Sunday, 19 January 2025

ถอดรหัสติดหล่มจมปลักฝ่าปมวิกฤติการเมือง : ปลดล็อกรัฐธรรมนูญ

ขัดแย้งมานาน จนเบื่อขัดแย้ง ไม่เป็นประโยชน์กับใคร เป็นตะกอนผ่านมุมมองสะท้อนปรากฏการณ์ในประเทศไทย ที่ติดหล่มวิกฤติขัดแย้งเกือบ ๒ ทศวรรษ ในฐานะที่ นายนิกร จำนง เป็นประธานคณะอนุกรรมการพิจารณาศึกษาแนวข้อมูลและสถิติคดีความผิด อันเนื่องจากแรงจูงใจทางการเมือง ในคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการตรา พระราชบัญญัตินิรโทษกรรม (กมธ.) สภาผู้แทนราษฎรและประธานคณะอนุกรรมการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับแนวทางในการทำประชามติเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ เลขานุการและโฆษกคณะกรรมการศึกษาแนวทางการทำประชามติ เพื่อแก้รัฐธรรมนูญ (กก.ศึกษาฯ) มีนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกฯ รัฐมนตรีว่าการพาณิชย์ เป็นประธานฉายภาพให้เห็นอีกด้านของสังคม หลังศาลรัฐธรรมนูญไม่รับคำร้องประธานรัฐสภา ขอให้วินิจฉัยอำนาจแก้รัฐธรรมนูญ (รธน.) ต้องทำประชามติกี่ครั้ง ถือเป็นแค่ข้อสงสัยและคณะอนุกรรมการฯ ใน กมธ.สรุปผลศึกษาคดีเกี่ยวกับแรงจูงใจทางการเมืองโดยชุด กก.ศึกษาฯ สรุปเสนอ คณะรัฐมนตรีทำประชามติ ๓ ครั้ง ประเดิมทำก่อนเพื่อให้ผ่าน แล้วทำตามสภาพบังคับ รธน. มาตรา ๒๕๖ มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ หลังจากนั้นเป็นสภาพบังคับอีกเมื่อร่าง รธน.เสร็จก่อนนำขึ้นทูลเกล้าฯบนสภาพเสียงข้างน้อยใน กก.ศึกษาฯ เสนอควรทำแค่ ๒ ครั้งตามคำวินิจฉัยศาล รธน.ในช่วงรัฐบาลที่ผ่านมา ชูศักดิ์ ศิรินิลทางออกประตูเดียวให้พรรคการเมืองดำเนินการถามศาล รธน. โดยยื่นวาระแก้ไข รธน.ต่อรัฐสภา ให้เห็นว่ามีปัญหา ต้องขอบคุณพรรคเพื่อไทยที่เสียสละเป็นคนเสนอเข้าไป และนายภูมิธรรมเลยรั้งเอาไว้ ไม่เสนอต่อ ครม. รอตรงนี้ก่อนมาถึงวันนี้ร่าง รธน.ที่ยืนค้างไว้ไปต่อไม่ได้ ต้องกลับไปที่ ครม. ที่นายภูมิธรรมเอารายงานนี้เสนอต่อ ครม. เพื่อให้มีมติ อาจเป็นวันอังคารที่ ๒๓ เม.ย. ไม่เช่นนั้นอาจถูกมองว่าเตะถ่วง“พอเข้า คณะรัฐมนตรีคงพิจารณามีมติตามความข้อเสนอของ กก.ศึกษาฯ หรือไม่ ทั้งทำประชามติ ๓ ครั้ง รวมถึงคำถามจะจัดทำ รธน.ฉบับใหม่ คงความหมวด ๑ หมวด ๒ ที่เหลือแก้หมดเสร็จแล้วส่งให้ กกต.พิจารณาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ ทำประชามติตาม พระราชบัญญัติประชามติ โดยต้องคิดถึงเกณฑ์ทำความเข้าใจกับประชาชน ซึ่งมีทั้งฝ่ายเห็นด้วย และไม่เห็นด้วยปัญหาคือ พระราชบัญญัติประชามติที่ไม่เคยใช้มาก่อน ต้องมีคนออกมาใช้สิทธิกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิ คือ ๒๖ ล้านคนอย่างน้อยและคะแนนที่เห็นชอบจัดทำ รธน.ฉบับใหม่ ไม่ต่ำกว่า ๑๓.๕ ล้านคน”นับเป็นกำแพงใหญ่ทำให้ไม่ผ่านปัญหานี้หนักหนาสาหัสเอามากๆแม้นายชูศักดิ์ ศิรินิล สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ยื่นแก้ พระราชบัญญัติประชามติแล้ว ตอนนี้ฟังความเห็นอยู่ และสภาปิดสมัยประชุม ถ้ารอเปิดสมัยประชุมสภาคงไม่ทัน ยกเว้นจะรอให้กฎหมายฉบับแก้ไขผ่านก่อนฉะนั้นต้องใช้กฎหมายเก่าไปก่อน หากทำประชามติครั้งแรกเกิดไม่ผ่าน ถึงอย่างไรก็ต้องแก้ พระราชบัญญัติประชามติ ซึ่งกำหนดให้สามารถทำประชามติในการเลือกตั้งครั้งใหญ่ได้ในวาระทำประชามติครั้งที่ ๒ อาจทำพร้อมเลือกตั้งนายก อบจ. ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายมาก และพอครั้งที่ ๓ อาจแก้ พระราชบัญญัติประชามติ ในร่างของนายชูศักดิ์มีอยู่แล้วและรัฐบาลอาจเสนออีกร่าง โดยกำหนดให้ใช้ไปรษณีย์เพราะขณะนี้การทำประชามติดันมีหลักเหมือนเลือกตั้ง สส.ที่ต้องเป็นความลับ แต่ทำประชามติไม่จำเป็นต้องมีความลับ เหมือนในต่างประเทศใช้ไปรษณีย์ ลดงบฯจาก ๓,๐๐๐ กว่าล้านบาทเหลือไม่ถึง ๑,๐๐๐ ล้านบาทคำถามประชามติเห็นด้วยกับการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ให้ “คงหมวด ๑ และหมวด ๒” หรือไม่ อาจถูกนำไปขยายผลทางการเมือง เป็นวิกฤติขัดแย้งระลอกใหม่ได้ นายนิกร บอกว่า กก.ศึกษาฯ เห็นว่าต้องถามให้ชัดๆ ป้องกันไม่ให้มีปัญหาใหญ่ตามมาทีหลัง ไม่ว่ามีหรือไม่มี มันมีปัญหาอยู่แล้วสมมติไปอ้างในเมื่อถามประชาชนไม่เห็น ระบุเว้นหมวด ๑ หมวด ๒ ก็ไปรุกแก้ ไม่ยุ่งกันไปใหญ่เหรอสุ่มเสี่ยงสร้างความขัดแย้งใหม่ที่ใหญ่กว่ากลายเป็นวิกฤติรัฐธรรมนูญอีกครั้งหนึ่งฉะนั้นจำเป็นต้องคงคำถามดังกล่าวไว้ ให้เป็น รธน.ฉบับใหม่ เพื่อลดความขัดแย้งในประเทศไทย แต่ทั้งหมดขึ้นอยู่กับ คณะรัฐมนตรีตัดสินว่ามีมติอย่างไร อาจมีคำถามพ่วงตามมาก็ได้ในฐานะอยู่ใน กมธ.นิรโทษกรรม และ กก.ศึกษาฯ ลงพื้นที่สัมผัสหัวใจของประชาชน ในใจห่วงเกิดความขัดแย้งจะแก้ รธน.อย่างไร นายนิกร บอกว่า ในใจผมถ้าเขียนชัด ร่าง รธน.ใหม่ เว้นหมวด ๑ หมวด ๒ สิ่งที่กังวล อาจมีคนโต้แย้ง “ไม่ออกมาใช้สิทธิ” หรือ “ใช้สิทธิโหวตโน” เพราะอยากร่างใหม่หมดรธน.มี ๑๘ หมวด สองหมวดนี้เกี่ยวกับความเป็นรัฐ และสถาบันถึงแก้ไม่ได้ สุ่มเสี่ยงต่อคำวินิจฉัยศาล รธน.เกี่ยวกับ ม.๑๑๒ คำถามคือในอนาคตสองหมวดนี้แก้ได้หรือไม่…แก้ได้ โดยต้องทำประชามติเป็นการเฉพาะ ตอนนี้ต้องคงไว้ตามเดิม ไม่เช่นนั้นไม่ต้องแก้ รธน.ทั้งฉบับอีก ๑๖ หมวดกันเลย ขณะที่คณะอนุฯ ใน กมธ.นิรโทษกรรม สรุปผลศึกษาในภาพรวมเกี่ยวกับนิรโทษกรรม ในฐานะที่ผมเคยอยู่คณะชุดต่างๆ ที่ดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องปรองดอง สมานฉันท์ สมัย พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผมก็อยู่ที่ผ่านมา ไม่สำเร็จมาเยอะ เหมือนสะสมปัญหา ปัญหาตรงไหนที่มันไม่ผ่านสิ่งที่เราทำคือโควทคำว่า “แรงจูงใจทางการเมือง” คืออะไรคำนี้ใช้ในหลายประเทศ เป็น “การกระทำที่คงอาจเป็นเรื่องผิด แต่มันมีความเชื่อของตนเองเกี่ยวกับความเห็นทางการเมืองว่าเป็นลักษณะแบบนั้น”เช่นเดียวกับจำนวนคดีมีอะไรบ้าง หลักการเดิมที่ศึกษามามี ๑๗ ฐานความผิดจากกฎหมายหลายฉบับ ฉบับใหญ่สุด ป.อาญา แต่เดิมไม่มี ม.๑๑๒ คดีหลังปี ๕๗ มีกฎหมายใหม่ออกมา เช่น พระราชบัญญัติชุมนุมสาธารณะ พระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์เมื่อตั้งสมมติฐานแรงจูงใจทางการเมืองคืออะไร และความผิดที่เกี่ยวเนื่อง ตั้งแต่ปี ๔๘ ถึงปัจจุบัน ก็ได้ขอข้อมูลหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงองค์กรภาคประชาชน มายำรวมเป็นกฎหมาย ๑๗ ฉบับ ๒๕ฐานความผิดกว่า ๓ ล้านคดี ในอนาคตอาจมีฐานความผิดเพิ่มขึ้นอีกได้“ส่องรายละเอียดพบความผิดเกี่ยวกับจราจรทางบกมากที่สุดกว่า ๒ ล้านคดี เชื่อว่าเป็นการไม่สวมหมวกกันน็อก คล้ายกลุ่มทะลุวัง กลุ่มทะลุแก๊ส แว้นไปชุมนุมแล้วไม่สวมหมวกกันน็อกปี ๖๓ ความผิดเยอะมาก ๗ หมื่นกว่าคดีผิด พระราชบัญญัติฉุกเฉิน ช่วงโควิดรัฐออกประกาศห้ามชุมนุมกลัวติดโควิด แต่คนไปชุมนุมโดยคิดว่าไม่เป็นอะไรคดีผิดฐานตาม ๒ พ.ร.บ. สองฉบับนี้เสนอ กมธ.ให้ใช้ พระราชบัญญัติอัยการ ม.๒๑ เอาคดีที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะออกไปได้ โดยให้สภาฯส่งไปยัง คณะรัฐมนตรีแล้วมีมติออกมา ก่อนมีกฎหมายนิรโทษกรรม” เพื่อสร้างความปรองดองสมานฉันท์ข้อมูลสถิติความผิดที่เกี่ยวกับความละเอียดอ่อนทางการเมือง ต่อจากนี้ กมธ.ได้ตั้งคณะอนุกรรมการ มีนายยุทธพร อิสรชัย อาจารย์ประจำสาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัย เป็นประธาน เพื่อเจาะแยกแยะกลุ่มคดี ๒๕ ฐานความผิด อันไหนเอาไว้ อันไหนควรเสนอยก ก่อนเสนอ กมธ.อย่างที่กังวล คดี ๑๑๒ กว่า ๑,๔๐๐ คดี ต้องเอามาพิจารณา และกมธ.ต้องเสนอต่อที่ประชุมสภา รายงานความเห็น ควรออก พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแบบไหน ควรเสนอรัฐบาลเป็นข้อสังเกตอย่างไร เพราะผูกพันรัฐบาลด้วยทีมการเมือง ถามว่ามีโอกาสปล่อยผี โดยนักการเมืองที่โดนคดีอาทิ นายทักษิณ ชินวัตร น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า ได้รับอานิสงส์ตรงนี้ด้วยนายนิกร บอกว่า “นิรโทษกรรมเป็นกรอบรวมทั้งหมด ขึ้นอยู่ที่กมธ.” ไม่ได้พิจารณารายบุคคล มันมีรายละเอียด ๓ มิติ ทั้งเงื่อนเวลา แรงจูงใจทางการเมืองและโดนคดีอะไร ในความเห็นผม ควรมีคณะกรรมการเป็นกลางตาม พระราชบัญญัตินิรโทษกรรม พิจารณาจิ้มเลย เพราะซับซ้อน และแกะยากมากดูสถานการณ์ รธน.ฉบับใหม่-นิรโทษกรรมกำลังไหลไปในทิศทางเป็นบวก นายนิกร บอกว่าไหลคนละทาง ซึ่งเป็นบวกสำหรับประเทศความขัดแย้ง ๒๐ ปี สุกได้ที่ใกล้หล่นแล้วต้องขึ้นจากหล่มโคลนความขัดแย้งสักทีทั้ง รธน.ฉบับใหม่-นิรโทษ ไปลดความขัดแย้ง.ทีมการเมืองคลิกอ่านคอลัมน์ “วิเคราะห์การเมือง” เพิ่มเติม