โพล เผย “ทักษิณ” เคลื่อนไหว ประชาชน ๔๐.๖๑% ชี้ ไม่ส่งผลกระทบใดๆ ต่อคะแนนนิยมพรรคเพื่อไทย ขณะกว่า ๓๒% เชื่อ เป็นไปไม่ได้ “เพื่อไทย” ชนะเลือกตั้งครั้งต่อไป ๓๙.๔๗% ระบุว่า ไม่เห็นด้วย เพื่อไทยเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงวันที่ ๒๑ เม.ย. ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “จากบทบาท ทักษิณ ถึงฝันของนายกฯ เศรษฐา” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ ๙-๑๑ เมษายน ๒๕๖๗ จากประชาชนที่มีอายุ ๑๘ ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน ๑,๓๑๐ หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับบทบาทของ ทักษิณ ชินวัตร และความเป็นไปได้ที่พรรคเพื่อไทยจะชนะการเลือกตั้งในครั้งต่อไป การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ ๙๗.๐จากการสำรวจเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับผลกระทบต่อคะแนนนิยมทางการเมืองของพรรคเพื่อไทย จากความเคลื่อนไหวของ ทักษิณ ชินวัตร ตั้งแต่ออกจากโรงพยาบาลตำรวจ พบว่าตัวอย่างร้อยละ ๔๐.๖๑ ระบุว่า ไม่ส่งผลกระทบใดๆ ต่อคะแนนนิยมทางการเมืองของพรรคเพื่อไทย รองลงมา ร้อยละ ๓๓.๒๑ ระบุว่า ส่งผลกระทบในทางลบต่อคะแนนนิยมทางการเมืองของพรรคเพื่อไทย ร้อยละ ๑๙.๕๔ ระบุว่า ส่งผลกระทบในทางบวกต่อคะแนนนิยมทางการเมืองของพรรคเพื่อไทย และร้อยละ ๖.๖๔ ระบุว่า เฉยๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อคำกล่าวที่ว่าพรรคเพื่อไทยเป็นพรรคผู้นำในการเปลี่ยนแปลง พบว่าตัวอย่างร้อยละ ๓๙.๔๗ ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย รองลงมา ร้อยละ ๑๘.๘๕ ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย ร้อยละ ๑๗.๙๔ ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย ร้อยละ ๑๕.๗๓ ระบุว่า เห็นด้วยมาก และร้อยละ ๘.๐๑ ระบุว่า เฉยๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความเป็นไปได้ที่พรรคเพื่อไทยจะชนะการเลือกตั้งในครั้งต่อไป พบว่าตัวอย่างร้อยละ ๓๒.๙๘ ระบุว่า เป็นไปไม่ได้เลย รองลงมา ร้อยละ ๒๙.๒๔ ระบุว่า ค่อนข้างเป็นไปได้ ร้อยละ ๒๑.๑๔ ระบุว่า ไม่ค่อยเป็นไปได้ ร้อยละ ๑๒.๘๒ ระบุว่า เป็นไปได้มาก และร้อยละ ๓.๘๒ ระบุว่า เฉยๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ