Thursday, 19 December 2024

บินรบเกาหลี F/A-๕๐ โผล่แจม เป็นทางเลือกให้ ทอ. เสริมเขี้ยวเล็บ ฝูง ๑๐๒

เครื่องบินรบเกาหลี ร่วมแจม ขอเสนอเป็นทางเลือกให้ “กองทัพอากาศ” เสริมเขี้ยวเล็บทดแทน F-๑๖A/B ที่กำลังจะปลดประจำการ เพื่อบรรจุเข้า ฝูงบิน ๑๐๒ กองบิน ๑ โคราช ด้วยกรอบงบประมาณ ๑.๙ หมื่นล้าน ย้ำจะได้ถึง ๘ เครื่องเมื่อวันที่ ๑๙ เม.ย. ๖๗ ผู้สื่อข่าวรายงาน สำหรับการจัดหาเครื่องบินบินขับไล่ทดแทน F-๑๖A/B ท่ีกองทัพอากาศจะปลดประจำการบางส่วน และอยู่ระหว่างการพิจารณาเครื่องบินรบบรรจุทดแทน ประจำการในฝูง ๑๐๒ กองบิน ๑โคราช อยู่ระหว่างการคัดเลือกของคณะกรรมการ ทอ. ที่ได้นำเครื่องบินรบเข้าพิจารณา เป็นตัวเลือกเพียง ๒ ค่าย คือ เครื่องบิน F-๑๖ Blk ๗๐/๗๒ จากสหรัฐฯ และ Jas-๓๙ กริพเพน E/F จากประเทศสวีเดน  แต่ล่าสุดเครื่องบินขับไล่โจมตีอเนกประสงค์ แบบ F/A-๕๐ ขอเข้ามาเป็นทางเลือกให้กับทัพฟ้าไทย และจากการที่ นายสุทิน คลังแสง รัฐมนตรีว่าการกลาโหม ได้เยือนประเทศเกาหลีใต้ เมื่อ ๒๗-๓๐ มีนาคมที่ผ่านมา โดยบริษัท KAI ได้นำเสนอและพาชมขีดความสามารถของเครื่องบินขับไล่โจมตีอเนกประสงค์ แบบ F/A-๕๐ โดยเฉพาะเขี้ยวเล็บ และสมรรถนะที่ใกล้เคียง แต่มีความคุมค่าในเรื่องของราคาต่อลำที่ถูกกว่าครึ่งหนึ่ง ตลอดจนค่าใช้จ่ายต่อชั่วโมงบิน และค่าซ่อมบำรุงที่ถูกกว่ามาก “ด้วยกรอบงบประมาณโครงการ ๑๙,๕๐๐ ล้านบาท ที่ ทอ.จะขอจัดซื้อในงบฯ ปี ๒๕๖๘ ทางเครื่องบินรบจากค่ายเกาหลีใต้ได้เสนอ และเห็นว่าคุ้มค่า หากผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการพิจารณาจาก ทอ. ก็จะทำให้กองทัพอากาศสามารถเสริมเขี้ยวเล็บ และได้เครื่องบินขับไล่โจมตีแบบ F/A-๕๐  ถึง ๘ เครื่อง และหากเป็นเครื่องบิน F-๑๖ Blk ๗๐/๗๒ จากสหรัฐฯ และ Jas-๓๙ กริพเพน E/F จากสวีเดน ทอ.จะได้เพียง ๔ ลำเท่านั้น” แหล่งข่าวเผย ปัจจุบัน ทอ.จัดซื้อเครื่องบิน T-๕๐ TH จาก KAI มาแล้วจำนวน ๑๔ เครื่อง โดยประจำการฝูงบินฝึกนักบินขับไล่ ฝูง ๔๐๑ กองบิน ๔ ตาคลี แบ่งเป็น เครื่องบินฝึกขับไล่จำนวน ๘ เครื่อง และเครื่องบินรบเทียบเท่า F/A-๕๐ จำนวน ๖ เครื่อง และอยู่ในขั้นตอนตรวจรับในเดือน สิงหาคม ๒๕๖๗ จำนวน ๒ เครื่อง  ซึ่งหาก ทอ.พิจารณาเลือกจัดซื้อ เครื่องบิน F/A-๕๐ ในโครงการจัดทดแทนฯ ผลประโยชน์ขอ ทอ. และประเทศชาติที่สำคัญภายใน ๔ ปี ทอ.จะมีเครื่องบินขับไล่โจมตีประจำการ ฝูง ๑๐๒ กองบิน ๑ โคราช ได้ทันที ๘ เครื่อง “ที่สำคัญ สามารถย้ายเครื่องบิน T-๕๐TH ตระกูลรบจาก กองบิน ๔ มาเพิ่มได้อีกถึง ๖ เครื่อง รวมเป็น ๑๔ เครื่อง ทอ.ก็จะมีฝูงบินพร้อมปฏิบัติภารกิจป้องกันประเทศได้ในเวลา ๔ ปีหากจัดหาเครื่องบินขับไล่แบบอื่นอาจจะใช้เวลาถึง ๑๐-๑๕ ปีขึ้นไปและใช้งบประมาณสูงกว่าเหล่าเท่า และหาก ทอ.จัดหาเครื่องบิน F/A-๕๐ ตามท่ีบริษัท KAI เสนอ ทาง KAI พร้อมท่ีจะมีการแลกเปลี่ยนการลงทุนด้านอุตสาหกรรมการบิน ตลอดจนการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศกับประเทศไทย จะทำให้เกิดการลงทุนท่ีเป็นประโยชน์ต่อทั้งเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศในอนาคต”  สำหรับ เครื่องบิน T-๕๐ และ F/A-๕๐เครื่องบิน T-๕๐ เป็นตระกูลเครื่องบินฝึกขับไล่ขั้นสูง ความเร็วเหนือเสียง เครื่องบิน F/A-๕๐ เป็นเครื่องบินประเภทขับไล่ โจมตีขนาดเบา ความเร็วเหนือเสียงผลิตและพัฒนาโดยบริษัทอุตสาหกรรมอากาศยานเกาหลี (KAI) ร่วมมือกับบริษัท Lockheed Martin สหรัฐอเมริกา (เป็นบริษัทผู้ผลิตเครื่องบิน F-๑๖) โดยมีแนวความคิดที่จะให้มีรูปร่างและสมรรถนะใกล้เคียงกับเครื่องบิน F-๑๖ เป็นเครื่องบิน ๒ ที่นั่งก็จะเหมือนกับเครื่องบิน F-๑๖B ที่ ทอ.มีใช้งาน เคยเป็นคู่แข่งสำคัญในการคัดเลือกเครื่องบินฝึกขับไล่ขั้นสูง ของ ทอ.สหรัฐฯ แต่พลาดอย่างสูสีให้กับเครื่องบิน T-๗A ของบริษัทโบอิ้ง สหรัฐอเมริกา โดยสมรรถนะของเครื่องบิน F/A-๕๐ นั้นแทบไม่ต่างจากเครื่องบิน F-๑๖ หรือ เครื่องบิน Gripen เครื่องยนต์ก็เป็นรุ่นเดียวกับเครื่องบิน Gripen จะด้อยกว่าที่บรรทุกอาวุธได้น้อยกว่าเล็กน้อย และไม่สามารถติดตั้งจรวดนำวิถีอากาศสู่อากาศ A-๑๒๐ AMRAAM ส่วนระบบ Avionics และระบบอาวุธตลอดจนเรดาร์นั้นเทียบเท่ากับเครื่องบินขับไล่สมรรถนะสูงแบบอื่นๆ ทุกประการปัจจุบันมีใช้งานใน ๗ ประเทศ กว่า ๓๓๐ เครื่อง ในอาเซียน ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และกำลังอยู่ระหว่างเจรจาอีก ๑๑ ประเทศ เมื่อพิจารณา เครื่องบิน F/A-๕๐ สัญชาติเกาหลี จะได้เปรียบจากเครื่องบินแบบอื่น๑. ราคาถูกกว่ามาก เมื่อเทียบกับเครื่องบิน F-๑๖ หรือ เครื่องบิน Gripen๒. ค่าใช้จ่ายต่อชั่วโมงต่ำกว่า เครื่องบิน F-๑๖ หรือ เครื่องบิน Gripen ช่วยให้ประหยัดงบประมาณต่อปีไปได้มาก โดยผลสำเร็จของภารกิจใกล้เคียงกัน๓. สามารถจัดเป็นหน่วยบินขับไล่สกัดกั้น (Alert) แทน เครื่องบิน F-๑๖ หรือ เครื่องบิน Gripen แต่ประหยัดงบประมาณกว่ามาก๔. กรณีที่มีการบรรจุประจำการจำนวนมากพอสมควร จะเป็นผลดีต่อการบริหารงบประมาณและระบบส่งกำลังบำรุง๕. บริษัท KAI เปิดโอกาสให้ไทยร่วมพัฒนาระบบของเครื่องบินตามสเปกที่ ทอ.ต้องการ (ไม่สามารถทำได้กับเครื่องบิน F-๑๖ หรือ เครื่องบิน Gripen)๖. หากจัดหาในปีงบประมาณ ปี ๖๘ จะสามารถพร้อมประจำการในฝูง ๑๐๒ กองบิน ๑ ภายในปี ๗๑ เร็วกว่าการจัดหาเครื่องบินแบบอื่น อย่างไรก็ตาม ทอ.มีความต้องการเครื่องบินขับไล่โจมตีเพิ่มเติม เพื่อให้เพียงพอต่อแผนป้องกันประเทศเพื่อเตรียมรับกับภัยคุกคามที่อาจเกิดข้อพิพาทได้ทุกเมื่อ ประกอบกับสถานภาพทางเศรษฐกิจของประเทศยังไม่เหมาะสมกับการจัดหายุทโธปกรณ์ที่มีราคาสูงเกินไป”เครื่องบิน F/A-๕๐ จึงเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดของ ทอ.ในปัจจุบัน”