็นงานที่อยู่ใกล้ตัวเรามาก ยกตัวอย่าง งานลาดตระเวนทั่วไปในพื้นที่เมืองใหญ่ อย่างเช่นในประเทศจีน ที่ใช้หุ่นยนต์เสมือนสุนัขกว่า ๗๐ ตัวควบคู่ไปกับทีม รปภ.เดิม จำนวน ๒๐ คน แต่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพงานลาดตระเวนให้ทั่วถึงและปลอดภัยมากขึ้นด้วย และหากในอนาคตเราสามารถลดต้นทุนต่างๆทางด้านฮาร์ดแวร์ลงจนเข้าถึงคนทั่วไปได้ง่าย ตลาดต่อไปที่คาดการณ์ไว้คือ การใช้งานส่วนบุคคล เช่น เป็นผู้ช่วยส่วนตัวในการทำงาน งานด้านการบริการต่างๆ รวมไปถึงการดูแลผู้ป่วยหรือผู้สูงวัย เพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องบุคลากรขาดแคลนมากยิ่งขึ้นกรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิสทรอนิกส์ จำกัด บอกอีกว่า ใน ๕-๑๐ ปี ข้างหน้านี้เราต้องเร่งพัฒนาในส่วนงานที่เราสามารถแข่งขันได้ ซึ่งในที่นี้ขอชี้เป้าไปที่ระบบซอฟต์แวร์ รวมไปถึง AI ที่ประเทศไทยมีบุคลากรที่มีความสามารถและแข่งขันได้ เพียงแต่ต้องมีการบริหารจัดการและส่งเสริมที่ตรงจุด ให้สามารถนำศักยภาพเหล่านั้นออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในเชิงธุรกิจได้อย่างสมบูรณ์ สงครามของนักพัฒนานวัตกรรมกำลังดุเดือด ประเทศไทยเราเองควรหันมาสนับสนุนสร้างบุคลากรของเราให้มีศักยภาพ และสร้าง สรรค์ผลงานให้โลกได้ยอมรับ เชื่อมั่นว่าวันหนึ่งเราจะได้เห็นหุ่นยนต์อัจฉริยะที่คิดค้นและประกอบโดยคนไทยส่งออกให้คนทั่วโลกได้ใช้อย่างแน่นอนการก้าวหน้าแบบก้าวกระโดดของ AI ทำให้รู้ว่ามันสามารถเข้ามาช่วยให้การทำงานที่เกินขีดจำกัดของมนุษย์ได้เป็นอย่างมาก หลายประเทศยอมระดมทุนและพัฒนาบุคลากรประเทศของตนเองให้ทันและก้าวหน้าคู่แข่งขัน ถ้าทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนช่วยสนับสนุนและผลักดัน ใครจะรู้ได้หุ่นยนต์อัจฉริยะอาจจะเป็นซอฟต์พาวเวอร์อันดับต้นๆของ ประเทศไทยก็เป็นได้.คลิกอ่านคอลัมน์ “THE NEW NORMAL” เพิ่มเติม
Related posts