การเดินทาง ๑๒ วัน ระหว่าง ๑๐-๒๑ เมษายน ๒๐๒๔ ที่เพิ่งผ่านมาของคณะ คณะไปทั้งหมด ๔ เมืองในภูมิภาคไซบีเรีย ของสหพันธรัฐรัสเซียคือ อีร์คุทสค์ บราทสค์ ครัสโนยาสค์ และบาร์นาอูล ได้ดูงานและเจรจาซื้อไม้จากโรงงานไม้ทั้งหมด ๖ แห่ง เป็นครั้งแรกๆ ที่โรงงานไม้เหล่านี้ซึ่งตั้งอยู่ในเขตป่าต้อนรับคณะจากต่างประเทศที่ประกอบด้วยทั้งหมดมากถึง ๒๑ คนระหว่างนั่งรถออกจากบราทสค์ จังหวัดอีร์คุทสค์ เข้าไปในป่า ๓๑๐ กิโลเมตร เพื่อดูโรงงานไม้ใหญ่แห่งหนึ่ง พวกเราก็ได้รับข่าวว่ากระทรวงการคลังสหรัฐฯสั่งปรับบริษัทเอสซีจี พลาสติกส์ ผู้ผลิตพลาสติกสัญชาติไทยเป็นเงิน ๒๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐฯหรือ ๗๓๖ ล้านบาท ข้อหาละเมิดมาตรการคว่ำบาตรอิหร่าน ซึ่งฝ่ายบริษัทของไทยยินยอมจ่ายค่าปรับตามที่กระทรวงการคลังสหรัฐฯเรียกร้อง เพื่อยุติการดำเนินคดีฐานละเมิดมาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐฯที่มีต่ออิหร่านเมื่อไปถึงโรงงาน คณะได้รับการต้อนรับจากเจ้าของ ลูกสาวเจ้าของ และคณะกรรมการบริหารบริษัท การเยือนและการเจรจากับบริษัทค้าไม้รัสเซียแห่งนี้ดำเนินไปนานกว่าค่อนวัน ก่อนเดินทางกลับ ลูกสาวเจ้าของโรงงานร้องไห้ เราเดากันเองว่า อาจเป็นการร้องไห้ด้วยความดีใจที่มีคณะนักธุรกิจไม้ชาวต่างชาติกล้าเข้ามาในป่าลึกของไซบีเรีย หรืออาจจะกอดเพราะบริษัททำไม้ของรัสเซียอยู่ในสถานะลำบาก เพราะโดนแซงก์ชันจากสหรัฐฯและยุโรปทำให้มูลค่าไม้ที่เคยมีปีละหลายหมื่นล้านหายไป การมีบริษัทเอเชียเข้ามาติดต่อเจรจาซื้อไม้ทำให้บริษัทสามารถดำเนินการต่อไปได้แต่ก็มีเรื่องแปลกที่วันต่อๆมา คณะไปเยือนโรงงานไม้อีกแห่งหนึ่งซึ่งอยู่ในชนบทของบาร์นาอูล เมืองในภูมิภาคเทือกเขาอัลไตของไซบีเรีย เมื่อไปถึง พวกเราพบว่าเจ้าของและผู้บริหารโรงงานไม้เป็นคนจีน เมื่อเข้าไปดูไม้ที่เตรียมส่งออกจึงพบว่า ไม้ส่วนหนึ่งเตรียมส่งต่อไปสหรัฐฯ คนจีนที่เข้าไปลงทุนทำธุรกิจไม้ในบาร์นาอูลบอกว่าบริษัทของตนยังสามารถส่งไม้ไปขายที่สหรัฐฯได้ตามปกติกองไม้เหล่านี้เตรียมนำเข้าตู้คอนเทนเนอร์ มีพลาสติกคลุมและเขียนชื่อบริษัทต้นทางชัดเจนว่า Made in Russia ซึ่งเป็นเรื่องที่พวกเราแปลกใจในความสองมาตรฐาน บริษัทของรัสเซียที่บริหารโดยชาวรัสเซียส่งไม้เข้ายุโรปตามปกติไม่ได้ แต่บริษัทของจีนที่เข้าไปสัมปทานทำไม้ในรัสเซียกลับส่งไม้เข้าสหรัฐฯได้เราเคยได้รับรู้มาจากธุรกิจน้ำมันรัสเซียมาก่อน โดยไม่ได้รับรู้ ผ่านบุคคลที่ ๓ แต่ได้รับจากตัวจริงเสียงจริงที่เป็นผู้ส่งออกว่าน้ำมันรัสเซียถูกส่งไปประเทศ A และจากประเทศ A ก็ส่งต่อไปยังสหรัฐฯ ก็ยังแปลกใจในเรื่องของการแซงก์ชัน ว่าเป็นสองมาตรฐานหรือเปล่ากรณีของไม้นี่ก็เหมือนกัน สิบปากว่าไม่เท่าหนึ่งตาเห็น สิบตาเห็นไม่เท่าหนึ่งมือคลำ คณะที่นำโดย รองศาสตราจารย์ทรงกลด จารุสมบัติ และ ร.ต.อ.ด็อกเตอร์นิติภูมิธณัฐ มิ่งรุจิราลัย (ที่ปรึกษา) น่าจะเป็นคณะแรกและคณะเดียวที่นั่งรถบุกป่าฝ่าดงเข้าไปในโรงงานไม้ห่างไกลในชนบทด้วยตัวเองและเห็นด้วยตาตัวเอง สัมผัสไม้รัสเซียที่จะส่งสหรัฐฯด้วยมือของตนเอง ภาพไม้ลอตนี้ ผมจะนำมาโพสต์ในหน้า Line Voom ของไลน์ไอดี @ntp๕๙ (ไม่ได้โพสต์ในเฟซบุ๊กหรือโซเชียลมีเดียประเภทอื่น) ท่านที่อยากจะเห็นต้องแอดเป็นเพื่อนไลน์ด้วยไอดี @ntp๕๙ เมื่อเข้าไปแล้ว โปรดทักทายด้วยประโยคสั้นๆเรื่องไลน์ไอดี @ntp๕๙ ขออนุญาตเรียนเพิ่มเติมหน่อยนะครับ ว่าท่านที่เข้าไปแล้ว หน้าแรกที่ท่านเข้าไปเป็นหน้าแชตระหว่างคณะแอดมินกับผู้เป็นเพื่อน ถ้าท่านไม่กดด้านขวาบนที่เป็นสี่เหลี่ยมและมีขีด ๓ ขีดอยู่ข้างใน ท่านก็ไม่สามารถจะเข้าไปที่หน้าไลน์วูมเพื่อดูรูปได้และเมื่อเข้าไปในหน้า Line Voom ได้แล้ว ท่านก็เลื่อนขึ้น เลื่อนลง เพื่อหาภาพและเรื่องราวที่ท่านสนใจ ซึ่งมีจำนวนไม่น้อยที่ท่านหาดูจากที่อื่นไม่ได้.นิติการุณย์ มิ่งรุจิราลัยsonglok๑๙๙๗@gmail.comคลิกอ่านคอลัมน์ “เปิดฟ้าส่องโลก” เพิ่มเติม
ตะลุยป่าไม้ไซบีเรีย (๗)
Related posts