Sunday, 19 January 2025

ตะลุยป่าไม้ไซบีเรีย (๖)

ศุกร์ ๑๙ เมษายน ๒๐๒๔ ครบ ๑๐ วันพอดีที่ผมและคณะดูงานการป่าไม้อยู่ที่เมืองบาร์นาอูล เมืองในเทือกเขาอัลไต ภูมิภาคไซบีเรียของรัสเซีย คณะนอนในเมืองบาร์นาอูล ๔ คืน กลางวันนั่งรถไปในป่าเพื่อดูโรงเลื่อยและโรงงานไม้ พอถึงเสาร์ ๒๐ เมษายน ๒๐๒๔ ก็นั่งรถจากบาร์นาอูลมาที่โนโวซีบีสค์ซึ่งเป็นเมืองทางตอนใต้ ตี ๔ ของอาทิตย์ ๒๑ เมษายน ๒๐๒๔ ก็บินจากไซบีเรียมากรุงเทพฯ ขณะที่ผู้อ่านท่านจับไทยรัฐฉบับนี้ ผมและคณะกลับถึงเมืองไทยแล้วครับสัปดาห์ที่แล้ว ผมรับใช้นโยบายของรัสเซียที่เลิกคิดถึงตลาดยุโรปและหันมาพึ่งพาตลาดจีน อินเดีย และเอเซียประเทศอื่น ค.ศ.๒๐๐๗ บริษัทก๊าซพรอมเริ่ม EGP (โครงการก๊าซภาคตะวันออก) + ESFE (โครงการสำรวจและพัฒนาแหล่งก๊าซในไซบีเรียตะวันออกและตะวันออกไกลรัสเซีย) รัฐบาลประกาศยุทธศาสตร์พลังงาน ค.ศ.๒๐๓๐ โดยจะขยายการส่งออกพลังงานเพิ่มอีก ๑ เท่าตัว + ขับเคลื่อนพร้อมนโยบายมุ่งตะวันออก“ตะวันออก” ของรัสเซียคือจีน รัสเซียมั่นใจว่าจีนมีศักยภาพเติบโตเทียมบ่าเทียมไหล่สหรัฐฯ เป็นเรื่องโชคดีที่แหล่งพลังงานของรัสเซียอยู่ใกล้พรมแดนจีน การส่งออกทำได้ง่าย และจีนเป็นประเทศแรกที่ซื้อพลังงานโดยไม่ใช้ดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้มีหลายประเทศทำตาม เรื่องนี้เป็นการบั่นทอนความแข็งแกร่งของสกุลเงินดอลลาร์จีนเคยผลิตน้ำมันได้เอง สมัยก่อนจีนไม่ต้องซื้อน้ำมัน แต่พอเติ้งเสี่ยวผิงเปิดเสรีเศรษฐกิจ จีนก็มีโรงงานเกิดขึ้นมากมาย น้ำมันที่ผลิตเองมีไม่พอใช้ จีนเริ่มนำเข้าน้ำมันใน ค.ศ.๑๙๙๓ ต่อมาโรงงานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ค.ศ.๒๐๐๐ จีนนำเข้าน้ำมันมากเป็นอันดับ ๘ ของโลก ค.ศ.๒๐๐๙ จีนกลายเป็นผู้นำเข้าน้ำมันอันดับ ๒ ของโลก (รองจากสหรัฐฯ) และ ค.ศ.๒๐๑๔ จีนเป็นประเทศนำเข้าน้ำมันอันดับ ๑ ของโลกสมัยก่อนรัสเซียขนส่งน้ำมันทางราง ต่อมาทรานสเนฟท์ (บริษัทของรัฐ) พัฒนาท่อส่งน้ำมันในเขตไซบีเรียตะวันออกไปสู่เมืองท่านาคอดกาทางฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก (ใกล้เมืองวลาดิวอสตอก) โดยเรียกท่อน้ำมันสายนี้ว่า Pacific Rout หรือสายแปซิฟิก จีนกับรัสเซียทำงานร่วมกันตั้งแต่การสำรวจ การขุดเจาะ การผลิต โดยร่วมกันทำครั้งแรกที่เกาะซัคคาลิน ซึ่งมีแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติมหาศาล ทั้งในแนวและนอกแนวชายฝั่งบริษัทปิโตรเลียมแห่งชาติจีน (CNPC) ทำข้อตกลงกับบริษัทพลังงานซัคคาลิน บริษัทรอสเนฟท์ และบริษัทลุคออยส์ร่วมกันสำรวจ ผลิต ซื้อขาย และให้บริการเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมน้ำมัน ทำให้การพลังงานของรัสเซียและจีนมีความมั่นคงร่วมกัน ไม่ต้องง้อสหรัฐฯและตะวันตก ความร่วมมือระหว่างรัสเซียและจีนเป็นหนามตำใจสหรัฐฯและตะวันตก ความสัมพันธ์ระหว่างประธานาธิบดีปูตินและประธานาธิบดี สีจิ้นผิงลึกซึ้งจนตะวันตกแซะไม่ได้บริษัทรัสเซียและจีนหุ้นไขว้จนแทบจะเป็นเนื้อเดียวกัน ซิโนเปก หรือบริษัทพลังงานและปิโตรเคมีแห่งชาติจีนถือหุ้นร้อยละ ๔๙ ในบริษัทอุตมุรต์เนฟท์ (บริษัทน้ำมันของรัสเซีย) ซิโนเปกลงนามในข้อตกลงการมีส่วนร่วมสำรวจแหล่งน้ำนอกชายฝั่งของเกาะซัคคาลิน ซึ่งกลายเป็นกิจการร่วมค้าในชื่อเวนิเนฟท์ โดยรอสเนฟท์ถือหุ้นร้อยละ ๗๔.๙ และซิโนเปกถือหุ้นร้อยละ ๒๕.๑ เพื่อสำรวจและพัฒนาแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในเขตเวนินสกาเยของเกาะซัคคาลินน้ำมันจากรัสเซียทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้าของจีนถูกลง เพราะไม่ต้องขนส่งมาจากตะวันออกกลาง ค่าประกันภัยก็น้อย ไม่ถูกคุกคามจากอิทธิพลของสหรัฐฯ เพราะท่อน้ำมันออกจากดินแดน รัสเซียก็เข้าดินแดนจีนเลย ประเทศอื่นไม่เกี่ยวหลายครั้งที่บริษัทรัสเซียประสบภาวะหนี้สินและขาดความน่าเชื่อถือ ธนาคารการพัฒนาแห่งชาติจีนก็จะเข้าไปช่วยด้วยการทำ Oil for Loan Agreement หรือทำข้อตกลงรับเงินกู้แลกน้ำมัน บางข้อตกลงมีมูลค่าถึง ๑ แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ ๓.๕ ล้านล้านบาท ระบบท่อน้ำมันจากรัสเซียไปฝั่งเอเชียแปซิฟิกบางท่อ เช่น ท่อขนส่งอีเอสพีโอมีความยาวถึง ๔,๗๐๐ กม. รองรับปริมาณน้ำมันได้มากถึงวันละ ๑ ล้านบาร์เรลจีนกับรัสเซียถือคติ รวมกันเราเอาสหรัฐฯอยู่ แยกหมู่สหรัฐฯเอาเราตาย.นิติการุณย์ มิ่งรุจิราลัยsonglok๑๙๙๗@gmail.comคลิกอ่านคอลัมน์ “เปิดฟ้าส่องโลก” เพิ่มเติม